จับตา“ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ”ปี65

“การระบาดของโควิด-19” กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนใหญ่หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบออนไลน์มากขึ้น จึงเป็นผลให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ธุรกิจที่กลายเป็นดาวเด่นจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คงหนีไม่พ้น “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” โดยสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้ประเมินแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ B2C (Business-to-Customer) ของไทยในปี 2565 จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราว 6.93 แสนล้านบาทในปี 2564 เนื่องจากผู้บริโภคคุ้นชินกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว เช่นเดียวกับแบรนด์ต่างๆ ที่หันมาจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

โดยข้อมูลในส่วนนี้สอดคล้องกับข้อมูลของ Lazada (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า จำนวนผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 43.5 ล้านคน หรือกว่า 61.8% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด จาก 36.6 ล้านคนในปี 2564

ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” มองว่า จากภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความไม่แน่นอนของโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากความไม่สงบในยูเครนที่อาจยืดเยื้อ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้คาดว่าปี 2565 ธุรกิจ B2C อีคอมเมิร์ซ กลุ่มสินค้า แม้อาจจะขยายตัวราว 13.5% หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 5.65 แสนล้านบาท เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงและต่ำสุดเทียบกับ 3 ปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเฉลี่ย 40% โดยการขยายตัวของ B2C อีคอมเมิร์ซ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาสินค้าที่ไม่สูง และทำให้รู้สึกถึงความคุ้มค่า โดยเฉพาะการจัดทำโปรโมชันของผู้ประกอบการที่อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งมีความถี่ขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคก็มีความสะดวกและคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจากการระบาดของโควิด-19

อีกทั้งการเติบโตของธุรกิจหลักๆ น่าจะไม่ได้เกิดจากค่าใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นการปรับพฤติกรรมและช่องทางการซื้อขายสินค้าจากหน้าร้าน (Physical Stores) มาเป็นออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัว ที่เดิมผู้บริโภคซื้อผ่านไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และคอนวีเนียนสโตร์ ก็หันมาซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้ประกอบกลุ่มนี้มากขึ้น แต่ในขณะที่ยอดขายในภาพรวมของผู้ประกอบการอาจจะยังโตในกรอบที่จำกัด และเป็นผลของราคาเป็นหลัก

ขณะเดียวกัน คาดว่าส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ B2C อีคอมเมิร์ซ กลุ่มสินค้าจะขยับเพิ่มขึ้นจาก 14% ในปี 2564 เป็น 16% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้ารวมทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และของใช้ส่วนตัว ซึ่งแม้ว่าจะยังมีสัดส่วนออนไลน์ที่น้อยมาก แต่เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็น จึงคาดว่าผู้บริโภคจะยังคงมีการใช้จ่ายผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่สัดส่วนอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วจากปัจจัยด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

อย่างไรก็ดี “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” มองว่า ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จากจำนวนผู้เล่นที่หันมารุกตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็ว และยังคงมีกำลังซื้อที่จำกัด ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ในระยะข้างหน้าอาจจะไม่ง่ายนักเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือรายย่อย ขณะที่ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์ม E-market place ที่แม้ว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ก็ใช้งบในการจัดทำโปรโมชันค่อนข้างสูงเพื่อกระตุ้นตลาด ส่งผลให้กำไรยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน

ส่วนกลุ่มค้าปลีก Modern Trade ออนไลน์ ที่กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เหมือนจะได้เปรียบ เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้ากลุ่มอาหารและของใช้ส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งยังคงเป็นสินค้าที่จำเป็นและยังมีโอกาส ก็อาจเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่หันมารุกช่องทางออนไลน์เช่นกัน

อย่างไรก็ดี “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” ก็ยังเป็นที่น่าจับตาในยุคโควิด-19 ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ภายใต้แรงกดดันของเศรษฐกิจที่อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้จ่ายของประชาชน และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอาจกลายมาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจในอนาคต.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

ต้องเคร่งครัดและแก้ไขจริงจัง

สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา รถไฟฟ้า “สายสีเหลือง-สายสีชมพู” ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการและสาธารณชน

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร