ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันเป็นหลัก จึงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์แล้ว ขณะที่ราคาตลาดจรของก๊าซธรรมชาติเหลว (สปอต แอลเอ็นจี) ก็ปรับตัวแพงขึ้นอยู่ที่ 35 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู
ซึ่งก๊าซธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตไฟฟ้าของไทย โดยคาดว่าภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปีนับจากนี้ ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) จะต้องปรับขึ้นอย่างแน่นอนจากผลของราคาก๊าซเฉลี่ยโดยรวมที่แพงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ซ้ำเติมปัญหาราคาน้ำมันที่แพงที่มีอยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับต้นทุนด้านพลังงานที่แพงขึ้น ก็เพราะประเทศไทยไม่ได้มีการเปิดให้เอกชนมาลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมค้นหาแหล่งใหม่ๆ มาตั้งแต่ปี 2550 เป็นระยะเวลานานถึง 15 ปี ทำให้ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทยลดน้อยลงอย่างน่าวิตก จากที่ประเทศไทยเคยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่ใช้ได้อีก 16-17 ปี แต่มาถึงวันนี้ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่ใช้ได้เหลืออีกเพียงไม่ถึง 7 ปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าเข้าขั้นวิกฤต
ด้วยเหตุนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) จึงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 24 จำนวน 3 แปลงในทะเลอ่าวไทย ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน และทำให้ประเทศไทยยืนได้ด้วยขาของตัวเอง
โดย ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในการออกประกาศเชิญชวนให้ยื่นขอสิทธิ ซึ่งกรมฯ คาดหวังว่าพื้นที่แปลงสำรวจและผลิตดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ปัจจุบันจะเริ่มมีปริมาณน้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าการเปิดให้ยื่นขอสิทธิครั้งนี้จะมีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท ทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐ และทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้
สอดคล้องกับความเห็นของ คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยในปัจจุบันมีความน่าเป็นห่วง เพราะพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ รวมทั้งนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอลเอ็นจี ซึ่งหากเป็นราคาตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระยะยาวจะอยู่ที่ราว 10 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู แต่ถ้าเป็นราคาแอลเอ็นจีในตลาดจร ราคาขณะนี้จะอยู่ที่ประมาณ 35 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู
“หากเราต้องซื้อแอลเอ็นจี สปอต ในราคา 35 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู เราก็จะต้องเสียเงินนำเข้าแอลเอ็นจีแพงขึ้นถึงปีละ 1.6 แสนล้านบาท”
สำหรับ ศักยภาพการค้นพบปิโตรเลียมในประเทศไทยทั้งบนบกและในอ่าวไทย ยังถือว่ามีศักยภาพพอสมควรในการพบและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม อันจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศได้ ถึงแม้จะไม่ได้มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่เหมือนประเทศตะวันออกกลางที่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้ในปริมาณมากก็ตาม แต่ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องนำเข้าปิโตรเลียมในราคาแพงได้จำนวนหนึ่ง รวมทั้งจะมีรายได้ในรูปภาษีและค่าภาคหลวงจากการผลิตปิโตรเลียมในประเทศ ไม่ต้องเสียเงินตราให้กับต่างประเทศในการนำเข้าพลังงานเหมือนทุกวันนี้.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research