เดินหน้าสานต่อคดีโฮปเวลล์

เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง ภายหลังศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 81-83/2565 โดยมีมติกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น กรณีให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ่ายค่าชดเชยค่าตอบแทนตามสัญญาสัมปทานให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำนวน 24,000 ล้านบาท เป็น ให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

หากใครได้ติดตามที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานสำหรับคดีมหากาพย์ค่าโง่โฮปเวลล์ นับตั้งแต่ปี 2551 ระหว่าง รฟท. กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) สำหรับคดีนี้เริ่มต้นมาจากในช่วงปี 2533 มีการเปิดประมูลโครงการถนนและทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่แห่งวงการก่อสร้างของฮ่องกง และมีการเซ็นสัญญาในวันที่ 9 พ.ย.2533 โดยสัญญาสัมปทานมีอายุยาวนานถึง 30 ปี ซึ่งบริษัทโฮปเวลล์จะเป็นผู้ลงทุนออกแบบเองทั้งหมด วงเงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี

ต่อมาการก่อสร้างเกิดล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้มาก โดยบริษัทโฮปเวลล์อ้างเหตุที่ก่อสร้างล่าช้าเนื่องจาก รฟท.ไม่ส่งมอบที่ดินให้ได้ตามข้อตกลง ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงินและปัญหาเศรษฐกิจหลายด้าน ทำให้ต้องล้มเลิกโครงการและเริ่มทำต่อในหลายรัฐบาล ก่อนจะหยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงปี 2540-41 ต่อมาบริษัทโฮปเวลล์ยื่นฟ้องกระทรวงคมนาคม และ รฟท. จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องกันจนถึงปัจจุบัน

จนล่าสุด ฝั่งรัฐได้ตั้งคณะกรรมการศึกษากรณีการจ่ายค่าชดเชยให้บริษัทโฮปเวลล์ โดยได้รับข้อมูลมาว่าการจ่ายเงินให้โครงการโฮปเวลล์ไม่น่าจะถูกต้อง ที่ผ่านมามีข้อพิรุธหลายประการที่หน่วยงานของรัฐไม่นำไปเป็นคู่ต่อสู้คดี ซึ่งคณะทำงานได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุกฉบับอย่างรอบคอบ และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งรื้อคดีค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน

หลังจากนี้ก็ต้องจับตาดูกันว่าแนวทางการต่อสู้คดีในอนาคตของกระทรวงคมนาคม โดย รฟท.นั้นจะนำประเด็นอะไรมาต่อสู้ ทั้งประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของอายุความ หรือการนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี และประเด็นมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงประเด็นการจดทะเบียนของบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนั้นยังมีประเด็นบริษัทที่มาลงนามกับภาครัฐไม่ได้เป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโดยคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดวันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐได้ต่อสู้คดีใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่จบสิ้นกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด อย่างไรก็ตามจากคำสั่งครั้งนี้ต้องขอบพระคุณคณะผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุดด้วย

ด้านนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ให้รายละเอียดหลังคำตัดสินของศาลว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีกับภาครัฐ และหลังจากนี้จะต้องเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าต่อไปตามกฎหมาย ซึ่งยืนยันว่าทางกระทรวงคมนาคมและ รฟท.มีความพร้อมในเรื่องนี้ และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับรูปคดีที่เกิดขึ้นจนถึงที่สุดต่อไป โดยส่วนตัวมั่นใจว่าการต่อสู้คดีในครั้งนี้เราจะได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมในครั้งต่อไป

นอกจากการเตรียมตัวในเรื่องกฎหมายแล้ว ทาง รฟท.ยังได้มีการหารือกันในเรื่องของการวางรูปคดีของเรื่องนี้ให้ดีที่สุด เพื่อให้ศาลได้ค้นหาความจริงได้อย่างเต็มที่ จนนำไปสู่ดุลพินิจที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้คดีที่มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมกับ รฟท. ซึ่งเรื่องนี้ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มอบนโยบายในการดำเนินการให้เป็นไปตามกกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด และได้มีการติดตามในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลากหลายภาคส่วนที่ได้มาแสดงความยินดีกับคำตัดสินในครั้งนี้ และให้รายละเอียดว่า หลังจากนี้ต้องกลับมาพิจารณาคดีใหม่เริ่มที่ศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งประเด็นปัญหาในข้อเท็จจริงจบไปแล้ว เท่ากับว่าวันนี้จะมีเฉพาะประเด็นข้อกฎหมายเท่านั้น ทั้งนี้ต้องรอว่าศาลปกครองกลางจะกำหนดนัดอย่างไร แน่นอนว่าคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสินออกมานั้นต้องถือว่าเป็นโอกาสประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาทั้งรัฐบาล โดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ก็เต็มที่มาโดยตลอด ฉะนั้นเรื่องนี้ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร ทั้งนี้ถ้าตอบโดยอิงข้อกฎหมายคิดว่าน่าจะประสบผลสำเร็จ.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research