ชีวิตการเมืองที่ไม่ตลกของเซเลนสกี

นายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskiy) ตัดสินใจลงเลือกตั้งเพียงไม่กี่เดือนก่อนวันเลือกตั้ง หาเสียงเน้นเรื่องต่อต้านทุจริตทางการเมือง ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่ครองอำนาจ

ให้ประชาชนมีอำนาจการเมืองการปกครอง มีความยุติธรรม มั่นคงปลอดภัย ยุติความขัดแย้งกับยูเครนตะวันออก คะแนนนิยมของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนะประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก คนก่อนที่เป็นนายทุนพันล้านด้วยคะแนนถล่มทลาย

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน

เครดิตภาพ: https://www.facebook.com/photo/?fbid=10224707459451239&set=gm.317395887118018

นายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskiy) ตัดสินใจลงเลือกตั้งเพียงไม่กี่เดือนก่อนวันเลือกตั้ง หาเสียงเน้นเรื่องต่อต้านทุจริตทางการเมือง ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่ครองอำนาจ ให้ประชาชนมีอำนาจการเมืองการปกครอง มีความยุติธรรม มั่นคงปลอดภัย ยุติความขัดแย้งกับยูเครนตะวันออก คะแนนนิยมของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนะประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก คนก่อนที่เป็นนายทุนพันล้านด้วยคะแนนถล่มทลาย

เซเลนสกีไม่เคยทำงานการเมืองมาก่อน ไม่มีประสบการณ์การเมืองเลย บทบาทที่คนยูเครนรู้จักคือเป็นดาวตลก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาชนะเลือกตั้งเพราะคนยูเครนเบื่อหน่ายการเมืองแบบเดิม ในสายตาประชาชนการเมืองยูเครนสกปรก นักการเมืองกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง เป็นบุคคลน่ารังเกียจในสายประชาชน คนยูเครนจึงมองหาตัวเลือกใหม่อย่างเซเลนสกีที่ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่คนของกลุ่มการเมืองแบบเก่า กล่าวได้ว่า ชนะเลือกตั้งเพราะประชาชนเบื่อหน่ายพวกนักการเมือง เซเลนสกีเข้าใจเรื่องนี้จึงพูดว่า “ตนไม่ใช่คู่แข่ง (ผู้สมัครรายอื่น) แต่เป็นผู้พิพากษา”

คำถามที่ไม่ตลกคือ ทำไมเซเลนสกีปล่อยให้เกิดสงครามและทำไมไม่รีบหยุดสงคราม คำว่า “ขอวางตัวเป็นกลาง” ไม่เป็นสมาชิกนาโตพูดยากมากเลยหรือ

3 ปีหลังดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ ประธานาธิบดีเซเลนสกีพาประเทศทำสงครามกับมหาอำนาจรัสเซีย เกิดคำถามว่าทำไมผู้นำยูเครนจึงคิดทำสงคราม

ทำไมไม่หยุดที่จะเป็นสมาชิกนาโต:

ประการแรก ก่อนสงคราม

14 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่า “พวกเขาบอกเราว่า (กองทัพรัสเซีย) จะบุก 16 กุมภาพันธ์” เป็นวันเดียวกับที่เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยทัพรัสเซีย 80% พร้อมรบเต็มตัว สามารถเปิดฉากโจมตีทุกเมื่อ ก่อนกองทัพรัสเซียบุกยูเครน นาโตประกาศชัดจะไม่ส่งทหารเข้าช่วยรบ เนื่องจากยูเครนไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต มีหลักฐานมากมายชี้ว่าหากเกิดสงครามจะเป็นการปะทะทางทหารระหว่างยูเครนกับรัสเซีย รัฐบาลยูเครนรู้ตัวดี

ส่วนที่ชาติตะวันตกกับพันธมิตรทำคือคว่ำบาตรรัสเซียทางเศรษฐกิจการทูตเป็นหลัก ไม่มีประเทศคิดให้ทหารของตนปะทะกับทหารรัสเซียโดยตรง หลักข้อนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชาติมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันเอง เพราะจะหายนะด้วยกันทั้งคู่ อีกทั้งรัฐบาลปูตินขู่ล่วงหน้าว่าพร้อมทำสงครามนิวเคลียร์กับทุกประเทศที่เข้ามายุ่งเกี่ยว จะมีประเทศใดยอมหายนะเพราะยูเครนหรือ

เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ารัฐบาลปูตินต่อต้านยุทธศาสตร์นาโตขยายตัว (NATO Enlargement) โดยเฉพาะการรับยูเครนเป็นสมาชิกนาโตเป็นเส้นต้องห้าม (red line) เป็นยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศรัสเซียที่จะสร้างแนวรัฐกันชน (buffer state) ด้านนาโตกล่าวว่า ยูเครนจะยื่นเรื่องขอเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสิทธิ์ของยูเครน ที่ผ่านมารัฐบาลเซเลนสกีไม่ปฏิเสธเรื่องนี้

ในช่วงที่รัสเซียเริ่มสะสมกำลังตามแนวพรมแดนติดยูเครนและซ้อมรบ มีคำเตือนมากมายว่ารัสเซียอาจบุกเข้ายูเครน ยิ่งใกล้วันที่รัสเซียส่งกองทัพเข้าไปคำเตือนยิ่งดังขึ้น ฝ่ายการทหารมีหลักฐานมากมายถึงการตระเตรียมกำลังพล รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ถึงกระนั้นเซเลนสกีไม่เอ่ยปากถอนเรื่องการเป็นสมาชิกนาโต กลับเตรียมกองทัพเรียกทหารกองหนุนให้เตรียมพร้อม นี่แปลว่ารัฐบาลเซเลนสกียินดีทำสงครามกับรัสเซียใช่หรือไม่

ประการที่ 2 เมื่อกองทัพรัสเซียบุกเข้ายูเครนแล้ว

สงครามเริ่มต้นด้วยการที่ทัพรัสเซียส่วนหนึ่งบุกเข้ายูเครนตะวันออก พื้นที่เหล่านี้เดิมเป็นเขตอิทธิพลของกองกำลังที่อิงรัสเซียอยู่แล้วจึงบุกยึดง่ายดาย เรื่องไม่จบเท่านี้ รัฐบาลสหรัฐคาดกองทัพรัสเซียจะบุกเข้ายูเครนตะวันตกทำสงครามเต็มรูปแบบ ด้านยูเครนประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ ขอให้คนทั้งชาติพร้อมทำสงครามปกป้องมาตุภูมิ

เป็นอีกช่วงที่รัฐบาลเซเลนสกียืนยันพร้อมทำสงครามกับรัสเซียโดยที่ไม่มีชาติใดเข้าร่วมรบด้วย หลายคนย่อมคาดเดาได้ว่ายูเครนจะเป็นฝ่ายปราชัย ในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศที่กองทัพเข้มแข็งพอรับมือรัสเซีย น่าคิดว่าเซเลนสกียืนยันขอทำสงคราม ทำไมจึงไม่ขอเจรจา เพียงแค่ประกาศเลิกเป็นสมาชิกนาโตเท่านั้น ยากเกินกว่าจะพูดหรือ

เมื่อทัพรัสเซียรุกคืบสู่กรุงเคียฟ ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่า “ประชาชนยูเครนต้องการสันติภาพ” ไม่ทราบว่านี่คือการพูดตลกอีกครั้งหรือไม่ หากเข้าใจว่าประชาชนต้องการอะไรทำไมปล่อยให้เรื่องบานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ เซเลนสกีไม่รู้หรือว่าประชาชนไม่ต้องการสงคราม รัฐบาลยูเครนชุดนี้แหละที่ผลักดันให้รัสเซียส่งกองทัพเข้ายูเครน

เซเลนสกีที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง:

ย้อนหลังช่วงสิ้นปีก่อน (2021) หลังอียูพูดชัดไม่สนใจ “เส้นต้องห้าม” ของรัสเซีย ปูตินย้ำต้องการสนธิสัญญาความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับยูเครน ไบเดนตอบว่าให้เพียงแค่จะไม่ส่งอาวุธที่ใช้โจมตีข้าศึกแก่ยูเครน จากนั้นความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัสเซียส่งทหารเข้าประชิดชายแดนยูเครนตามลำดับ นับจากนั้นรัฐบาลสหรัฐพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่ารัสเซียจะบุกยูเครน จะหาเรื่องบุกยูเครน เป็นข่าวที่รับรู้กันทั่วโลก จะเห็นว่าเรื่องของยูเครนมีรัฐบาลสหรัฐ นาโตเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา ราวกับว่าความมั่นคงของยูเครนไม่ได้อยู่ในการตัดสินใจของรัฐบาลยูเครนเท่านั้น
แนวคิดหนึ่งที่อธิบายพฤติกรรมของผู้นำยูเครนคือ เซเลนสกีไม่เพียงดำเนินนโยบายอิงตะวันตกเท่านั้น แต่เป็นผู้นำประเทศที่ไม่เป็นอิสระ ขณะลงเลือกตั้งอาจตั้งใจดีหวังนำความสุขความเจริญสู่ประชาชน ได้เป็นผู้นำประเทศที่ปราศจากฐานอำนาจการเมือง แต่ความจริงคืออำนาจการปกครองยังอยู่กับกลุ่มชนชั้นอำนาจเดิม น่าเห็นใจที่เซเลนสกีอาจตั้งใจดีแต่สุดท้ายไม่อาจบริหารประเทศได้จริง เป็นข้อคิดสำหรับระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ที่อ่อนแอ เมื่อเกิดสงคราม พวกนายทุนนักการเมืองไม่กระทบเท่าไหร่เพราะมีช่องทางหาเงินนอกประเทศ เตรียมทางหนีทีไล่ไว้แล้ว ประชาชนธรรมดาเท่านั้นที่ต้องรับเคราะห์

ลำพังการเป็นประธานาธิบดีไม่อาจบริหารประเทศได้จริงหากอำนาจปกครองยังอยู่กับระบอบอำนาจเก่าที่อิงตะวันตก หน่วยรบพิเศษอเมริกัน เจ้าหน้าที่สหรัฐเข้าๆ ออกๆ ยูเครน เซเลนสกีไม่เป็นอิสระ ไม่อาจตัดสินเลือกทางเดินประเทศเพื่อชาวยูเครนที่ต้องการสันติภาพ

ตลอดช่วงของความขัดแย้งจนนำสู่สงครามเต็มรูปแบบปรากฏหลักฐานความไม่เป็นอิสระมากมาย การตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผลโดยเฉพาะทำสงครามกับรัสเซีย เห็นชัดว่านโยบายของยูเครนทำตามนโยบายชาติตะวันตกโดยเฉพาะรัฐบาลสหรัฐ แนวคิดนี้จะถูกหรือไม่อนาคตจะปรากฏหลักฐานมากขึ้น เป็นอีกตัวอย่างของหลายสิบตัวอย่างที่ผู้นำประเทศไม่เป็นอิสระอยู่ภายใต้อิทธิพลรัฐบาลต่างชาติ หลายๆ ประเทศที่เอ่ยถึงปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย

บัดนี้เซเลนสกีคงได้เรียนรู้แล้วว่าบทบาทประธานาธิบดีไม่เหมือนการเล่นตลก สงครามยูเครนจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะอยู่กับเขา ครอบครัว คนยูเครนทั้งชาติตลอดไป

น่าเศร้าใจแทนประชาชนยูเครนทั้งประเทศที่หลายคนบาดเจ็บเสียชีวิตจากสงคราม กว่าล้านคนอพยพออกนอกประเทศและคาดว่าจะออกไปอีกหลายล้านคน ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร บ้านเมืองถูกทำลายถดถอยหลายสิบปี จากนี้ไปยูเครนจะไม่เหมือนยูเครนเดิมอีกต่อไป เป็นอีกบทเรียนแก่คนทั้งโลกว่าบางครั้งการเมืองไม่ใช่เรื่องตลกให้พูดเฮฮาในสภากาแฟ อาจเป็นการสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน สิ่งที่สูญเสียไปไม่อาจนำกลับคืนมา 

คำถามที่ไม่ตลกคือ ทำไมเซเลนสกีปล่อยให้เกิดสงครามและทำไมไม่รีบหยุดสงคราม ล่าสุดทัพใหญ่รัสเซียจ่อกรุงเคียฟ คำว่า “ขอวางตัวเป็นกลาง” ไม่เป็นสมาชิกนาโตพูดยากมากเลยหรือ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระสุนนัดเดียวเปลี่ยนโลก

บรรยากาศหาเสียงตอนนี้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอื่นใดอีก ทรัมป์ควรชนะเลือกตั้ง กระสุนนัดเดียวชี้ขาดผลเลือกตั้ง ชี้นำโลกอนาคตควรทำตามนโยบายทรัมป์

ทำไมสมาชิกอาเซียนสนใจเข้าBRICS

ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนามพยายามสัมพันธ์ดีกับมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่อิงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเกินตัว มอง BRICS เป็นโอกาสใหม่

ระบบโลกที่บิดเบี้ยว (2) สงครามยูเครน

เงื่อนไขสงบศึกของปูติน การใช้ทรัพย์รัสเซียที่ยึดได้เป็นหลักฐานชี้ว่าต่างฝ่ายต่างยืนยันรบต่อ บ่งชี้ระเบียบโลกที่บิดเบี้ยว ต้องสู้กันต่อไป

ปูตินยกระดับสัมพันธ์เกาหลีเหนือ-รัสเซีย

บัดนี้เกาหลีเหนือสามารถส่งกระสุนอาวุธต่างๆ ช่วยรัสเซียทำศึกยูเครน แม้กระทั่งส่งกองทัพเกาหลีเข้ารบโดยตรง ดังที่ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่า ปูตินคือเพื่อนแท้ที่ดีที่สุด

ระเบียบโลกที่บิดเบี้ยว (1)

สัจนิยมมีข้อดีหลายอย่างแต่เปิดช่องให้รัฐบาลบางประเทศตีความว่าสามารถรุกรานประเทศอื่นๆ เป็นเรื่องปกติของโลก บางประเทศพยายามทำให้ดูดีอ้างว่าเป็นการป้องกันตนเอง