สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงต้นปีที่ผ่านมาอาจจะมีการชะลอตัวไปบ้าง เนื่องจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวล เลือกที่จะระมัดระวังการจับจ่าย ทำให้ช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ผ่านมาค่อนข้างจะซึมๆ แม้ว่าจะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยพยุงกำลังซื้อก็ตาม และในตอนนี้ได้มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นมาอีก แต่หากสถานการณ์ไม่ลากยาวจนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ ก็คงกระทบทางตรงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก
วิจัยกรุงศรี ระบุว่าประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัสเซียและยูเครนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.52% และ 0.07% ของมูลค่าการค้ารวม แต่ผลกระทบทางอ้อมคงมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ขยับขึ้นสู่ระดับสูงในรอบหลายปี อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปีนี้มีแนวโน้มที่จะเร่งขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มาอยู่ที่ 2.7% จากเดิม 2.0%
ส่วนในเรื่องของภาคการท่องเที่ยวที่กำลังรอการฟื้นตัว ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการผ่อนคลายมาตรการ Test & Go เพิ่มเติม โดยได้ยกเลิกการตรวจหาเชื้อโควิดด้วยวิธี RT-PCR สำหรับครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ที่เดินทางเข้าประเทศ ให้ปรับมาเป็นตรวจด้วยวิธี ATK แทน และยังปรับลดวงเงินประกันสุขภาพจาก 50,000 ดอลลาร์ เป็นไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์ เป็นต้น ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา แต่แน่นอนว่ายังคงต้องจับตาสถานการณ์ความตึงเครียดรัสเซียกับยูเครนเช่นเดียวกัน เพราะจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจกระทบต่อตลาดนักท่องเที่ยว
นับตั้งแต่ไทยมีการกลับมาเปิดประเทศ ต้องยอมรับว่ารัสเซียเป็นตลาดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยมากสุดติด 1 ใน 5 อันดับ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เดินทางมาเอง หรือที่เรียกว่า FIT แน่นอนว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูง ขณะที่ตลาดยูเครนยังมีเพียงเล็กน้อยและเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยแบบเช่าเหมาลำ โดยหากสถานการณ์มีความรุนแรงแผ่ลามกว้างขึ้นในยุโรปจนกระทบต่อเส้นทางการบิน จะเพิ่มความลำบากในการเดินทางของนักท่องเที่ยว การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวไทยอาจเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวได้
ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจากวิจัยกรุงศรีระบุอีกว่า การบุกยูเครนของรัสเซียเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อโลก หากสถานการณ์รุนแรงจะกระทบการฟื้นเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป รัสเซียเข้าโจมตีกรุงเคียฟและอีกหลายเมืองของยูเครน ด้านสหรัฐ อังกฤษ และสหภาพยุโรปได้ประกาศคว่ำบาตร โดยห้ามทำธุรกรรมด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงและธนาคารบางแห่งของรัสเซีย ล่าสุดสหรัฐและพันธมิตรเตรียมตัดธนาคารบางแห่งของรัสเซียออกจากระบบชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) แต่ NATO ก็ยืนยันว่าจะไม่ส่งกำลังทหารเข้าไปในยูเครนเนื่องจากมิได้เป็นสมาชิก NATO
การโจมตียูเครนของรัสเซียส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวน ความขัดแย้งกับสหรัฐและชาติพันธมิตรทวีความรุนแรง ราคาน้ำมันดิบพุ่งเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงสุดในรอบหลายปี! นับตั้งแต่ปี 2557 ความตึงเครียดดังกล่าวกระทบราคาพลังงานเนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับ 2 ของโลกโดยส่งออกก๊าซไปยังยุโรปผ่านทางท่อส่งในยูเครน
นอกจากนี้ รัสเซียและยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี และข้าวโพด วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ในเบื้องต้นสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ กดดันกำลังซื้อ ต้นทุนการผลิต และสร้างความยากลำบากในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ แต่หากสถานการณ์ทวีความรุนแรงอาจส่งผลต่อภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนไมโครชิป เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตก๊าซนีออนและแร่พัลลาเดียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ภาวะสงครามและการคว่ำบาตรที่รุนแรงอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป ซึ่งเชื่อมโยงอย่างมากกับรัสเซีย ทั้งในแง่พลังงาน ภาคเศรษฐกิจ และภาคการเงิน อีกด้วย.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research