สถานการณ์ความตึงเครียดจากการที่รัสเซียใช้กำลังทหารกรีธาทัพเข้าไปในประเทศยูเครน ซึ่งขณะนี้เวลาก็ผ่านมากว่า 5 วันแล้ว ดูเหมือนสถานการณ์การสู้รบยังคงดุเดือดและยังไม่มีท่าทีที่จะสงบลงง่ายๆ
สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีคือ แรงกระเพื่อมต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดเงิน ตลาดทุน ที่ดิ่งพร้อมกันทั่วโลก รวมไปถึงเงินสกุลดิจิทัลที่พร้อมใจกันดิ่งลงเหว ขณะเดียวกันสิ่งที่กระทบทันทีคือราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น
แน่นอนการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันกลายเป็นปัญหาโดยตรงที่ได้รับผลกระทบจากการทำสงครามของทั้งสองประเทศ และอย่างที่ทราบ น้ำมันเป็นต้นทางของการผลิต ซึ่งเมื่อราคาขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อและค่าครองชีพ
ล่าสุด มีการประเมินว่าหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่นอกจากจะพุ่งสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยด้วย เนื่องจากในขณะนี้ก็มีความชัดเจนว่านานาชาติต่างก็เริ่มที่จะใช้กระบวนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน
โดยทางธนาคารกสิกรไทยได้ออกมาแจ้งเตือนภาคธุรกิจให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากประเทศต่างๆ ที่จะนำมาใช้กับรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป รวมถึงสถาบันการเงินและภาคธุรกิจของยุโรปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างไทย-รัสเซีย-ยูเครนมีอุปสรรคในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการหาธนาคารรับรอง การเปิดบัญชีธุรกิจข้ามชาติ (แอล/ซี) การชำระเงิน การโอนเงินต่างๆ เป็นต้น
และหากสถานการณ์พลิกผันไปสู่สงครามที่ขยายวงกว้าง เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะหดตัว และเกิดภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงจากราคาพลังงานที่พุ่ง (Stagflation) แต่เชื่อว่าหลายฝ่ายมีความพยายามที่จะเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว โดยธนาคารกสิกรไทยจะเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของลูกค้า และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า ไทยส่งออกไปรัสเซียมีมูลค่าประมาณ 1,028 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูงถึง 42% โดยการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 0.4% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปตลาดโลก ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของไทยไปตลาดรัสเซียได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้หลายรายการเป็นการส่งออกภายใต้สิทธิ์ GSP ที่ไทยได้รับจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช หรือ CIS (Commonwealth of Independent States มีสมาชิก 12 ประเทศ รวมรัสเซีย)
ส่วนยูเครนนั้น ในปี 2564 ไทยส่งออกไปเป็นมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูง 35.7% เช่นกัน แต่สัดส่วนยังน้อยอยู่มาก โดยสินค้าส่งออกหลักได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เป็นต้น
จากสถานการณ์แบบนี้ การส่งออกย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเองก็จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นกัน โดยนักท่องเที่ยวรัสเซียก็ถือเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้าไทยติดอันดับ TOP5 ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ที่สายการบินไม่สามารถบินผ่านน่านฟ้าได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างไม่ต้องสงสัย ยังไม่นับรวมถึงนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการปิดน่านฟ้าที่ทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางบิน และทำให้ต้องใช้ระยะทางที่ไกลขึ้นไปกระทบกับค่าตั๋ว เป็นต้น
นี่คือ วิกฤตซ้อนวิกฤตที่เข้ามาในช่วงไทยกำลังเจอการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างหนัก ซึ่งแม้ในขณะนี้จะไม่มีมาตรการล็อกดาวน์หรือปิดประเทศ แต่การฟื้นฟูเศรษฐกิจก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้แบบปกติอยู่แล้ว ยิ่งมาจาก 2 เรื่องหนักๆ ทั้งภายใน ภายนอกแบบนี้ รัฐบาล และทีมเศรษฐกิจก็ควรจะต้องวางแผนรับมือให้ดี ไม่ควรปล่อยให้มันเป็นไปตามยถากรรม.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research