บทสรุปน้ำมันรั่ว

จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลในช่วงปลายเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย และมีหลายฝ่ายพยายามตีแผ่ผลกระทบของชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดระยอง ขณะที่สถานการณ์ดังกล่าวด้านบริษัทที่เป็นเจ้าของเรื่องอย่าง บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ก็ออกมาให้ข้อมูลและกล่าวถึงความคืบหน้าในการดูแลอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จึงอยากพาย้อนกลับไปดูถึงต้นเหตุของสถานการณ์และในปัจจุบันที่ใกล้จะถึงบทสรุปของเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยว่า สุดท้ายแล้วการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำอะไรได้บ้าง เริ่มต้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีการกระจายข่าวไปในหลายทิศทาง บ้างก็ว่าน้ำมันรั่วเป็นแสนลิตร บ้างก็ว่าคลุมทั้งทะเล แต่สุดท้ายแล้ว SPRC ออกมาให้ข้อมูลว่าปริมาณน้ำมันรั่วโดยประมาณ 39 ตัน หรือเทียบเท่าโดยประมาณ 47,000 ลิตร

โดยบริษัทได้ระดมทีมเพื่อควบคุมสถานการณ์ตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งหยุดกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดตามขั้นตอนความปลอดภัย และมีการแจ้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุมชน ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อม ศูนย์บัญชาการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินและกระจายข่าว และกลุ่มบริษัทข้างเคียง สามารถควบคุมได้และหยุดการรั่วไหลภายในวันเดียวกัน

ขณะเดียวกันที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้จัดตั้งอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่สืบค้นปริมาณการรั่วไหลที่แท้จริง หาสาเหตุของปัญหา และหาวิธีการ/มาตรการการแก้ที่ต้นเหตุแห่งปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะประกอบด้วย อาทิ ผู้แทนจังหวัด ผู้แทนกรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

โดยทำหน้าที่วิเคราะห์สาเหตุ ตรวจสอบความเหมาะสมของวิธีการและวงรอบในการทำการซ่อมบำรุงระบบต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง และพิจารณาออกกฎระเบียบหรือเสนอกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ผลสรุปที่เหมาะสม ก็จะนำไปขยายผลรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำไปพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ขณะเดียวกันที่ SPRC ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมเจ้าท่า กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะลและชายฝั่ง กรมธุรกิจพลังงาน อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด เริ่มขั้นตอนแรกของปฏิบัติการอุดรอยรั่วของท่ออ่อนใต้ทะเล เพื่อป้องกันการรั่วไหลที่เพิ่มขึ้นจากท่ออ่อนที่เสียหาย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ โดยจะมีการนำท่ออ่อนดังกล่าวไปตรวจสอบหาสาเหตุของการเกิดรอยรั่วต่อไป

 ทั้งนี้ ปฏิบัติการปิดจุดรั่วไหลของท่ออ่อนใต้ทะเลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การฉีดน้ำยากันรั่วที่วาล์ว การดูดน้ำมันออกจากท่อที่ได้รับความเสียหาย และการพันรอยรั่วทั้ง 2 จุด โดยการปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ บริษัทผู้ผลิตท่อส่งน้ำมัน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

และล่าสุดทางบริษัทเองก็ได้ร่วมกับคณะทำงานที่ดำเนินงานร่วมกันเพื่อพูดคุยกับชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว เพื่อชี้แจงเบื้องต้นถึงหลักการในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ชุมชน  ประกอบด้วยสองปัจจัยหลัก ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อวันและระยะเวลานับตั้งแต่การเกิดเหตุ ซึ่งมาจากการพิจารณาร่วมกันของคณะทำงาน

โดยกลุ่มชุมชนประมงท้องถิ่นจะได้รับการแจ้งวันและเวลาสำหรับการเข้ามารับการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2565 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ทาง SPRC และคณะทำงานได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมจากกลุ่มประมงท้องถิ่น ซึ่งจะมีการประเมินและพิจารณาร่วมกัน โดยจะมีการประชุมอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 25 ก.พ.นี้

ซึ่งถือว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะส่งผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่ แต่การเข้ามาช่วยเหลือหรือดำเนินงานแก้ไขของบริษัทต้นทางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นบทเรียนให้กับสังคมต่อไป.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research