โอกาสและความท้าทาย

อีอีซี หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุน แต่การระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีนี้ทำให้ภาครัฐต้องมีการปรับแผนเพื่อดึงดูดการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการลงทุนในปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เข้ามาทำงานในอีอีซี จากอัตราก้าวหน้า สูงสุด 35% ให้เหลือในอัตราไม่เกิน 17% ของเงินได้พึงประเมิน รวมทั้งจะมีการต่ออายุมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่หมดอายุในปลายปี 2564

มาตรการจูงใจดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยสนับสนุนการเติบโตของการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีในอีอีซี ซึ่งปี 2563 ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ในอีอีซีลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี 5G

เริ่มเพิ่มการลงทุนต่อเนื่องได้แก่ ธุรกิจการแพทย์ (Medical Hub) ธุรกิจโลจิสติกส์ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับออร์โตเมชั่นและอากาศยาน จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2561-2564 อีอีซีดึงเงินลงทุนแล้ว 1.7 ล้านล้านบาท

และในปี 2565 อีอีซีมีเป้าหมายที่จะเร่งสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ขับเคลื่อนแผนลงทุนระยะ 2 อีอีซี (ปี 2565-2569) ตั้งเป้าเกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท รวมถึงเร่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 บิ๊กโปรเจ็กต์ อย่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าการก่อสร้างและส่งมอบพื้นที่โครงการต่อเนื่อง

ล่าสุดได้มีการจัดตั้งบริษัท อีอีซี พัฒนาสินทรัพย์สนามบิน จำกัด หรือ EAD ที่มี สกพอ.ถือหุ้น 100% มีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมการบินภาคตะวันออก (ATZ) และสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เทียบเท่าสิงคโปร์ ดูไบ และฮ่องกง และยกระดับเป็นสนามบินระดับโลกและเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ได้รับทราบการดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญา โดยเรื่องยังไม่ได้ส่งมาที่อีอีซีแต่อย่างใด มีสาระหลักได้แก่ 1.กระทรวงคมนาคมให้เอกชนสร้างส่วนทับซ้อนงานโยธาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขสัญญาโดยไม่เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐ

2.การบรรเทาผลกระทบโควิด-19 อย่างเหมาะสมให้กับเอกชน ซึ่งแม้ขณะนี้จำนวนผู้โดยสารจะเริ่มกลับมา แต่ยังห่างจากประมาณการตามการศึกษาที่ 80,000 คนต่อวัน โดยการแก้ไขสัญญาจะให้ความสำคัญกับการปรับระยะเวลาค่าสิทธิ์เป็นสำคัญ โดยเร่งรัดดำเนินการเจรจาในข้อเสนอเพิ่มเติมของเอกชนคู่สัญญาให้ได้ข้อยุติโดยเร็วก่อนดำเนินการ โดยภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมต่อภาคเอกชน บนพื้นฐานความเป็นหุ้นส่วนในโครงการร่วมกัน

3.การส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาแล้ว 3,493 ไร่ หรือได้เกือบครบทั้งหมด 100% แล้ว เหลือพื้นที่ส่งมอบเพียง 20 ไร่ หรือประมาณ 0.57% ที่เจ้าของพื้นที่เดิมยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ รฟท.จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.2565

นอกจากนี้ โครงการธีมพาร์คและสวนน้ำ "โคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส" แห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นการลงทุนจากบริษัท โซนี่พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ระดับโลก ที่จะเป็นเมืองสวนสนุก เครื่องเล่นอัจฉริยะมาตรฐานโลก สามารถเปิดระยะที่ 1 ได้ในวันที่ 8 เม.ย.2565 และโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ได้ขยายความจุห้องเย็น จากเดิม 4,000 ตัน เป็น 10,000 ตัน คาดว่าการดำเนินงานทั้งหมดจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดได้ภายในปี 2566

ขณะที่ โครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ 100% เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.2565 เพื่อรองรับการประชุมผู้นำเอเปก

ดังนั้น แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้การใช้ชีวิตและการทำธุกิจเปลี่ยนไป หันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทุกอย่างเต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย ซึ่งเชื่อว่าด้วยมาตรการจูงใจที่ภาครัฐได้นำออกมาใช้ขณะนี้น่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย แต่สิ่งสำคัญ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างบรรยากาศในการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง มือไม่พายก็อย่าเอาเท้าราน้ำกันเลย.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research