ถอดบทเรียนเทรนด์แพ็กเกจรักษ์โลก

จากสถานการณ์โควิด-19 และหลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้มีการขนส่งทั้งอาหาร พัสดุ สินค้ามากขึ้น เป็นผลให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มสูง ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 (ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19) มีอัตราการสร้างขยะพลาสติกเฉลี่ย 96 กรัม/คน/วัน ในขณะที่ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 134 กรัม/คน/วัน เพิ่มขึ้นกว่า 40% นี่เป็นเหตุผลที่ภาครัฐและภาคธุรกิจหันมาสนใจประเด็นบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ Eco-packaging มากขึ้น

ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารยังคงมีภาพจำเรื่องข้อจำกัดเรื่องต้นทุน และคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่อาจไม่สามารถใส่อาหารได้ทุกประเภท แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ Eco-packaging ก้าวหน้าขึ้น มีต้นทุนที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อน จึงมีร้านอาหารเดลิเวอรีหลายแห่งเริ่มหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ดังกล่าว อย่างที่เห็นได้ชัดก็จะเป็นบน LINE MAN ที่มีตัวอย่างของร้านที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟังถึงการปรับตัวดังกล่าว

สำหรับ Sizzler หนึ่งในร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายของเมนูอาหารสไตล์ตะวันตกทั้งสเต๊ก ซีฟู้ด และสลัด ได้ตื่นตัวและปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ปัจจุบัน Sizzler ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเป็นสัดส่วน 90% ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด โดย กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด (Sizzler) ให้ข้อมูลว่า Eco-packaging ที่แบรนด์เลือกใช้มีทั้งบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษที่ทำมาจากเส้นใยคุณภาพ มีความคงทนสูง สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้ ซึ่งนำมาใช้เพื่อบรรจุสเต๊ก ยังมีกล่องกระดาษคราฟต์สำหรับบรรจุภัณฑ์ Sizzler to go ที่มีคุณสมบัติทนน้ำสลัด และคงสภาพในตู้เย็นได้ 1-2 วันอีกด้วย

แน่นอนว่า ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องดีดนิ้วแล้วเปลี่ยนทุกอย่างในครั้งเดียว เส้นทางบรรจุภัณฑ์ Eco-friendly ยังมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก โดยสามารถเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งถึงวันที่ความต้องการใช้พลาสติกน้อยลง และใช้ Eco-packaging มากขึ้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอีกขั้น

ต่อกันที่ร้านซาลาเปาไส้ไหล Phoenix Lava เป็นอีกหนึ่งร้านที่ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเป็นสัดส่วนถึง 80% โดย ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟีนิกซ์ ลาวา จำกัด บอกว่า กระดาษรองซาลาเปามีราคาขึ้นอยู่กับความหนาของกระดาษ ด้วยความที่ซาลาเปาของเราเป็นไส้ลาวา มีความหนักกว่าซาลาเปาไส้อื่นๆ จึงต้องใช้กระดาษที่หนาประมาณ 325-350 แกรม ในขณะที่ซาลาเปาทั่วไปใช้อยู่ที่ 250-300 แกรม

ปัจจุบัน Eco-packaging เข้าถึงได้ง่าย ด้วยราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ ทำให้เห็นหลายร้านหันมาใช้กันมากขึ้น ในอนาคตเรื่องของกฎหมายการบังคับใช้พลาสติกคงจะเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการร้านอื่นๆ อาจเริ่มต้นจากการทดลองเปลี่ยนสินค้าเพียง 1-2 ชิ้น จากสินค้าทั้งหมดให้เป็น Eco-packaging ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ร้านอาหารเมนูขวัญใจคนไทยอย่างกะเพราจากร้านเผ็ดมาร์คที่มีระดับความเผ็ดแบบ “เผ็ดมาก” จนกลายเป็นรสชาติเอกลักษณ์ที่ลูกค้าพูดถึง ร้านมียอดขายหลักมาจากการเดลิเวอรีกว่า 80% โดยผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง กิตติเดช วิมลรัตน์ ระบุว่า ทางร้านใช้เวลากว่า 1 ปีในการวางแผน ปรับสูตร รวมไปถึงออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับ DezpaX เพื่อพัฒนาดีไซน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ Eco-packaging มีต้นทุนที่สูงกว่าพลาสติกในระดับหนึ่ง เผ็ดมาร์คยินดีลดกำไรลง 2-3 บาทต่อออเดอร์ เลือกใช้ Eco-packaging สำหรับส่งเดลิเวอรีทาง LINE MAN และช่องทางอื่นๆ

จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์วงการฟู้ดเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น การผลิตที่มากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง นำมาสู่ราคาสินค้าต่ำลงมากถึง 50% ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับร้านอาหารได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลจาก DezpaX.com บอกว่า จากปี 2564 มีแนวโน้มผู้สั่งซื้อบรรจุภัณฑ์จากกระดาษและเยื่อธรรมชาติจาก DezpaX เพิ่มมากขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน และในตลาดใช้บรรจุภัณฑ์โฟมลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นพัฒนาการที่ดีมากสำหรับร้านอาหารในประเทศไทย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร