คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยที่ให้หน่วยราชการให้เลิกการขอสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านจากประชาชนเมื่อเร็วๆ นี้ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบราชการไทยกันเลยทีเดียว
คำถามคือทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เช่นนี้ และกินเวลายาวนานขนาดนี้?
คำตอบก็คือ เพราะการพิจารณายกเลิกระเบียบราชการยังต้องผ่านขั้นตอนของระเบียบราชการอยู่ดี!
ทั้งๆ ที่รัฐบาลประกาศนโยบาย Thailand 4.0 มายาวนาน แต่ขั้นตอนและกระบวนการที่จะบรรลุเป้าหมาย e-government ยังต้องผ่านระบบ analog แบบเดิม
เหมือนจะไปขึ้นเครื่องบินยังนั่งเกวียนไปถนนลูกรัง
เป้าหมายของระบบ “ราชการไร้กระดาษ” หรือ paperless government จึงยังไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
ทั้งๆ ที่มีการดำเนินนโยบายให้ประชาชนทำแบบ smart card ซึ่งมีข้อมูลที่บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านบนกระดาษครบถ้วนแล้ว
แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทางราชการก็ยังไม่สามารถยกเลิกระบบกระดาษ
เมื่อเลิกกฎเก่าไม่ได้ ข้าราชการก็ต้องทำแบบเดิม
เพราะการบังคับให้ราษฎรต้องไปทำ “สำเนา” ของเอกสารทางราชการนั้นยังเป็นการตอกย้ำถึง “อำนาจ” ของข้าราชการ
วิธีคิดแบบราชการยังเป็น “นาย” ของราษฎรยังฝังแน่นอยู่
การยกเลิกระเบียบเก่าจึงเกิดขึ้นไม่ได้
ยกเว้นเมื่อมีระดับผู้นำในหน่วยราชการที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจ เปลี่ยนวิธีคิดและกระบวนการได้ด้วยการพิสูจน์ว่าวิธีการใหม่นั้นสะดวก, ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการเดิมมากมายหลายเท่า
เช่น กรณีการทำบัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง หรือ passport ที่ได้ปรับเปลี่ยนจนทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น, เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพกว่าเดิมอย่างชัดเจน
การทำบัตรประชาชนก็อยู่ใต้กระทรวงมหาดไทยเช่นกัน แต่การเรียกสำเนาบัตรประชาชนนั้นเป็นหลักปฏิบัติของทุกหน่วยราชการ
ดังนั้นแม้ว่ากระทรวงมหาดไทยจะเปลี่ยนวิธีการทำบัตรประชาชนให้สอดคล้องกับปรัชญาการ “รับใช้ประชาชน” ในยุคใหม่ แต่ระเบียบราชการในภาพรวม เช่น การต้องมี “สำเนา” บัตรประชาชนก็ยังไม่มีการยกเลิก
เหมือนกับมือซ้ายของรัฐบาลไม่รู้ว่ามือขวาทำอะไรอยู่
เพราะหัวไม่ได้สั่งลงมาให้มือและเท้าทำงานร่วมกันให้เป็นระบบ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักของการบริการประชาชนที่ต้อง 'กระชับ สะดวก รวดเร็ว'
ในหลายประเทศมีที่สิ่งที่เรียกว่า “กฎบัตรประชาชน” หรือ Citizen’s Charter
ที่มีหลักสำคัญว่า เจ้าพนักงานของรัฐมีหน้าที่ต้องรับใช้ประชาชน
ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงการ “ลดภาระของประชาชน” แต่ยังหมายรวมถึงการถือเอาความสะดวกและสิทธิของประชาชนเป็นหัวใจของการทำงานของหน่วยงานของรัฐทั้งสิ้นทั้งปวงด้วย
“กฎบัตรประชาชน” จะต้องกำหนดไว้ว่าประชาชนจะคาดหวังประสิทธิภาพของ “บริการประชาชน” ได้เพียงใด
เช่น การบริการของหน่วยงานรัฐในเรื่องต่างๆ นั้นจะรับรองความรวดเร็ว, กระชับและคล่องตัวมากน้อยเพียงใด
พนักงานรัฐคนใดทำไม่ได้ตามมาตรฐานที่วางเอาไว้จะต้องถูกลงโทษ และการประเมินผลงานหรือ “ตัวชี้วัด” KPI ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นจะต้องอยู่ที่ว่าประชาชนมีความพอใจในการรับใช้พลเมืองอย่างไร
เป็นการโยกจากวิธีคิดเดิมของไทยที่ว่าประชาชนต้องมาอ้อนวอนขอร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐทำอะไรให้กับตน
กลายเป็นการที่การได้บริการอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ของประชาชน
ยิ่งเมื่อมาถึงยุคดิจิตอลด้วยแล้ว คำว่า e-government จะต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
มาถึงจุดนี้เพียงแค่ยกเลิกการเรียก “สำเนา” เอกสารทางการเท่านั้นไม่พอแล้ว ยังต้องก้าวกระโดดไปสู่ระบบอัตโนมัติที่เชื่อถือและตรวจสอบได้เช่น
1.การพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการ ด้วยบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิตอล เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเจ้าของตัวจริง เอกชนหลายแห่งเริ่มทำแล้ว แต่ทางราชการยังไม่เริ่มอย่างจริงจัง
ความจริงก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยได้เริ่มทำโครงการพิสูจน์ใบหน้าทางดิจิตอลแล้ว ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว
แต่จะด้วยเหตุผลอันใดก็ไม่ทราบ ยังไม่ถึงขั้นที่ให้บริการได้
National Digital ID (NDID) Platform คือ Platform กลางของประเทศไทยในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิตอล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน
นี่คือแนวคิดการสร้างระบบกลางสำหรับบริหารจัดการ Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e KYC)
การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิตอล (e Signature)
การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e Consent) เป็นการสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่างๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม การ Data Sharing ดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้
หลักการออกแบบระบบ NDID เป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล
และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า
ระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด จะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆ ของลูกค้า เพราะบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด เป็นการร่วมกันระหว่างเอกชนและราชการไม่ต่ำกว่า 60 แห่ง
2.การตรวจสอบข้อมูลหรือเอกสารประกอบนั้นไม่จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบที่เป็นกระดาษ สามารถตรวจสอบทางดิจิทัลกับหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
โดยหน่วยงานให้บริการหรือแอปที่ให้บริการสามารถส่งข้อมูลไปตรวจสอบจากการเชื่อมต่อที่ออกแบบไว้แล้วกับหน่วยงานที่ออกเอกสาร หรือผู้รับบริการสามารถเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายเซ็นดิจิตอลของผู้ออกเอกสารที่เคยขอไว้แล้ว ในวอลเล็ตของตัวเอง
และสามารถส่งเอกสารนั้นทางดิจิตอลพร้อมลายเซ็นที่ตรวจสอบทางดิจิตอลได้
ทั้งหมดนี้ต้องมีการออกแบบให้รองรับไว้ก่อน
3.การทำธุรกรรมที่ร้องขอสามารถออกแบบให้เป็นแบบอัตโนมัติ
โดยผ่านกระบวนการพิจารณาแบบอัตโนมัติด้วยกระบวนการในระบบจัดการและอนุมัติโดยไม่ต้องผ่านคน
วิธีนี้จะลดขั้นตอน ลดเวลา ลดคอร์รัปชัน และลดต้นทุนได้มากมาย และสามารถจัดการโดยระบบกลางแล้วจึงส่งผลลัพธ์ให้ต้นสังกัดอีกที
ดังนั้น หลังจากเลิก “สำเนาบัตรประชาชน” ก็มีการบ้านใหม่ๆ ที่ต้องรีบทำอย่างเร่งร้อนกันเลยทีเดียว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ