ผุดแผนพัฒนาปาล์มทั้งระบบ

เป้าหมายการพัฒนาของโลกที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีแนวทางที่จะมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นหนึ่งในแผนงานที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของมนุษย์แล้ว การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ควบคู่กันก็เป็นเรื่องจำเป็น

ทั้งนี้ เทรนด์การดำเนินงานแบบคาร์บอนต่ำ หรือคาร์บอนเป็นศูนย์ จึงบูมขึ้นมามากในช่วงปีที่ผ่านมา และในปี 2565 เองก็มีหลายธุรกิจ หลายแผนงานของหลายกลุ่มอุตสาหกรรมก็มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ตอบสนองกับเทรนด์ดังกล่าว เช่นเดียวกับการดำเนินการขับเคลื่อนตามมาตรการและแนวทางการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม พร้อมทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมาย

ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนตามมาตรการและแนวทางรวม 2 ผลิตภัณฑ์ เข้าบอร์ดคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 1/2565 โดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

โดย "ทองชัย ชวลิตพิเชฐ" ผู้อำนวยการ สศอ. เปิดเผยภายหลังการ กนป. ครั้งที่ 1/2565 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการกำหนดผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมายเพิ่มเติมจากที่ได้รับการส่งเสริม จาก 6 ผลิตภัณฑ์เป้าหมายเดิมเป็น 8 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ 7 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ กรีนดีเซล (BHD) และผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ 8 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ไบโอเจ็ต (Biojet fuels) รวมทั้งความคืบหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนตามมาตรการและแนวทางการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ

ตามที่ สศอ.ในฐานะคณะอนุกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ภายใต้ กนป.เป็นผู้เสนอ โดยการเพิ่มผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมายที่ 7 และผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ 8 จะเป็นการดูดซับการใช้น้ำมันปาล์มและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ โดย BHD จะเป็นการเติมเต็มการใช้ไบโอดีเซลให้กลับขึ้นไปที่บี 10 ตามมาตรฐานเชื้อเพลิงยูโร 5 และรักษาระดับการใช้น้ำมันปาล์มดิบไม่ให้ลดลงไปกว่าปีละประมาณ 6.35 แสนตัน 

และ Biojet fuels จะรองรับแนวโน้มการเก็บภาษีคาร์บอนสำหรับสายการบินพาณิชย์ที่บินผ่านน่านฟ้าของสหภาพยุโรปที่ไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ประกาศแผนพลังงานทดแทน (REDII) กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนในสหภาพยุโรปไว้ที่ 40% ภายในปี 2573 ซึ่งสอดคล้องกับความตกลงปารีสที่จะต้องลด CO2 ให้ได้อย่างน้อย 40% และกำหนดเป้าหมายการปล่อย CO2 สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีของไทยในการจำหน่ายไบโอเจ็ตสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ลงจอดที่ไทย 

โดยความคืบหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการและแนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่สำคัญ ได้แก่ 1.ด้านกระบวนการผลิต/เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย สวทช.ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และภาคเอกชน อยู่ระหว่างขั้นตอนการทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพเทียบกับน้ำมันหม้อแปลงที่นำเข้าจากต่างประเทศ 

2.ด้านมาตรฐานและการทดสอบ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 28/6 เพื่อจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ 3.ด้านสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) อยู่ระหว่างการเสนอร่างประเภทกิจการที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ และ 4.ด้านอุปสงค์ หน่วยงานผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น กรมเจ้าท่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยินดีให้ความร่วมมือในการใช้ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย

 เชื่อว่าการเพิ่มผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมายอีก 2 ผลิตภัณฑ์ เป็น 8 ผลิตภัณฑ์ จะเป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม กระตุ้นให้เกิดการลงทุนยกระดับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมให้ภาคอุตสาหกรรม ตอบสนองกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า