‘ฟินแลนด์โมเดล’ จะใช้กับยูเครน เพื่อเลี่ยงสงครามกับรัสเซียได้ไหม?

หนึ่งในข้อเสนอทางออกสำหรับยูเครนเพื่อไม่ให้ต้องกลายเป็น “หอกข้างแคร่” สำหรับรัสเซียและยุโรปตะวันตก คือการใช้ “สูตรฟินแลนด์”

หรือที่เรียกว่า Finlandisation of Ukraine

หมายถึงการทำให้ยูเครนเดินตามแนวทาง “เป็นกลาง” ที่ไม่ถูกมองว่าฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

ระหว่างเดินทางไปพบกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ในกรุงมอสโก เอ็มมานูเอล มาครง ถูกถามว่ามีแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนสำหรับยูเครนอย่างไร

ผู้นำฝรั่งเศสตอบว่า หนึ่งในทางเลือกคือ Finlandisation เป็นการอ้างถึงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการของฟินแลนด์ในช่วงสงครามเย็น

มาครงยอมรับแม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แต่ก็ยืนยันว่านักการทูตจะต้องคิดค้นสิ่งใหม่เพื่อแก้วิกฤตที่ปรับเปลี่ยนได้เสมอ

ข้อเสนอนี้ไม่ได้ทำให้คนฟินแลนด์หรือยูเครนมีความรู้สึกดีเท่าไหร่นัก

เพราะฟินแลนด์ถือว่าสูตรของตนไม่อาจจะนำไปใช้กับใครต่อใครก็ได้

อีกทั้งสถานการณ์ช่วงสงครามเย็นกับตอนนี้ก็แตกต่างกันมากมาย คนยูเครนก็คงไม่เข้าใจว่าผู้นำฝรั่งเศสต้องการจะสื่ออะไร

เพราะในความเป็นจริงนั้นจะให้ยูเครนเป็นเหมือนฟินแลนด์คงเป็นไปไม่ได้

แต่ละประเทศก็มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตน การบอกให้ไปลอกเลียนแบบของประเทศอื่นอาจจะถูกตีความว่ามาครงดูถูกเหยียดหยามปัญญาของคนยูเครนก็ได้

แต่ก็มีคนถามต่อว่า “สูตรฟินแลนด์” ที่ว่านี้มันเป็นอย่างไร และหากจะทำจริงในทางปฏิบัติมันจะมีหน้าตาอย่างไร

ในยุคสงครามเย็นนั้น ยุโรปที่นำโดยสหรัฐฯ ยืนอยู่คนละข้างกับสหภาพโซเวียต ฟินแลนด์ในยามนั้นมีสถานะที่ไม่เหมือนใคร

แม้ว่าฟินแลนด์จะต่อต้านการรุกรานของโซเวียตอย่างเต็มรูปแบบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ถูกบังคับให้ต้องยกดินแดนผืนใหญ่ ต้องจ่ายค่าชดเชย และทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ฟินแลนด์ถูกกฎหมาย

ในช่วงหลังสงครามนั้น ฟินแลนด์มีความโยงใยกับตะวันตกไม่มาก แต่มีความเสี่ยงที่ถูกคุกคามโดยเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางทิศตะวันออก

สนธิสัญญาที่ลงนามกับสหภาพโซเวียตในปี 1948 ได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับฟินแลนด์จะคงอำนาจอธิปไตยของตนไว้ และยังรักษาสถานะเป็นกลางในการแข่งขันระดับมหาอำนาจ   

ฟินแลนด์ไม่เข้าร่วมกับทั้ง NATO และสนธิสัญญาวอร์ซอ ในทางปฏิบัติ ฟินแลนด์ต้องยอมอยู่กับอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ซึ่งก็ถูกแปรไปใช้เป็นแนวทางของประเทศนั้นในช่วงสงครามเย็น

นั่นคือมีความเป็นมิตรกับสหภาพโซเวียตเป็นรากฐานที่สำคัญของการรักษาอธิปไตยของประเทศ

การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งการเมืองที่สำคัญ ผู้นำฟินแลนด์ช่วงนั้นก็จะหลีกเลี่ยงคนที่ผู้นำโซเวียตไม่ยอมรับ

นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พรรคแนวอนุรักษนิยมหลัก คือ แนวร่วมแห่งชาติถูกกีดกันออกจากรัฐบาลผสม แม้จะชนะที่นั่งในรัฐสภามากเป็นอันดับ 2 หรือ 3 ในการเลือกตั้ง 5 ครั้ง ระหว่างปี 1966 ถึง 1987

ในช่วงนั้นสื่อของฟินแลนด์มักเซ็นเซอร์ตัวเองเมื่อพูดถึงเรื่องที่มองว่าจะเข้าข่ายวิพากษ์วิจารณ์โซเวียต

สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งถูกกดดันในปี 1974 ไม่ให้เผยแพร่หนังสือแปล "The Gulag Archipelago" ในภาษาฟินแลนด์

หนังสือกึ่งนวนิยายเรื่องนี้เขียนโดย Alexander Solzhenitsyn ผู้นำฝ่ายค้านของโซเวียต

แต่ในที่สุดหนังสือเล่มนี้จะได้รับการตีพิมพ์ในฟินแลนด์ในอีกไม่กี่ปีต่อมา

แต่นโยบาย “เป็นกลาง” ก็ไม่ได้ทำให้ฟินแลนด์ปลอดจากอิทธิพลของโซเวียต

เพื่อเอาใจมอสโกหลังจากที่ได้ลงนามในข้อตกลงในปี 1972 กับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งเป็นกลไกก่อนการก่อเกิดของสหภาพยุโรป   ฟินแลนด์ก็เข้าร่วม Comecon ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำโดยโซเวียตในฐานะ “ผู้สังเกตการณ์” ในปี 1973

ผู้นำฟินแลนด์พยายามหลีกเลี่ยงและละเว้นจากการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายภายในประเทศหรือต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในที่สาธารณะ

ผู้นำฟินแลนด์ไม่ได้แสดงจุดยืนในทางตรงกันข้ามกับมอสโก แม้ระหว่างการแทรกแซงทางทหารของสหภาพโซเวียตในฮังการีในปี 1956 เชโกสโลวะเกียในปี 19681 และอัฟกานิสถานในปี 1979

แม้ต้องเจอกับข้อจำกัดไม่น้อย แต่ฟินแลนด์ก็เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งทางการเมืองแบบเสรีนิยมและเศรษฐกิจของตนได้พอสมควร

พอสิ้นสุดสงครามเย็น ประเทศนี้ก็สามารถดำเนินตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ

และในปี 1994 ฟินแลนด์ได้เข้าร่วม Partnership for Peace ของ NATO ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ และในปี 1995 ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

วันนี้เมื่อเจอกับจุดยืนที่แข็งกร้าวของรัสเซียในยูเครน ผู้นำฟินแลนด์ก็ขยับมาใกล้ชิดกับตะวันตกมากขึ้น

ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ฟินแลนด์สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่ผลิตในอเมริกาเป็นเครื่องบินรบฝูงใหม่

ประธานาธิบดี Sauli Niinisto ย้ำว่าฟินแลนด์มีอิสระในการเลือกเดินนโยบายทางทหารของตน นั่นรวมถึงสิทธิที่จะเลือกเข้าร่วมกับ NATO หรือไม่ในวันข้างหน้า

คนยูเครนไม่ได้ปลื้มนักกับการที่ผู้นำฝรั่งเศสเสนอว่ายูเครนควรจะเป็นอย่างฟินแลนด์

แม้ว่าฟินแลนด์จะไม่ใช่สมาชิก NATO อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความสัมพันธ์หลวมๆ และเชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนหากโดนคุกคาม

ตามข้อตกลง Minks รัสเซียยืนยันว่ายูเครนต้องกระจายอำนาจไปยังภูมิภาคที่ฝ่ายกบฏยึดครองในยูเครนตะวันออก

นั่นทำให้รัสเซียมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลกลางยูเครนผ่านกลุ่มแยกดินแดน Donbass ทางตะวันออกของยูเครนที่มีพรมแดนประชิดรัสเซีย

แม้ว่ายูเครนจะได้รับการสนับสนุนทางการทูตและวัสดุจากตะวันตกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในด้านอื่นๆ สถานภาพของยูเครนยังดูจะอ่อนแอกว่าฟินแลนด์

นั่นแปลว่าหากยูเครนใช้ “สูตรฟินแลนด์” อาจจะหลีกเลี่ยงสงครามกับรัสเซีย

แต่นั่นไม่ได้แปลว่าจะหลุดพ้นจากอิทธิพลของรัสเซียอย่างแน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ