แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหลังช่วงปีใหม่จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาด และก็มีปัจจัยลบเข้ามาซ้ำเติมอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ได้ระบุว่า ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 3 วิกฤตแทรกซ้อน เริ่มจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ยังไม่จบ ทำให้เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวได้อย่างที่คาดไว้
ต่อมาก็คือ เงินเฟ้อ ซึ่งการขาดแคลนเรือและตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือสูง แฝงอยู่ในต้นทุนสินค้า ทำให้วัตถุดิบที่ไทยต้องนำเข้าเพื่อมาผลิต
อย่าง เหล็กมีต้นทุนสูงขึ้น ทำให้ไทยเผชิญปัญหาของแพงและเงินเฟ้อจากต้นทุนแฝงต่างๆ ขณะที่คนไทยไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้นปัญหานี้จึงแก้ยากเพราะต่างจากเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อที่สูงขึ้น
และวิกฤตที่สำคัญคือ น้ำมันแพง ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลต่อภาคการขนส่งและการเกษตร รวมไปถึงราคาอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อหมูที่พุ่งขึ้นไปทะลุ 200 บาทต่อกิโลกรัม
ปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง กดกำลังซื้อของภาคครัวเรือน และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากการสำรวจพบว่าสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนทั้งในปัจจุบันที่สะท้อนผ่านการนำเงินออมออกมาใช้ และในระยะข้างหน้าที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
ซึ่งราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปี มีปัจจัยลบมาจากราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นต้นทุนทางอ้อมของราคาสินค้าผ่านต้นทุนค่าขนส่ง/การผลิต และทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนผ่านค่าโดยสาร รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันต่างๆ
ขณะที่ ภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะยังไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากภาครัฐยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง
ดังนั้น สถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจึงเหมือนเข้ามาซ้ำเติมกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เดิมมีความเปราะบางอยู่แล้วให้ยิ่งแย่ลงไปอีก แม้ว่าล่าสุดภาครัฐจะมีมาตรการบางส่วนออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การขยายเวลาตรึงราคาแก๊สหุงต้ม (LPG) จากเดิมที่จะสิ้นสุด 15 ม.ค.2565 รวมถึงเลื่อนเวลาการใช้มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 เข้ามาเร็วขึ้นในเดือน ก.พ.2565
ต้องยอมรับว่ามาตรการต่างๆ สามารถเข้ามาประคับประคองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าปรับขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และในอนาคตราคาสินค้าก็ยังอยู่ในระดับสูง จึงยังเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่องไปอีกสักระยะ หรือจนกว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเริ่มปรับเข้าสู่จุดสมดุล
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระบบ Test & Go อีกครั้ง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทยอยกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะช่วยให้ฝั่งรายได้ของครัวเรือนกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้บางส่วน ประกอบกับภาครัฐควรมีมาตรการบรรเทาค่าครองชีพอย่างตรงจุด
ดังนั้น โดยรวมแล้วดัชนีภาวะเศรษฐกิจการครองชีพของครัวเรือนไทยในระดับปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าลดลงต่อเนื่อง ราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงยังคงกดดันภาคครัวเรือน เงินเฟ้อและข้าวของที่ราคาแพง ก็ยังคงแพงต่อไป และคงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่กำลังเผชิญทั้งศึกในศึกนอก ปากท้องของชาวบ้านก็ต้องแก้ การเมืองที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านขย่มรัฐบาลอย่างไม่สนใจฟ้าฝนปากท้องชาวบ้านจะเป็นอย่างไร มุ่งอย่างเดียวต้องชนะ.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research