ดูเหมือนว่ารูปแบบการทำงานแบบไฮบริดจะกลายเป็นเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ขององค์กรไทยในปีนี้ แต่การมีระบบการวัดผลงานที่โปร่งใส บนพื้นฐานของความไว้วางใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายหลัก ขณะเดียวกันผู้บริหารนำเทคโนโลยีมาช่วยวางแผนจัดการกำลังคน รวมทั้งต้องอัปสกิลทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
จากประเด็นดังกล่าว ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ปัจจุบันธุรกิจไทยหลายรายกำลังใช้รูปแบบการทำงานแบบไฮบริด หรือการทำงานที่พนักงานไม่ต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำงานทุกวันอย่างแพร่หลาย
โดยอาจผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ กับการทำงานในออฟฟิศเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถช่วยลดความแออัดของพื้นที่ได้ถึง 25-50% และยังแสดงให้เห็นว่าธุรกิจยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
แน่นอนว่าการทำงานแบบ Hybrid ค่อนข้างได้ผล โดยธุรกิจส่วนใหญ่เน้นการสื่อสารถึงวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของการทำงานที่คาดหวังอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กรและลักษณะของงาน เช่น กลุ่มแบงก์ ที่บางแผนกสามารถทำงานจากที่บ้านได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น risk management แต่บางแผนก อย่างคอลเซ็นเตอร์ ก็อาจยังจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศอยู่ ซึ่งรูปแบบการทำงานประเภทนี้ช่วยลดความแออัดลงได้ถึง 25-50% เพราะมีการเปลี่ยนเวรกันเข้าออฟฟิศโดยที่ผลงานไม่ได้ตกลงไปนั่นเอง
ขณะเดียวกัน แนวโน้มดังกล่าวยังสอดคล้องกับรายงาน Future of Work and Skills Survey ของ PwC พบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า องค์กรมีประสิทธิภาพของแรงงานและเป้าหมายผลผลิตที่ดีขึ้นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา หลังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นแบบไฮบริด ในขณะที่มีเพียงแค่ 4% ที่กล่าวว่า องค์กรของตนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ด้อยลง
หลายองค์กรยังได้หันมาใช้วิธีการประเมินผลงานของพนักงานที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น มีการนัดประชุมเพื่อทักทายและติดตามผลงานบ่อยครั้งขึ้น เช่น จัดให้มี stand up meeting ทุกวัน หรือหากเกิดปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษาหัวหน้างานได้ทันที ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของคนทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเจนวาย ซึ่งถือเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของหลายองค์กรในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีการประเมินผลงานของพนักงานยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กรและพนักงาน เนื่องจากต้องมีระบบการวัดผลที่โปร่งใส บนพื้นฐานของความไว้วางใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
การวางแผนกำลังคนกำลังได้รับความนิยมในช่วงที่ผ่านมา โดยหลายองค์กรนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนจัดการกำลังคน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การสร้างคน จ้างภายนอก ยืม และระบบอัตโนมัติ ซึ่งองค์กรจะต้องเข้าใจก่อนว่าต้องการบุคลากรเท่าไหร่ต่อประเภทของงานนั้นๆ หรือใช้เทคโนโลยีทดแทนได้หรือไม่ หรืองานไหนที่สามารถเอาต์ซอร์สได้บ้างเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับแรงงานขององค์กร
แม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญและส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด แต่องค์กรจำเป็นที่จะต้องยกระดับทักษะของพนักงานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยหลายๆ องค์กรในไทยไม่ได้เน้นที่จะเอาเทคโนโลยีมาทดแทนคน เนื่องจากต้นทุนแรงงานคนยังไม่สูงมาก แต่ในอีกไม่เกิน 3-5 ปีคงได้เห็นแน่ๆ ว่าความต้องการบุคลากรจะเปลี่ยนไป คือจะต้องเน้นทักษะด้านการวิเคราะห์ หรือทักษะเฉพาะทางด้านดิจิทัลมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ปี 2565 ยังคงเป็นปีที่ธุรกิจไทยต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก เพราะอุตสาหกรรมทุกกลุ่มต้องปรับตัวด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำนโยบายการทำงานแบบไฮบริดมาใช้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ และการยกระดับทักษะของพนักงาน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมควรเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้องค์กรรักษาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research