โจทย์หิน : ปฏิรูปครั้งใหญ่ ภาคการเงินไทย (2)

เมื่อวานผมเขียนถึงคำประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะขอความเห็นและคำแนะนำจากสาธารณชนว่าด้วยก้าวต่อไปของการปฏิรูปภาคการเงินของประเทศครั้งใหญ่

โดยที่แบงก์ชาติได้ร่างเอกสารที่เรียกว่า consultation paper เพื่อปูพื้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ

นั่นคือ “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน” จะขอความเห็นจากคนทั่วไปในช่วง 1-28 ก.พ.2565 นี้

เมื่อวานได้อ่านชุดคำถามจากผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ วันนี้มาฟังผู้บริหารอาวุโสที่ทำเรื่องนี้ว่าสาระหลักๆ ของนโยบายที่ว่านี้คืออะไร

คุณรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เล่าว่า ภายใต้แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยฯ ธปท.ต้องการให้ประชาชนได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีตามแนวคิด 3 Open ได้แก่

1.เปิดให้มีการแข่งขัน (Open Competition) เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีกว่าให้ประชาชนและภาคธุรกิจ เช่น การเปิดให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามา เช่น Virtual bank ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือเข้ามาให้บริการในประเทศไทย

แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทันที เพราะ ธปท.ต้องปรับปรุงกติกาเพื่อทำผู้เล่นรายเดิมปรับตัวและแข่งขันกับผู้เล่นรายใหม่ได้

เช่น การยกเลิกเพดานของธนาคารพาณิชย์ในการลงทุนใน FinTech และให้ Non-bank ทำธุรกิจได้กว้างขึ้น เป็นต้น

2.เปิดให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Open Infrastructure)

ธปท.อยากเห็นการเปิดกว้างให้ผู้เล่นรายต่างๆ สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานไม่ให้เกิดการผูกขาด แต่ต้องมีความยุติธรรมกับผู้มีส่วนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นๆ

3.เปิดให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) โดยเปิดให้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าเจ้าของข้อมูลต้องยินยอม และเคารพสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล

ธปท.ระบุว่า ภายใต้แนวนโยบายการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย ธปท. มุ่งหวังให้ภาคการเงิน

 (1) ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียม

 (2) สนับสนุนให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจการเงินดิจิทัล และรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 (3) สามารถรับมือกับความเสี่ยงสำคัญและความเสี่ยงรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างเท่าทัน ไม่ส่งผลกระทบต่อไปยังระบบเศรษฐกิจการเงินและผู้บริโภคในวงกว้าง ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.ที่ยืดหยุ่นขึ้นและไม่สร้างภาระแก่ผู้ให้บริการทางการเงินมากเกินจำเป็น โดยมีทิศทางสำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.การเปิดโอกาสให้ภาคการเงินใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูล ภายใต้หลักการ 3 Open ได้แก่

 (1) เปิดให้แข่งขัน (Open Competition) โดยเปิดให้มีธนาคารที่ให้บริการในรูปแบบใหม่บนช่องทางดิจิทัล (virtual bank) และขยายขอบเขตหรือเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เล่นเดิม

 (2) เปิดให้ผู้เล่นต่างๆ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Open Infrastructure) ได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น เช่น ระบบการชำระเงิน การใช้สกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC)

และกลไกการค้ำประกันความเสี่ยงที่รองรับความต้องการเงินทุนหลากหลายรูปแบบ และ

 (3) เปิดให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) โดยจะผลักดันให้มีกลไกที่ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ให้บริการแต่ละแห่งไปยังผู้ให้บริการรายอื่นได้สะดวกมากขึ้นเป็นลำดับ ภายใต้นโยบาย open banking

และการเชื่อมต่อฐานข้อมูลของภาคการเงินกับแหล่งอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และพัฒนาบริการทางการเงิน

2.การเปลี่ยนผ่านสู่โลกใหม่ได้อย่างยั่งยืน โดย

 (1) ให้ภาคการเงินประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง และสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงลบในวงกว้าง

 (2) ช่วยให้ภาคครัวเรือนสามารถอยู่รอดและปรับตัวในโลกใหม่ได้ ด้วยการยกระดับการส่งเสริมทักษะด้านการเงินดิจิทัล ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้สิน

เช่น กำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้เหมาะกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพื่อป้องกันการก่อหนี้เกินตัว และผลักดันกลไกแก้หนี้อย่างครบวงจรสำหรับคนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

3.การกำกับดูแลอย่างยืดหยุ่นและเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่ โดยคำนึงถึงสมดุลระหว่างบทบาทของ ธปท. ในการส่งเสริมนวัตกรรมและการกำกับดูแลความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงิน ผ่าน

 (1) การกำกับดูแลผู้ให้บริการตามลักษณะความเสี่ยงและความซับซ้อนของบริการทางการเงิน

 (2) การทบทวนเกณฑ์ไม่ให้เป็นอุปสรรคและสร้างภาระต้นทุนที่เกินจำเป็นแก่ผู้ให้บริการ และ

 (3) การกำกับดูแลผู้ให้บริการให้เท่าทันความเสี่ยงใหม่ที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการเงิน และการกำกับดูแล non-bank ที่มีบทบาทมากขึ้น

คุณรุ่งบอกว่า “ธปท.หวังว่าการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินตามทิศทางข้างต้น จะทำให้ภาคการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนาบริการทางการเงิน บริหารความเสี่ยงได้อย่างเท่าทัน และรับมือกับสิ่งไม่คาดคิด รวมถึงผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถได้รับบริการที่ตอบโจทย์ และได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม

ภาคครัวเรือนมีความรู้และพร้อมปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล เข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ไม่ก่อหนี้เกินตัว

ขณะที่กลุ่มที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้รับการแก้ไขปัญหาและไปต่อได้ ส่วนภาคธุรกิจมีแรงจูงใจและได้รับเงินทุนเพียงพอเพื่อปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างราบรื่น

นี่คือการตั้ง “เป้าหมาย” และ “ภารกิจ” ของธนาคารกลาง ที่ยากที่สุดคือจะทำอย่างไรจึงจะลงรายละเอียดพร้อมกับแผนงานที่ปฏิบัติได้จริง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

และเปลี่ยน “วิธีคิด” หรือ mindset ของคนที่อยู่ในรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบต่ออนาคตของประเทศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ