เงินเฟ้อ VS ดอกเบี้ย

เริ่มต้นปี เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกก็เจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลไปยังต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทต่างๆ จนทำให้ราคาแพงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และทั้งหมดก็ส่งผลกระทบมายังเรื่องของเงินเฟ้อและค่าครองชีพ อย่างที่ทราบกันดี ยิ่งเงินเฟ้อมากขึ้นแสดงว่าค่าของเงินมันลดลง เงินจำนวนเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งหารายได้ได้เท่าเดิมหรือน้อยลงกว่าเดิม ก็จะส่งผลกระทบต่อการครองชีพอย่างไม่ต้องสงสัย

ในขณะนี้ สำนักวิจัยหลายแห่งได้มีการปรับประมาณการตัวเลขเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่ระดับ 2% เป็น 2.3% ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นแตะระดับ 3% ได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1 จะปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 3.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 11 ปี

แน่นอน ตามปกติเงินเฟ้อจะมาควบคู่กับภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต และจากฉากทัศน์ในปัจจุบันไทยกำลังเจอกับสิ่งที่เรียกว่า ภาวะ Stagflation ซึ่งหมายถึงราคาสินค้ามีการปรับตัวสูง แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งภาวะนี้จะกระทบผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจอย่างมาก เพราะในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยสุด จะต้องใช้เงินในการซื้อหาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นแต่ขึ้นราคาไม่ได้ กระทบต่อผลประกอบการ

อย่างประเด็นนี้ ทาง 'ดนุชา พิชยนันท์' เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังมองว่าสภาพการค้าโลกยังน่าห่วง หากมีปัญหาสงครามการค้าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และปัญหาเงินเฟ้อในขณะนี้เป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตด้วย

แน่นอนปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งตามปกติสามารถใช้กลไกของดอกเบี้ยนโยบายในการปรับขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้

แต่เนื่องจากปัจจุบันไทยกำลังเจอปัญหาภาวะ Stagflation ที่เงินเฟ้อสูงแต่เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้การใช้กลไกของดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถดำเนินการได้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขในวงจำกัด ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงลดลง แต่ยังต้องติดตามการระบาดในระยะต่อไป

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 2565 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท อาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปี และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้น หากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาด หรือหากข้อจำกัดด้านการผลิตขยายวงกว้างขึ้นไปสู่สินค้าประเภทอื่นๆ

อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย และยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง

 “กนง.ยังให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน จึงเห็นว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยซึ่งจะไปฉุดเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น ซึ่งการที่เงินเฟ้อโอกาสเกินกรอบ 3% ไปบ้างเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องชั่วคราว จากที่ผ่านมาเราจะคุ้นเคยกับการเกินกรอบด้านต่ำ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับกรอบนโยบายเงินเฟ้อทันที”

จากมิตินี้แสดงว่า กนง.ยังประเมินว่าเรื่องเงินเฟ้อจะเป็นปัญหาระยะสั้นและรับมือได้ จึงให้น้ำหนักการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่า.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research