ชู'อุตสาหกรรมแพทย์'บูมศก.

การระบาดของโควิด-19 อาจจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายประเทศเริ่มมองหาเครื่องยนต์ หรือแนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่างได้มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทรนด์ใหม่ๆ ที่มีความน่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และตอบสนองการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีกว่าเดิม จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ

โดยเฉพาะเทรนด์เกี่ยวกับ “สุขภาพ” ในมิติต่างๆ ที่เริ่มได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งหลายฝ่ายต่างก็เห็นตรงกันว่าเทรนด์อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพน่าจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ได้เป็นอย่างดี

 “ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS” ได้ชี้ให้เห็นถึงการยกระดับ 3 อุตสาหกรรมการแพทย์สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ จะช่วยหนุนไทยสู่เป้าหมายการเป็น Medical Hub และช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 8 แสนล้านบาทต่อปีในปี 2570 จากปัจจุบันที่มีมูลค่าประมาณกว่า 2 แสนล้านบาท ด้วยเพราะเป็นเทรนด์โลกที่จะเติบโตสูง คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในปี 2570

ทั้งนี้ “พชรพจน์ นันทรามาศ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า รัฐบาลมุ่งหวังที่จะผลักดันไทยก้าวเข้า Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศแล้ว ยังเพิ่มการจ้างงาน และเชื่อมโยงไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้อีกมาก โดยองค์ประกอบสำคัญที่ภาครัฐวางไว้ให้ขับเคลื่อนการเป็น Medical Hub ของไทย ได้แก่ 1.ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ (Medical Service Hub) 2.ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 3.ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (Product Hub) และ 4.ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub)

 “การเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็น 2 ใน 4 องค์ประกอบสำคัญที่ไทยมีศักยภาพ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาและยกระดับได้เร็ว รวมทั้งมีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นและเป็นเทรนด์ที่จะสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกในอนาคต ทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่องค์ประกอบที่เหลือได้ ซึ่งจะช่วยให้การเป็น Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบของไทยมีความเป็นไปได้มากขึ้น”

ด้าน “สุจิตรา อันโน” นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คือ 1.การต่อยอดอุตสาหกรรมยาจากผู้ผลิตยาชื่อสามัญสู่ฐานการผลิตในอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ซึ่งเป็นเทรนด์การผลิตยาที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดโลกสูงถึง 5.47แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 10.6% ต่อปี

2.การยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้มากขึ้น และจะส่งผลให้มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมนี้ของไทยมีโอกาสแตะระดับ 3.38 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่าแสนล้านบาท ในปี 2570 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 8.1% ต่อปี 3.การชูจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์เพื่อมุ่งสู่การเป็น World Class Medical Service Hub ซึ่งคาดว่ามูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง แตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 13.2% ต่อปี

อย่างไรก็ดี การเร่งหาโอกาส การปรับตัวเพื่อรองรับและเร่งขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยกลับมาโตได้อย่างเต็มศักยภาพหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายถือเป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของรัฐบาล ซึ่ง “อุตสาหกรรมการแพทย์” ถือเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของประเทศไทย และจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองอุตสาหกรรมใหม่ในการช่วยสร้างและต่อยอดการเติบโตในอนาคตให้กับเศรษฐกิจไทย.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research