โชว์โอกาสปรับตัวกลางวิกฤต

ภายใต้ความกดดันของสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่งผลให้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมหลักของโลกอย่าง “รถยนต์” ที่ใช่ว่าก่อนหน้านี้จะได้รับความนิยมและสร้างเม็ดเงินมากมาย เมื่อเกิดวิกฤตแล้วจะลอยตัวอยู่เหนือปัญหา ไม่ใช่เลย เนื่องจากเมื่อขนาดของอุตสาหกรรมใหญ่มากเท่าไหร่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะขยายวงกว้างเท่านั้น และจากเหตุการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมาก็ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

โดย นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ออกมากล่าวว่า ปี 2564 ถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจและสังคมไทยเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์โควิด-19 โดยส่งผลต่อเนื่องมาถึงยอดขายของโตโยต้าในปี 64

ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 239,723 คัน หรือลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เช่น ปัญหาชิปขาดตลาด ด้วยเหตุนี้ยอดขายรวมภายในประเทศจึงอยู่ที่ราว 759,119 คัน หรือลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งหากว่ากันตามตรงถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็อยู่ภายใต้ความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์กำลังจะก้าวเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย

ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2565 ยังเป็นไปได้ว่าโควิด-19 จะยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แต่อย่างไรก็ดีก็คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด นอกจากนี้ประชาชนเองก็เรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ให้ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ส่วนปัญหาชิ้นส่วนการผลิตขาดตลาดก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน ซึ่งคาดหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะกลับคืนสู่สภาวะปกติ

ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ แสดงถึงความชัดเจนว่าอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ก็ยังได้รับผลกระทบ และยังมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันนั้นในช่วงที่เกิดความกังวลดังกล่าวก็ยังถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ภาคการผลิตจะมีโอกาสได้ปรับตัวให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมถึงยังสามารถดำเนินงานไปในแนวทางใหม่ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการปรับตัวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ซึ่งในส่วนของโตโยต้าเองก็มีความชัดเจนเรื่องนี้มาโดยตลอด และอาศัยความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้เสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้กับสังคม โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จภายในปี 2593 และเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2564 นายอากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศไว้ว่า โตโยต้ามีกลยุทธ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลยุทธ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ครบทั้ง 30 รุ่นภายในปี 2573 ซึ่งทุ่มเงินลงทุน 1.2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยที่เงิน 0.6 ล้านล้านบาทนั้นเป็นการลงทุนด้านแบตเตอรี่ และยังลงทุนอีก 1.2 ล้านล้านบาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง

 “เรายังเชื่อมั่นว่าหากเราสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สำเร็จ ก็แปลว่าเราได้สร้างโลกใบที่ทุกคนอาศัยอยู่นั้นให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข เราอยากมีส่วนช่วยสร้างโลกแบบนั้นให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามเราอาศัยอยู่บนโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย อีกทั้งยังอยู่ในยุคสมัยที่คาดเดาอนาคตได้ยาก ดังนั้นการตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนให้ได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวเลือกที่มีเพียงหนึ่งเดียวนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โตโยต้าจึงมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอตัวเลือกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั่วโลก”

จากปัญหาเศรษฐกิจนี้ แสดงให้เห็นว่าแม้กลุ่มอุตสาหกรรมจะใหญ่หรือเป็นที่นิยมแค่ไหนก็สามารถได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นช่องทางในการปรับตัวให้สามารถเดินหน้าได้ต่อ และเป็นอีกเครื่องมือที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคได้ รวมทั้งยังหวังผลการเติบโตของธุรกิจได้ในอนาคตอีกด้วย. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research