เสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมจับตาดู 2 จุดสำคัญเพื่อจับชีพจรการเมืองตึงเครียดระหว่างประเทศ
ตาหนึ่งมองไปที่ยูเครน ตาอีกข้างเหลียวดูปักกิ่ง เพราะปูตินบินตรงไปปักกิ่งเพื่อจับมือ สี จิ้นผิง...ภาษาทางการคือการไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกส์ฤดูหนาวของจีน แต่สาระจริงๆ คือการแสดงความเป็น “สหายร่วมรบ” ที่ต้องการจะยัน โจ ไบเดน อย่างเปิดเผยโจ่งแจ้ง
ปูตินกับสีออกแถลงการณ์ร่วมที่ปักกิ่งยาวเหยียด ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันลุ่มลึกและกว้างขวางของทั้งสอง
โดยเฉพาะต้องการเน้นว่าพร้อมจะจับมือต้านอิทธิพลตะวันตกอย่างแข็งขัน
ต่อมาอีกหนึ่งวัน “วอชิงตันโพสต์” ออกข่าวว่ารัสเซียใกล้จะเสร็จสิ้นการเตรียมการสำหรับการรุกรานยูเครนครั้งใหญ่แล้ว
ข่าวชิ้นนี้อ้าง “ข่าวกรองสหรัฐฯ” ว่า หากรัสเซียบุกยูเครนตามการประเมินนี้อาจส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิต หรือบาดเจ็บมากถึง 50,000 คน
รัฐบาลยูเครนที่กรุงเคียฟอาจล่มภายใน 2 วัน และเปิดทางให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมกับผู้ลี้ภัยมากถึง 5 ล้านคน
ข่าวกรองที่ว่านี้ยืนยันว่ารัสเซียยังคงเสริมกำลังหน่วยรบไปยังชายแดนยูเครนและเบลารุสไม่ขาดสาย
วอชิงตันโพสต์อ้างว่าแหล่งข่าวอย่างน้อย 7 แหล่งยืนยันตรงกันว่า รัสเซียได้ส่งกลุ่มยุทธวิธี 83 กองพัน แต่ละกองพันมีทหารประมาณ 750 นาย เตรียมพร้อมสำหรับการจู่โจม
2 สัปดาห์ก่อนข่าวกรองแหล่งเดียวกันนี้บอกว่ามี 60 กองพันเท่านั้นที่มุ่งสู่ชายแดนยูเครน
ทหารกว่า 62,000 นาย ได้รับการเสริมกำลังด้านการขนส่งและโลจิสติกส์อีกกว่าหมื่นคนทั้งด้านกำลังทางอากาศ และการสนับสนุนทาง
ข่าวกรองมะกันบอกว่า กำลังทั้งหมดนี้เท่ากับ 70% ของหน่วยรบที่ปูตินต้องการเพื่อการรุกใหญ่เข้ายูเครน
อีกด้านหนึ่งผมมองไปที่ปักกิ่งในช่วงเวลาเดียวกัน...วันศุกร์ที่ผ่านมาระหว่างการเยือนกรุงปักกิ่งของปูตินมีการออกแถลงการณ์ร่วมยาวเหยียด
สะท้อนถึง “จุดยืนร่วม” ของ 2 ผู้นำในประเด็นสำคัญระดับโลก รวมถึงการวิจารณ์สหรัฐฯ และพันธมิตรอย่างรุนแรง
ก่อนบินลงปักกิ่ง ปูตินเขียนบทเรียกความสัมพันธ์รัสเซีย-จีน เรียกว่าเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งอนาคต”
ปูตินได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ 4 ด้านที่สำคัญสำหรับปักกิ่งและมอสโก
ประการแรก ความเป็นหุ้นส่วนที่ถูกยกระดับไปถึงจุดที่ไม่เคยมีมาก่อน
กับการประสานงานของนโยบายต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศอยู่บนพื้นฐานของแนวทางที่ใกล้ชิดและสอดคล้องกันในการแก้ไขปัญหาระดับโลกและระดับภูมิภาค
ประการที่สอง เน้นบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ “ที่ท้าทาย” ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเพื่อให้มีความเท่าเทียมและครอบคลุมมากขึ้น
ประการที่สาม ปูตินชี้การพัฒนาตะวันออกไกลจะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ
ประการที่สี่ ปูตินวิพากษ์วิจารณ์ความพยายามของหลายประเทศในการพยายามทำให้กีฬาเป็นการเมืองเพื่อประโยชน์ของความทะเยอทะยานของตน
แถลงการณ์ร่วมปูติน-สีจงใจใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร:ตอนหนึ่งชี้นิ้วไปที่ “ผู้แสดงบางคนเป็นตัวแทนแค่เสียงส่วนน้อยในระดับสากลที่ยังคงสนับสนุนแนวทางเฉพาะตนในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ...และหันไปใช้กำลัง
“พวกเขาเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่นๆ ด้วยการละเมิดสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรม และปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้ง ความแตกต่างและการเผชิญหน้า ซึ่งขัดขวางการพัฒนาและความก้าวหน้าของมนุษยชาติในการต่อต้านการต่อต้านจากประชาคมระหว่างประเทศ”
ที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่ใช้ในแถลงการณ์ฉบับนี้ตอนหนึ่งบอกว่า “ประชาธิปไตยถูกนำมาใช้ในทุกด้านของชีวิตสาธารณะอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการระดับประเทศ'
โดยเน้นว่ารัสเซียและจีนเป็นมหาอำนาจโลกที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันรุ่มรวย มีประเพณีอันยาวนาน
และวิจารณ์ความพยายามของบางประเทศในการกำหนด "มาตรฐานประชาธิปไตย" ของตนเองไปใช้กับประเทศอื่นๆ เพื่อผูกขาดสิทธิในการประเมินระดับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ประชาธิปไตย กำหนดเส้นแบ่งตามมูลอุดมการณ์ รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มและพันธมิตรพิเศษของความสะดวก
“ทำให้เห็นว่าความพยายามเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การสถาปนาอำนาจและคุกคามสันติภาพและเสถียรภาพของระเบียบโลก”
ที่น่าวิเคราะห์ไม่น้อยคือ ประเด็นที่ผู้นำรัสเซียและจีนชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนา Greater Eurasia และโครงการ Belt Road Initiative (BRI)
รัสเซียตอกย้ำถึงการสนับสนุนหลักการ "จีนเดียว" และยืนยันว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
ทั้งปูตินและสีไม่ลืมที่จะโจมตี NATO และ AUKUS อย่างดุเดือด
ประกาศคัดค้านการขยายสมาชิกภาพของ NATO และ “เรียกร้องให้พันธมิตรแอตแลนติกเหนือละทิ้งแนวทางสงครามเย็น...”
แถลงการณ์ร่วมพูดถึงผลกระทบด้านลบของสหรัฐฯ ที่ประกาศ "ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก" ต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
และแสดงความกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับ 'หุ้นส่วนความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรภายใต้ AUKUS โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจเริ่มต้นความร่วมมือในด้านพลังงานนิวเคลียร์เรือดำน้ำ
ผมมอง 2 เหตุการณ์ที่โยงกันอย่างลึกซึ้งแล้วก็เห็นสัญญาณของความตึงเครียดที่กำลังก่อตัวอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง
สงครามเย็น 2.0 นี่ร้อนแรงกว่ารอบแรกมากมายนัก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ