โลกปัจจุบันกำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (climate change) ที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ที่ต้องดูแลผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในทุกมิติ ทั้งในด้านการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจแห่งอนาคตที่มุ่งสู่การบริหารจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability แต่อาจไม่มีความหมายอะไรเลยหากไม่ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจริงจังด้วย เพราะมิติต่างๆ บนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อโลกกำลังประสบปัญหาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ที่อาจจะส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ความยั่งยืนจึงกลายเป็นแนวทางการบริหารของทุกประเทศทั่วโลก ที่ยังคงต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน อย่าง บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA ดำเนินงานโดยมีหลักคิดในการคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆ มิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง
ซึ่ง วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด AMATA ระบุว่า การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน เป็นอีกเป้าหมายสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ทำให้อมตะฯ ก้าวสู่ระดับเวิลด์คลาส หรือการเดินตามแผนการพัฒนาความยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยการดำเนินโครงการฯ เป็นความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีความตื่นตัวในการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง และมองเห็นคุณค่าของน้ำเสียว่าสามารถนำมาบำบัดหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ทดแทนแหล่งน้ำจากธรรมชาติหรือน้ำประปา และการอยู่ร่วมกันกับชุมชนรอบนิคมฯ โดยมีแนวทางและแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม อมตะฯ ได้ร่วมกับบริษัทในเครือและเอกชน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ภายใต้การดำเนิน โครงการ “พัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน” ระยะที่ 2 โดยขยายพื้นที่การพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำเสีย ขยะ คลองสาธารณะในชุมชนพื้นที่รอบนิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อใช้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ก่อนถ่ายทอดสู่ชุมชนอื่นๆ รอบนิคมฯ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานโครงการต่อเนื่องครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งระบบ ครบทุกพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561-2563 ในพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองตำหรุ ของเทศบาลตำบลหนองไม้แดง เป็นพื้นที่กลางน้ำซึ่งเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำและขยะในพื้นที่ได้ดีขึ้นประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจในช่วงที่ผ่านมา
ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการดำเนินงานโดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2565-2566 โดยได้คัดเลือกพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองหัวทองหลางซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 เป็นพื้นที่ปลายน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันขาดการบำรุงรักษาส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง และระยะที่ 3 อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาซึ่งคาดว่าจะดำเนินการในพื้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ พื้นที่ตำบลพานทอง-หนองกะขะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในแผนการสร้างชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน
โครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายปฏิบัติการร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ของอมตะฯ สู่ชุมชน โดยนำหลักการบริหารจัดการน้ำ ตามหลัก 3Rs การลดการใช้ (Reduce), การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse), การนำมากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ฯลฯ มาเป็นแนวทางในดำเนินโครงการ ตามภารกิจของอมตะฯ ที่มุ่งมั่นจะรักษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องขึ้นกับความร่วมมือและจิตสำนึกของทุกภาคส่วนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ความรับผิดชอบและสามัญสำนึกของแต่ละคนว่าจะมีกันแค่ไหน จะมีกันแค่ตามกระแสแบบโลกสวย หรือจะทำกันอย่างยั่งยืน.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research