เกาะติดสัญญาณธุรกิจยานยนต์

ดูเหมือนว่า ผู้บริหารอุตสาหกรรมยานยนต์จะค่อนข้างมองบวกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์นี้จะยังคงเติบโต และมีผลกำไรต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยที่ส่วนแบ่งตลาดจากยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles - EV) จะเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในปี 2573 แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อน่ากังวลในด้านห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าจากรายงาน Annual Global Automotive Executive Survey ครั้งที่ 22 ของเคพีเอ็มจี ที่ได้ทำการสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทั้งหมด 1,118 ราย พบว่า 53% มั่นใจว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีผลกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยมีเพียง 38% ที่มีความกังวลเรื่องการทำกำไร ขณะเดียวกันผู้บริหารสูงสุดขององค์กร หรือ CEO จำนวน 372 ราย มีความมั่นใจในด้านต่างๆ นอกเหนือจากความสามารถในการทำกำไร เช่น ความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในเรื่องนี้ นายแกรี ซิลเบิร์ก หัวหน้าฝ่ายยานยนต์ เคพีเอ็มจี ระบุไว้ว่า ผู้ผลิตยานยนต์แทบจะไม่เคยเผชิญการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจที่มากเช่นนี้มาก่อนตั้งแต่อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 130 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่บินได้ บริการเช่ารถระยะยาว สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีอยู่อย่างแพร่หลาย อีกทั้งบริษัทเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งหมดนี้คือการพัฒนาบางส่วนที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 10 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกอย่างจะราบรื่น ผู้บริหารยังคงมีข้อกังวลในอีกหลายประเด็นที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในด้านราคา และความสามารถในการจัดหาส่วนประกอบในการผลิตยานยนต์ที่สำคัญต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยผู้บริหารกว่า 50% มีความกังวลมากถึงมากที่สุดเกี่ยวกับการจัดหาส่วนประกอบที่สำคัญที่มีอยู่อย่างจำกัดเหล่านี้ ผู้บริหารประมาณ 55% ยังมีข้อกังวลมากถึงมากที่สุดในด้านการขาดแคลนแรงงานอีกด้วย

องค์กรมีความพร้อมในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น และเตรียมรับมือกับการขาดแคลนแรงงานแล้วหรือไม่ คำถามเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องเร่งหาแนวทางในการดำเนินการ โดยผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันเพื่อช่วงชิงพนักงานที่มีศักยภาพสูงทั้งจากภายในและภายนอกอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยอีกหลายปีนับจากนี้จะได้เห็นผู้บริหารทุ่มเทเวลาเพื่อเร่งแก้ปัญหาที่เกิดจากความเสี่ยงเหล่านี้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่ว่า ส่วนแบ่งตลาดของ EV จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดเป็นเท่าใดแต่ความนิยมในการใช้ EV ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนในสถานีชาร์จไฟฟ้า ซึ่งผู้บริหาร 77% คาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะต้องการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีในการชาร์จไฟระหว่างการเดินทาง ซึ่งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่าความนิยมในการใช้ EV ขึ้นอยู่กับราคา EV ที่จะเท่ากับราคารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันในช่วงใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่เชื่อว่าจะมีการใช้งาน EV อย่างแพร่หลายได้แม้ว่าจะไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลคิดเป็น 77% แต่เกือบทั้งหมดยังคงสนับสนุนให้มีโครงการช่วยเหลือจากภาครัฐคิดเป็น 91%

แน่นอนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังหล่อหลอมรวมกัน ซึ่งนำไปสู่พันธมิตรและผู้เล่นรายใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยผู้บริหารเชื่อว่าบริษัทเทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยผู้บริหาร 78% เห็นด้วยว่าในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงวิธีการซื้อขายรถยนต์จะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเชื่อว่าภายในปี 2573 รถยนต์ส่วนใหญ่จะถูกซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และประมาณ 3 ใน 4 คาดการณ์ว่ารถยนต์มากกว่า 40% จะถูกซื้อขายโดยตรงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง และจากการก้าวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่มี โดย 43% คาดการณ์ว่าผู้ผลิตรถยนต์จะขายข้อมูลเหล่านี้ให้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร