ถึงเวลาอัปเกรดกิจการ

เปิดปีใหม่มาได้หนึ่งเดือน แต่ทั้งเศรษฐกิจและสังคมก็ยังต้องเป็นกังวลอยู่กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งก็ยังเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้การเติบโตในด้านต่างๆ ชะลอตัวลง รวมถึงภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่หลายๆ กลุ่มการผลิตจะต้องปรับตัว หรืออาจจะหยุดชะงักไปบ้าง ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่บริษัทสามารถใช้โอกาสในครั้งนี้มาปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆ ของกิจการที่ดำเนินการอยู่ให้ดีขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ที่หลายหน่วยงานหยิบยื่นให้

รวมถึงมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการพิเศษที่ออกมาเพื่อยกระดับกระบวนการทำงานต่างๆ ในภาคการผลิตและภาคบริการ

รวมถึงการสร้างความพร้อมในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมและบริการ เช่น การนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต การดำเนินการให้ได้มาซึ่งมาตรฐานการรับรองต่างๆ เพื่อความยั่งยืนในระดับสากล เช่น ISO, GMP, FSC เป็นต้น

และนับเป็นมาตรการพิเศษที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยทางบีโอไอเองก็ชู 5 มาตรการย่อยขึ้นมา ได้แก่ มาตรการที่ 1 ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน มาตรการที่ 2 ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เช่น การนำเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์มาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่นำระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิตเดิม มาตรการที่ 3 ด้านการวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

เช่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการประหยัดการใช้วัตถุดิบ และพนักงาน ด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม มาตรการที่ 4 ด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล เช่น การจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการสร้างมาตรฐานในระดับสากล เพื่อช่วยให้สินค้าสามารถจำหน่ายในตลาดโลกได้ บีโอไอจึงอยากส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยขอรับการส่งเสริมฯ ในมาตรการดังกล่าวให้มากขึ้น 

และมาตรการที่ 5 ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับกระบวนการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เช่น การนำซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรของกิจการ ยกเว้นประเภทกิจการที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้ว เช่น กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ Cloud Service และ Data Center เป็นต้น

ทั้งนี้ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเป็นมาตรการที่เปิดกว้างสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เพียงเป็นประเภทกิจการในกว่า 400 ประเภทที่บีโอไอให้การส่งเสริมฯ ก็สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ ทั้งนี้บีโอไอกำหนดขนาดการลงทุนในการปรับปรุงไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท/โครงการ หรือ 500,000 บาท/โครงการ สำหรับเอสเอ็มอี (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) โดยผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะได้รับรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สัดส่วน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงและยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร นอกจากนี้มาตรการนี้สามารถยื่นขอซ้ำมาตรการย่อย 5 ด้านได้ และยื่นขอรับการส่งเสริมได้ถึงวันทำการสุดท้ายเดือน ธ.ค.2565

เชื่อว่า มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพจะเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการให้กับกิจการของตัวเองในช่วงที่การผลิตลดลงหรือหยุดชะงักได้ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบีโอไอ ทำให้ผู้ประกอบการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ผลิตสู่สากล เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันให้ไปต่อได้.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research