เศรษฐกิจหลังเปิดประเทศ

อีกเพียงไม่กี่วันก็จะมีการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่ต้องกักตัวกันแล้ว ในตอนนี้นักท่องเที่ยวเองก็รอความชัดเจนของระเบียบและกฎเกณฑ์ในการเดินทางเข้าประเทศไทย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้บูม! หรือกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วได้เสียทีเดียว เพราะยังมีอีกหลายเงื่อนไขที่อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว หรือการตัดสินใจของนักเดินทาง
    ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม มีข้อสรุปสำคัญ คือ เตรียมพิจารณาแนวทางการเปิดประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศว่าวันที่ 1 พฤศจิกายน จะเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ เดินทางเข้าไทยโดยไม่ต้องกักตัว ไม่จำกัดพื้นที่ หากมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกันตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม ปรับลดเวลาเคอร์ฟิวเป็น 23.00-03.00 น. และผ่อนคลายกิจกรรมเพิ่มเติม อาทิ การจัดงาน การประชุม โดยขยายจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแต่ละระดับพื้นที่

โดย วิจัยกรุงศรีรายงานว่า แม้มีการเปิดประเทศต้นเดือนพฤศจิกายนเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่ต้องกักตัว และผ่อนคลายมาตรการควบคุม แต่คาดว่าระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมภายในสิ้นปีนี้ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการระบาดราว 6%
    แน่นอนว่า การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มเติมแม้คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการมากขึ้น และช่วยลดความเสียหายทางเศรษฐกิจลงได้บ้าง แต่อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการปรับขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในช่วงที่เหลือของปียังจำเป็นต้องทำด้วยความระมัดระวังไปพร้อมกับการเสริมด้วยมาตรการอื่นๆ อาทิ การสื่อสารที่ชัดเจน การสวมหน้ากาก การใช้ระบบติดตามผู้ป่วย และการเร่งฉีดวัคซีน
    วิจัยกรุงศรียังระบุอีกว่า ในส่วนของมาตรการเปิดประเทศที่จะเริ่มขึ้นในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เบื้องต้นทางการระบุประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร เยอรมนี จีน และสิงคโปร์ เป็นต้น โดยจะเปิดรับเข้าสู่ประเทศแบบไม่ต้องกักตัว ภายใต้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาทิ ฉีดวัคซีนครบโดส มีการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางและเมื่อถึงไทย
    อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการหรือนโยบายของประเทศต้นทางเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวหลักจากจีนที่นับว่ามีสัดส่วนสูงเกือบ 28% ของภาคท่องเที่ยวไทย ทั้งในด้านจำนวนและการสร้างรายได้แก่ประเทศ ซึ่งปัจจุบันทางการจีนยังคงมีมาตรการคุมเข้มการเดินทางระหว่างประเทศ โดยไม่อนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
    ขณะที่ สหรัฐและสหภาพยุโรปประกาศเตือนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมาไทยเนื่องจากเป็นพื้นที่การระบาดยังมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น มาตรการหรือนโยบายของประเทศต้นทางจึงอาจเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะอันใกล้นี้
    วิจัยกรุงศรีประเมิน แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มเติม และมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัว แต่คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมภายในสิ้นปีนี้จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 อยู่ประมาณ 6% โดยคำนวณจากการใช้ข้อมูลความถี่เร็ว ได้แก่ ความเข้มงวดของมาตรการ ความเข้มงวดของมาตรการที่เกิดขึ้นจริง เครื่องชี้เร็วด้านการเดินทาง และความนิยมในการค้นหา เพื่อสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการคาดการณ์ทิศทางของการค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และกิจกรรมท่องเที่ยว
    โดยพบว่าภายในสิ้นปีนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าปลีกจะกลับมาอยู่ที่ 94.9% และ 92.3% ของระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ตามลำดับ ขณะที่กิจกรรมท่องเที่ยวจะอยู่เพียงแค่ 57.9% ของระดับก่อนวิกฤตโควิด-19 เท่านั้น และเมื่อคำนวณดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมแล้วพบว่า ณ สิ้นปีนี้จะมีค่าอยู่ที่ 94.4% ของระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิดอีกด้วย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร