เมื่อไทยเข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยสมบูรณ์

ผมเป็นหนึ่งใน “สังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบ”

ดังนั้นจึงต้องใส่ใจกับนโยบายและแนวทางของรัฐบาลและทิศทางของสังคมต่อคนกลุ่มนี้

ที่เคยเชื่อกันว่าคนอายุเกิน 60 เป็นผู้ไร้ประโยชน์ ไม่ช่วยสร้างเศรษฐกิจของชาติ เป็นภาระของสังคม ต้องให้คนอายุน้อยกว่าเลี้ยงดู เป็นภาระต่องบประมาณของแผ่นดินไม่น่าจะเป็นจริง

ขณะเดียวกันก็มีชาร์ตที่แสดงว่าปี 2564 ที่ผ่านมานั้นมีเด็กเกิดใหม่น้อยกว่า 5 แสนคน ถือว่าต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร ผอ.ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้โพสต์ภาพและข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Por Tunyawat

เป็นภาพกราฟแสดงจำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยปี 2536-2564 โดยในกราฟพบว่าจำนวนการเกิดของเด็กมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่น้อยกว่า 5 แสนคน โดย ดร.ธันยวัตระบุข้อความว่า

"ดิ่งกว่ามูลค่าเหรียญคริปโต ก็จำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยนี่ล่ะ ปี 2564 ที่ผ่านมา จำนวนการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ ตัวเลขนี้น่ากลัวและแนวโน้มของกราฟคงไม่ดีขึ้นแน่ นอกจากนี้ปีที่ผ่านมาอัตราการตายสูงกว่าอัตราการเกิดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วย คาดการณ์ไม่ถูกเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต" อีกต่อไป

หากแนวโน้มเป็นเช่นนี้จริง คำว่า “สังคมสูงวัย” สำหรับไทยก็เข้าสู่สภาพความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไป

ในแง่บวก เทคโนโลยีและมาตรฐานสาธารณะที่ถูกยกระดับขึ้นมาตลอดเวลาทำให้คนสูงอายุไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็น “พลังสังคม” ยุคดิจิทัลได้

หากได้รับโอกาสการเรียนรู้ ปรับทักษะและสร้างชุมชนในรูปแบบที่ทันสมัย คำว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” ก็มีความหมายในยุคนี้ได้เช่นกัน

เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.วิชัย โชควิวัฒนประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และรองประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติฯ เผยว่าไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (กผส.) โดยสมบูรณ์แล้ว

ท่านบอกว่าปีใหม่นี้เตรียมเดินหน้าผลักดันนโยบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 'เบี้ยยังชีพ'

และโครงการปรับบ้านผู้สูงอายุให้ปลอดภัย ให้ผู้สูงวัยพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุภายในประเทศไทยว่า ปีนี้เป็นปีที่ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) แล้ว กล่าวคือ

มีผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนราว 20% ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งประเทศไทยมีการเตรียมตัวเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน

โดยเริ่มตั้งแต่การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปี 2525

กระทั่งในปีเดียวกันมีแผนผู้สูงอายุระยะยาว 20 ปี

และดำเนินการเรื่อยมาจนจะหมดแผนผู้สูงอายุระยะยาวฉบับที่ 2 แล้ว

ถือว่าได้เตรียมการมานานเป็นเวลา 40 ปี

ในช่วงเวลาระหว่างนั้น ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2534 เริ่มจ่ายเบี้ยยังชีพจริงราวปี 2535

โดยเริ่มจากคนยากไร้ ก่อนจะมีสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และพัฒนามาเป็นแบบขั้นบันไดตามลำดับ

คุณหมอวิชัยบอกว่า เรื่องผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ทุกคนทุกกลุ่มให้ความสนใจ เพราะเป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือ

สำหรับนโยบายที่จะขับเคลื่อนเพื่อดูแลผู้สูงอายุในปี 2565 ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์นี้ ในฐานะที่ตนเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของผู้สูงอายุ จะยังคงส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังสังคมให้มากที่สุด เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และลดการพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งนี่เป็นหลักการสำคัญใหญ่ๆ

ในด้านวิธีการนั้น จะต้องวางแผนกลไกทางกฎหมาย การเงิน และสังคมให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว

อาทิ การเดินหน้าผลักดันนโยบายการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุให้ได้รับอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่ง นพ.วิชัยเป็นรองประธานเอง

คณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนที่ 1 ทำหน้าที่แก้ไขร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ....เพื่อแก้ไขปัญหาการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ กรณีถูกเรียกเงินคืนย้อนหลังจากข้อกฎหมายที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกัน ให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและเป็นธรรม สามารถพึ่งพาตนเองได้

ล่าสุดมีข้อเสนอให้จัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุพิจารณาจากค่าแรงขั้นต่ำ และระหว่างนี้อยู่ระหว่างการรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และรัฐสภาพิจารณาต่อไป

รวมถึงจะยังให้การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอยู่ภายในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

ผ่านโครงการปรับบ้านผู้สูงอายุให้ปลอดภัย ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

เช่น การปรับห้องสุขาจากส้วมนั่งยองให้เป็นโถสุขภัณฑ์ หรือการจัดห้องนอนใหม่ให้อยู่ชั้นล่าง

หรือปรับพื้น ราวบันไดเพื่อลดการหกล้ม แทนการสร้างสถานสงเคราะห์ที่อาจทำให้ครอบครัว สังคมอ่อนแอลงเรื่อยๆ และใช้งบประมาณมากกว่าหลายเท่าตัว

ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ใช้งบประมาณในการพัฒนาสถานสงเคราะห์มากกว่า 4 ล้านล้านบาท

ขณะที่ประเทศไทยมีงบประมาณทั้งประเทศ 3 ล้านล้านบาทเท่านั้น

คำว่า “ช่องว่างระหว่างวัย” จะกลายเป็น “การประสานความคิดและกิจกรรมระหว่างวัย” หากรัฐบาลและเอกชนกับสังคมไทยร่วมกันแปรสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นวิกฤตกลายเป็นโอกาสในยุคที่เทคโนโลยีทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ