โลกร้อนส่งผลต่อรายงานการเงิน

ดูเหมือนว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อรายงานทางการเงินในอนาคต โดยที่ผ่านมามีข้อมูลจาก PwC ประเทศไทย ระบุว่า หลังประชาคมโลกออกกฎเกณฑ์เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น การซื้อคาร์บอนเครดิตที่อาจส่งผลต่อการด้อยค่าสินทรัพย์ หรือเครื่องมือทางการเงินสีเขียวที่อาจส่งผลต่อการลงบัญชี จึงอยากจะแนะนำผู้ประกอบการทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยงของการกำหนดเป้าหมายรักษ์โลกที่มีต่อรายงานทางการเงินขององค์กร เพื่อสามารถวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

นางสาวสินสิริ ทังสมบัติ หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชีและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทั่วโลกต่างตื่นตัวในเรื่องของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกำลังทำงานร่วมกัน เพื่อเดินหน้าไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสานต่อพันธกิจของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) ที่ประชาคมโลกได้มีการทำความตกลงเรื่องเป้าหมายและมาตรการต่างๆ ในการพยายามควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

แน่นอนว่าภาวะโลกร้อนนอกจากจะส่งผลกระทบทางกายภาพ การออกกฎระเบียบต่างๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้ว ยังจะส่งผลกระทบกับงบการเงินด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้มีการเผยแพร่เอกสารทางการศึกษา ซึ่งพูดถึงประเด็นทางบัญชีต่างๆ เช่น พันธกิจในการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือการซื้อคาร์บอนเครดิตที่อาจส่งผลต่อการด้อยค่าสินทรัพย์ และการออกเครื่องมือทางการเงินที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องทำการศึกษาถึงรายละเอียดและผลกระทบที่อาจมีต่องบการเงิน ก่อนที่จะกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใดๆ

ขณะเดียวกันภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้เกิดข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าของสินทรัพย์ในบางธุรกิจ โดยทำให้กิจการจะต้องทำการทดสอบการด้อยค่า เช่น รัฐบาลในบางประเทศอาจมีการกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ซึ่งหากมีการปล่อยก๊าซพิษเกินกำหนดจะต้องมีการซื้อคาร์บอนเครดิตจากตลาด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หรือกรณีพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการในสินค้าบางประเภทลดลง เช่น แนวโน้มของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้น กิจการต้องประเมินว่าเครื่องจักรต่างๆ จะสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่ครอบคลุมมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือไม่ เป็นต้น 

จากหลายๆ ประเด็นกิจการจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่มีการกำหนดเงื่อนไขเชื่อมโยงกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย โดยปัจจุบันมีเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหนี้สีเขียว และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ที่อ้างอิงจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกิจการ ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวกิจการจะต้องเข้าใจถึงเหตุผลของการเชื่อมโยงของอัตราดอกเบี้ยกับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นเพราะเหตุใด 

สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วย เช่น มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินค้าคงเหลือลดลงหรือไม่ จากการที่ต้นทุนผลิตสูงขึ้น หรือการลดลงของราคาสินค้า เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการของสินค้าลดลง และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะได้ใช้หรือไม่ หากกำไรในอนาคตมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน เป็นต้น

ในระยะถัดไป ภาวะโลกร้อนจะยิ่งกลายเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับทุกๆ องค์กร และหน่วยงานธุรกิจที่ต้องหันมากำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลก และต้องสร้างผลกำไรอย่างมีสำนึกรับผิดชอบ บนพื้นฐานของการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร