ผมอ่านหนังสือว่าด้วยผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกหลายเล่มแล้ว แต่หนังสื่อเล่มนี้ที่มีชื่อ Aftershocks วิเคราะห์หัวข้อที่ผมสนใจมาตลอด
นั่นคือโควิดจะสร้างความเปลี่ยนแปลงใน “ระเบียบโลก” ทางการเมืองและความมั่นคงอย่างไร
หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์ว่า วิกฤตการณ์โควิด-19 สร้าง “ความตื่นตระหนกครั้งใหญ่ที่สุดต่อระเบียบโลกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2” เพราะมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตหลายล้านคน นำมาซึ่งความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่ถือได้ว่าเป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดการณ์ว่าจะต้องใช้ความมั่งคั่งทั่วโลกมากกว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์ ในอีกหลายปีข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหาอันหนักหนาสาหัสนี้
ผู้คนจำนวนมากจะถูกทิ้งให้ยากจนและหิวโหย รัฐที่เปราะบางจะยิ่งเจอกับวิกฤตทับซ้อนลึกเข้าไปอีก ทำให้เกิดเงื่อนไขที่สุกงอมสำหรับความขัดแย้งและการพลัดถิ่นจำนวนมหาศาล
ในขณะเดียวกัน สถาบันระหว่างประเทศและพันธมิตรที่อยู่ภายใต้ความตึงเครียดก่อนที่การระบาดใหญ่จะสั่นคลอนและที่ชัดเจนก็คือสหรัฐฯ และจีน ซึ่งอยู่ในภาวะเผชิญหน้ากันในหลายๆ มิติก่อนเกิดวิกฤตโควิดก็กำลังมุ่งไปสู่ “ภาวะสงครามเย็นครั้งใหม่”
ไม่ว่า สี จิ้นผิง จะพยายามยืนยันว่า ปักกิ่งไม่ต้องการเห็น “สงครามเย็นรอบใหม่” เพียงใดก็ตาม จีนมีความแน่วแน่ที่จะฝ่าวิกฤตโควิดและกลายเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่รับผิดชอบในระเบียบระหว่างประเทศ”
Aftershocks เป็นผลงานของ Colin Kahl และ Thomas Wright ที่พยายามเจาะลึกเข้าถึงปรากฏการณ์ระดับโลกที่กำลังถูกโควิดปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่
อะไรจะทำให้โลกหลังโควิดกลายเป็นโลกใบใหม่ที่กติกาต้องเปลี่ยนไป
ใครเป็นผู้แพ้ผู้ชนะสงครามโควิด ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกากับจีน ใครได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการเผชิญกับภัยพิบัติสาธารณสุขครั้งใหญ่นี้มากกว่ากัน
ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ของจีน ใครสามารถผ่านการทดสอบของวิกฤตระดับโลกครั้งนี้มากกว่ากัน
นี่เป็นวิกฤตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่พิสูจน์ว่าโลกไม่ได้พึ่งพาเฉพาะความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ที่กำลังลดความสำคัญลงทุกขณะ
และวิกฤตครั้งนี้พิสูจน์ว่า เมื่อเผชิญกับวิกฤตจริงๆ ประเทศต่างๆ ก็ใช้นโยบาย “ตัวใครตัวมัน” อย่างปฏิเสธไม่ได้
ทุกประเทศต่างเอาตัวรอด ยื้อแย่งวัคซีน, ปิดพรมแดน, สกัดการเดินทางเข้า-ออกของผู้คน และทำให้ระบบ logistics หรือการเดินทางขนส่งของโลกต้องมีอันเป็นอัมพาตไปต่อหน้าต่อตา
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและนักวิเคราะห์ข่าวกรองเตือนมานานนับทศวรรษว่า การระบาดใหญ่เช่นนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ดูเหมือนจะไม่มีผู้นำการเมืองประเทศไหนยอมรับฟังหรือนำไปพิจารณาเพื่อวางยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง
วิกฤตการณ์นี้ปะทุขึ้นท่ามกลางการก่อตัวของลัทธิชาตินิยมที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่ากลัว
สิ่งที่แสดงตนอย่างชัดเจนคือ
ระบอบประชาธิปไตยที่เสื่อมถอย
ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อรัฐบาลของตนเองที่หดหาย การกบฏต่อความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ การแข่งขันด้านอำนาจของยักษ์ใหญ่ที่ฟื้นคืนชีพ และความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย
แต่ก็ยังพอมีสัญญาณของความหวังบ้าง เช่น วิกฤตการณ์ COVID-19 ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความเป็นมนุษย์และชะตากรรมร่วมกัน ประชาชนส่วนใหญ่ตอบสนองอย่างอดทนและด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน
หนังสือเล่มนี้บอกว่าบางประเทศที่บริหารแบบประชาธิปไตย เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมนี นิวซีแลนด์ และอื่นๆ ดำเนินนโยบายที่ได้รับการต้อนรับดีพอสมควรในบางระดับ
อเมริกาพยายามจะหลุดพ้นจากวิกฤตนี้ด้วยการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม ถูกบังคับให้ต้องคิดนอกกรอบและหาแนวทางใหม่ๆ ตลอดเวลา
แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ อเมริกาและโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
นักเขียนทั้งสองเจาะลงถึงความเปลี่ยนแปลงต่อ “ระเบียบระหว่างประเทศ” ที่มีความเปราะบางและบกพร่องอย่างลุ่มลึกในระดับหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ที่บอกเล่าเรื่องราวของวิกฤตการเมืองทั่วโลกที่กำลังดำเนินอยู่
สิ่งที่ปรากฏออกมาชัดเจนคือ
ปรากฏการณ์ที่มีความไม่แน่นอนที่จะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน
สำทับด้วยความกลัว และความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองที่สร้างความสับสนวุ่นวายอย่างกว้างขวาง
ที่น่ากลัวคือ การปรับเปลี่ยนจากความร่วมมือพหุภาคีได้เปิดทางไปสู่ชาตินิยม ประชานิยม และการใช้อำนาจในทางผิดๆ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการคับแคบเฉพาะหน้า
อีกด้านหนึ่ง เนื้อหาของหนังสือพยายามใช้วิกฤตเป็นเครื่องมือวินิจฉัยเพื่อหาคำตอบว่า ระเบียบโลกในยุคหลังโควิดจะพลิกผันไปอย่างรุนแรงเพียงใด
นักเขียนทั้งสองตอกย้ำว่า โควิด-โควิด-19 เป็น “ตัวเร่งปฏิกิริยา” มากกว่าการเป็น “สาเหตุ” ของการล่มสลายของระบบโลก
มองในแง่บวกวิกฤตครั้งนี้อาจจะนำไปสู่ความร่วมมือทางด้านเศรษฐศาสตร์, ความมั่นคง, สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอาจทำให้เกิดการ “ผลเชิงลบ” ที่จะทำให้โลกมีเสถียรภาพน้อยลงและปลอดภัยน้อยลง
ยังไม่มีใครวาดภาพที่แม่นยำได้ว่า “ระเบียบโลกใหม่” หลังโควิดจะเป็นอย่างไร
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วท้าทายให้ต้องเกาะติดรายละเอียดของการเมืองระหว่างประเทศจากนี้ไปทุกฝีก้าวทีเดียวครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ