พฤติกรรมการจับจ่ายเทศกาลตรุษจีน

 “ตรุษจีน” เป็นหนึ่งในเทศกาลที่คนไทยให้ความสำคัญ และเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการจับจ่ายใช้สอยมากในรอบปี เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรเชื้อสายจีนจำนวนมาก ทำให้วัฒนธรรมจีนถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน การเลือกซื้อของไหว้เจ้า ของไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงการแก้ชง มีส่วนสำคัญทำให้การจับจ่ายของผู้คนในสังคมช่วงนี้คึกคักเป็นพิเศษ เป็นโอกาสที่แบรนด์และธุรกิจสามารถสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค และดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้จากการทำความเข้าใจใน “Customer Insight” ผ่านเทศกาลตรุษจีน

โดย บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการเลือกซื้ออาหารไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนของผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดีย ผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social listening) ในช่วงวันที่ 1-20 มกราคม 2568

มาดูกันว่าแนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายเลือกซื้ออาหารไหว้เจ้ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารไหว้เจ้าของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีน พบว่า การโปรโมตหรือการประชาสัมพันธ์ของร้านค้า มีการนำเสนอสินค้ารูปแบบ “เซตเมนูหรือชุดอาหาร” มากที่สุด แต่ผู้บริโภคกลับให้ความสนใจ “อาหารและขนมพร้อมทาน” มากกว่า โดยสามารถดึงดูดความสนใจจากความแปลกใหม่และหลากหลาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้ร้านค้าจะพยายามโปรโมตสินค้าที่เตรียมพร้อมแบบชุด อำนวยความสะดวกต่อการนำไปไหว้ แต่ผู้บริโภคยังคงมองหาความสะดวกสบายที่สุดในการเลือกซื้อสินค้าสำเร็จรูปอย่าง “อาหารพร้อมทาน”

สำหรับเซตเมนูหรือชุดอาหาร คือ ชุดไหว้มงคลคาวหวาน ที่จัดเป็นเซตในรูปแบบต่างๆ เป็นสินค้าที่ร้านค้าทำการโปรโมตหรือประชาสัมพันธ์มากที่สุด (68%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านค้าตระหนักถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการจัดเตรียมอาหารในช่วงเทศกาล ขณะที่อาหารและขนมพร้อมทาน คือ อาหารปรุงสำเร็จ และขนมที่จัดโปรโมชันในช่วงเทศกาลตรุษจีนได้รับการโปรโมตหรือประชาสัมพันธ์รองลงมาที่ 26% และวัตถุดิบทำอาหาร คือ ของสดสำหรับนำไปประกอบอาหาร ได้รับการโปรโมตน้อยที่สุด (6%) ซึ่งอาจสะท้อนแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้หันไปเลือกซื้อสินค้าที่พร้อมใช้มากกว่าการทำอาหารเอง

ส่วนอาหารและขนมพร้อมทาน ได้รับความสนใจสูงสุดจากผู้บริโภค (63%) ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาความสะดวกในการไหว้เจ้าในรูปแบบที่พร้อมใช้ โดยเซตเมนูหรือชุดอาหาร ได้รับความสนใจรองลงมา (27%) ซึ่งแสดงว่าแม้จะได้รับการประชาสัมพันธ์จากร้านค้าอย่างหนัก แต่ผู้บริโภคอาจจะยังมองหาความสะดวกสบายและประหยัดเวลาจากอาหารที่พร้อมทาน วัตถุดิบทำอาหาร มีการตอบสนองน้อยที่สุด (10%) ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย และไม่อยากใช้เวลามากในการเตรียมอาหารในช่วงเทศกาล

นอกจากคนไทยเชื้อสายจีนให้ความสำคัญกับการไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังนิยมการทำบุญเสริมดวงชะตา โดยเฉพาะในปีที่เรียกว่า “ปีชง” ซึ่งเป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์จีนว่าอาจมีผลกระทบต่อดวงชะตาของแต่ละคน การแก้ชงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยการไหว้ "เทพไท้ส่วยเอี๊ย" ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยลดเคราะห์และเสริมมงคลให้ชีวิต เป็นธรรมเนียมสืบทอดกันมานานในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี

จากข้อมูลในโซเชียลมีเดีย พบว่า ปัจจุบันในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ประชาชนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจใช้บริการแก้ชงออนไลน์เพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จาก Engagement การแก้ชงผ่านช่องทางออนไลน์ มีสัดส่วนถึง 34% โดยมีธุรกิจและบริการเกิดใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการทำบุญและการแก้ชงที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ธุรกิจแก้ชงออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยไม่เพียงตอบโจทย์ความสะดวกสบายของผู้บริโภคยุคดิจิทัล แต่ยังสะท้อนถึงการปรับตัวของธุรกิจที่เชื่อมโยงประเพณีดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกทั้งความสนใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการนำเสนอข่าวและคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับปีชงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การแก้ชงพัฒนาเป็นทั้งรูปแบบดั้งเดิมที่ผู้คนเดินทางไปวัดหรือศาลเจ้า และบริการออนไลน์ที่ช่วยให้การรักษาความเชื่อและประเพณีเป็นเรื่องง่ายและทันสมัยมากขึ้น.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนะคว้าโอกาสจากGMTเพิ่มขีดแข่งขัน

ประเทศไทยได้เดินหน้า พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ.2567 ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้แก่นิติบุคคลข้ามชาติ

GS1 มาตรฐานดันสินค้าไทยไปสากล

มาตรฐานสากลมีหลายด้านที่ออกมาเพื่อกำกับดูแลให้สินค้าหรือบริการเป็นไปตามระเบียบทิศทางเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการจัดการและดูแลภาพรวม รวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มผู้บริโภคด้วย และในโลกนี้เองก็มีหลากหลายมาตรฐานที่ใช้กำหนดคุณภาพสินค้าและบริการ

กระตุ้นท่องเที่ยวเปิดตลาดรับ LGBTQ+

เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่เปิดกว้าง เปิดโลกแบบไม่จำกัดเพศ ล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ W Hotels ในเครือ Marriott International Thailand จัดกิจกรรม Amazing Thailand Out There ภายใต้แคมเปญ Amazing Romance Month ส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ LGBTQ+

เกษตรคาร์บอนต่ำ

กระแสรักษ์โลก เกณฑ์การค้าด้านสิ่งแวดล้อมโลกที่เข้มข้น และเทรนด์ผู้บริโภคสีเขียวเร่งให้ไทยต้องปรับตัวสู่เกษตรคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะการผลิตข้าวที่ปล่อยก๊าซมีเทนสูง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ภาคเกษตรไทยจะถูกบีบมากขึ้นจากเทรนด์โลกที่ส่งสัญญาณเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เปิดพฤติกรรมคนไทยในยุค“เออ-ออ”

หนึ่งในพฤติกรรมของคนไทยช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคหลายคนนิยมซื้อสินค้าตามกระแส โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU ก็ได้มีผลวิจัย "ER-OR MARKETING: การตลาดแบบเออ-ออ พฤติกรรมตามกระแสของคนไทยในปัจจุบัน"

จับตา'ศก.ไทยปี68'รุ่งหรือร่วง!?

ปี 2568 กระทรวงการคลังได้ประเมินว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เกินกว่า 3% โดยอาจจะขยับขึ้นไปได้ถึง 3.5% หากสามารถดำเนินการได้ตาม 5 เงื่อนไขสำคัญ นั่นคือ 1.เร่งรัดเบิกจ่ายทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย