ขบวนการ "ล้มล้างรัฐธรรมนูญ" ถอยซะแล้ว!
"ประธานวันนอร์" แถลงหลังประชุมวิป ๓ ฝ่าย เมื่อวาน (๘ ม.ค.๖๘)
เลื่อนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมในมาตรา ๒๕๖ และหมวด ๑๕(๑) จากกำหนดเดิม ๑๔-๑๕ มกรา.
ไปเป็น ๑๓-๑๔ กุมภา.!?
"ไอ้เสือถอย" ซะแล้ว
ไม่ใช่ถอยเพราะ "มีสำนึก" แต่ถอยไปซุ่มรอจังหวะ
หมวด ๑ ว่าด้วยไทยเป็นราชอาณาจักร หมวด ๒ ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ และเกี่ยวกับอำนาจศาล องค์กรอิสระ มันไม่ละความพยายามที่จะ โละทิ้ง เขียนใหม่แน่
รวมทั้งมาตราว่าด้วยคุณสมบัติ, ข้อห้ามผู้ลงสมัคร สส. ผู้จะเป็นรัฐมนตรี ที่เป็นอุปสรรคต่อการกลับเข้ามาของสัตว์นรก
เจาะจงเขียนใหม่ เพื่อพวกมันจะได้พาเหรดกลับเข้ามา
ขบวนการกัดกร่อนบ่อนเซาะ มุ่งเปิดประตูสู่เป้าหมายล้มล้าง "ระบอบและสถาบัน" ถ้ามันเปิดประตูชั้นนี้ได้
"รูปแบบของรัฐ" ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ห้ามเปลี่ยนแปลง
เสร็จมัน...มันเปลี่ยนแน่!
วิป ๓ ฝ่ายที่ประชุมกันเมื่อวานก็มี ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านและฝ่ายวุฒิสภา
"พรรคประชาชน" เจ้าของร่างแก้ไขมาตรา ๒๕๖ ตัดอำนาจ สว.ในการโหวตและเพิ่มเติมหมวด ๑๕/๑ สู่การล้มล้าง
ดันเข้าที่ประชุมรัฐสภา ๑๔-๑๕ มกรา.เต็มที่
เพื่อไทย ทั้งที่อยาก "ตัวซี้-ตัวสั่น" แต่ไม่กล้า กลัวจบแบบ "ศพไม่สวย" จึงฉากหลบแบบเป็นมวยว่า
"จะยื่นร่างเข้ามาประกบอีกฉบับ ฉะนั้น รอก่อน"
ประกอบกับวิปวุฒิฯ "สว.วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" พูดชัด-จัดเต็มว่า "สว.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย"
เพราะสุ่มเสี่ยงขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ!
สรุปว่า ประธานวันนอร์ "ซื้อเวลา" ไปอีก ๑ เดือน
ผมว่า ๑๓-๑๔ กุมภา.ก็ "เลื่อนอีก" เว้นแต่ "ไม่แคร์คุก" ดึงดันหวังล้มล้างรัฐธรรมนูญ ด้วยการตั้ง ส.ส.ร.เขียนใหม่ให้ได้
ทั้งไม่หวั่นคำว่า "รัฐสภาทำผิดกฎหมาย" ซะเอง!
ด้วยถือดี พวกกู สส. "ประชาชนเลือกมา" เป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมาย ฉะนั้น จะเอาซะอย่าง คำวินิจฉง-วินิจฉัยไหน จะต้องไปสนทำไม!
ถ้าอย่างนั้น......
อ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๖๔ ว่าด้วยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญซักหน่อยปะไร
เผื่อจะสนและเข้าใจว่า การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อตั้ง ส.ส.ร.เขียนใหม่นั้น ทำได้หรือทำไม่ได้?
ต่อไปนี้ เป็น "ส่วนหนึ่ง" ของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔
......................................
ศาลฯ กำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า "รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่"
บทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวด ๑๕ ดังนี้
มาตรา ๒๕๕ บัญญัติว่า
“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้”
และมาตรา ๒๕๖ บัญญัติว่า
“ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) ถึง (๙)
.........รัฐธรรมนูญกำหนดองค์กรผู้พิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด ๗ รัฐสภา ส่วนที่ ๕ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา ๑๕๖ ที่บัญญัติว่า
ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน...(๑๕) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๕๖...”
เห็นได้ว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญข้างต้น เป็นการกำหนดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เป็น ๒ ระดับ ๓ ลักษณะ
คือ ระดับที่ ๑ สำคัญมาก
จะกำหนดให้การแก้ไขเป็นไปได้ยากมาก และ
ระดับที่ ๒ ไม่มีผลกระทบต่อรูปแบบของรัฐหรือโครงสร้างทางการเมืองมากนัก
จะกำหนดให้แก้ไขได้ในระดับที่ยากกว่าปกติ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเป็นหลัก
ส่วน ๓ ลักษณะนั้น
ลักษณะที่ ๑ ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
ลักษณะที่ ๒ การแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้
๑) หมวด ๑ บททั่วไป
๒) หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
๓) หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
๔) เรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และ
๕) เรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระหรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจได้
โดยให้รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เป็นผู้เสนอ แล้วต้องจัดให้มีการ "ออกเสียงประชามติ" ด้วย และ
ลักษณะที่ ๓ การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นใด ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภา
ดังนั้น...........
"หลักการ" แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กำหนดข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๕ มิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด
ส่วน "หลักเกณฑ์" และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นไปตามมาตรา ๒๕๖ (๑) ถึง (๙)
และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามมาตรา ๑๕๖ (๑๕)
โดยกำหนดให้ "รัฐสภา" ประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๕๖
ซึ่งต้องดำเนินการตาม "หลักเกณฑ์" ที่รัฐธรรมนูญกำหนดโดยเคร่งครัดว่า
กรณีใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยเด็ดขาด ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๕
หรือกรณีใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ หากแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามมาตรา ๒๕๖
(๘) ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ หรือหมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ
หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้
ก่อนดำเนินการตาม (๗) (นำร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย-เปลว) ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการตาม (๗) ต่อไป
การที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ทั้งสองฉบับต่อที่ประชุมร่วมกัน⟨ของ⟩รัฐสภาตามมาตรา ๒๕๖
ซึ่งมีหลักการและเหตุผลให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น
โดยมีเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ให้มีหมวด ๑๕/๑ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และมาตรา ๒๕๖/๑ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ นั้น
เห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๖ (๑๕) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดย "ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา"
มุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ "เป็นการใช้อำนาจของรัฐสภา" โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาในกรณีดังกล่าว มีหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป
โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญแลรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
กล่าวได้ว่า แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นอำนาจที่ได้รับมอบมา
ซึ่ง "ถูกจำกัด" ทั้งรูปแบบ กระบวน เนื้อหา
รัฐสภาจึงต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด โดยไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม
ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมติมหาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๕
เพียงบัญญัติให้ "สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ได้เท่านั้น
"ไม่มีบทบัญญัติให้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ"
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ให้มีหมวด ๑๕/๑
ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่มีผู้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้
"หาก" รัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่า
สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่?
ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป
เมื่อเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่า เห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งเป็นการให้ประชาชนพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จึงนำประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
อันเป็นกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญตามครรลองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า.........
รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่า
ประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่?
และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
................................
ก็ชัดว่าการเพิ่้มเติม ๑๕/๑ มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
คือ "ทำไม่ได้"
แต่ "จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ทำได้
แต่ทำภายใต้เงื่อนไขคำว่า "หาก" ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการทำประชามติว่า ๓ ครั้ง หรือ ๒ ครั้งกันแน่?
ให้ท่านอ่านคำวินิจฉัยแล้วคิดเป็นการบ้าน ๑ วัน แล้วพรุ่งนี้มาเฉลยจากการตีความของผม.
-เปลว สีเงิน
๙ มกราคม ๒๕๖๘
คนปลายซอย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนพันธุ์ 'ปากเปราะ'
ผมหายไปวัน... ไปร่วมยก "หลวงพ่อทวดครึ่งบน" ส่วนเศียร ขึ้นประกอบกับ "ส่วนล่าง" ที่ร่วมกันหล่อถวาย พร้อมสร้างอาคารฐานสถิต ที่วัดทรายขาว ทุ่งหวัง สงขลา
มันเอาแน่ 'แก้เพื่อล้มล้าง'
มี 'เรื่องใหญ่' ที่ผมต้องเกริ่นให้คนไทยทุกคนตื่นรู้ บัดนี้...ประเทศไทย....
เราอยู่ใน 'อนาคต' ที่ 'อดีต' ทำนายไว้แล้วหรือ!? | จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์
เราอยู่ใน 'อนาคต' ที่ 'อดีต' ทำนายไว้แล้วหรือ!? จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์ : วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2568
ย้อนวิบาก...3ป.67 ปิดฉาก...ก้าวไกล เปลี่ยน...นายกฯ เปิด...ระบอบทักษิณ I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 04 มกราคม 2568
'พูดจาภาษาคนรวย'
"ลมเพ-ลมพัด" ส่งท้าย "หยุดยาว" ปีใหม่อีกซักวัน ต้องบอกว่า.... คนไทยนี่ "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" จริงๆ! ยืนยันได้จากเทศกาลปีใหม่ เท่าที่สดับตรับฟัง "ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด" แทบจะเหยียบกันตาย
ปีใหม่ 'มีอะไรกันบ้าง?'
ปีใหม่แล้ว....... ต้องฟิตปั๋ง กระปรี้กระเปร่ากันนะครับ ห้ามสะโหลสะเหลในวันเริ่มงาน "ศักราชใหม่" เป็นอันขาด!