ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)

 

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489 สาเหตุการเกิดระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎรเกิดขึ้นจากปัจจัยสองประการ ประการแรกคือตัวรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ถือเป็นฉบับที่สอง)  เอง ประการที่สองคือตัวคน

ปัจจัยในตัวรัฐธรรมนูญคือ มาตรา 46 และมาตรา 47 และมาตรา 47 ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มาตราทั้งสามนี้กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสองประเภท ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และทั้งสองประเภทมีจำนวนเท่าๆกันและมีสิทธิ์ในการให้ความเห็นชอบรับรองคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมาใหม่  ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีสิทธิ์แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 คือ คณะรัฐมนตรี

แต่ปัจจัยที่ตัวคน คือ คณะรัฐมนตรี คณะแรกที่เริ่มใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ เป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการทำรัฐประหาร จากนั้นคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ได้แต่งตั้งตัวเองและพวกให้เป็นสมาชิกฯประเภทที่ 2 โดยส่วนใหญ่     

ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 หากพิจารณาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 96 คน พบว่าในจำนวน 96 คน  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 จำนวน 78 คน ได้รับแต่งตั้ง (หรือแต่งตั้งตัวเองหรือเห็นชอบที่ได้รับแต่งตั้ง) เป็นรัฐมนตรีถึง 47 คน นั่นคือ กว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก 78 คน

และหากนับทั้งหมด 96 คน ผู้ที่ได้เป็นรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 51 คน จะพบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก (78 คน) ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมากที่สุดตลอดระยะเวลา 13  ปี 

นอกจากนี้ ในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก (แต่งตั้งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476) จำนวน 78 คน เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 46 คน  ต่อมาในการแต่งตั้งเพิ่มหรือไม่ก็สลับกันไปมาก็เป็นบุคคลจากสมาชิกคณะราษฎรเสียส่วนใหญ่    หรือไม่ก็เป็นบุคคลที่เป็นเครือข่ายของรัฐมนตรีที่ทรงอำนาจอิทธิพลทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสายทหารและคนสนิทของหลวงพิบูลสงครามหรือเครือข่ายสายลูกศิษย์นักกฎหมายและเครือข่ายเสรีไทยของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ทั้งหมดจำนวน 96 คนที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 51 คน ได้เป็นรัฐมนตรีถึง 38 คน

ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรกจำนวน 78 ปีที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรจำนวน 78 คน ได้เป็นรัฐมนตรีถึง 34 คน

ตลอดระยะเวลา 13 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อเนื่องยาวนานที่สุดและรองลงมาได้แก่

  1. หลวงศุภชลาศัย (บุง) */** เป็นรัฐมนตรี 9 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15)  ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 14
  2. หลวงสินธุ์สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) */** เป็นรัฐมนตรี 8 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15)  ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11
  3. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม */** เป็นรัฐมนตรี (รวมนายกรัฐมนตรี) 7 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15)  ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 15 (เว้นช่วงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่าง พ.ศ. 2484-2488)
  4. จอมพล ป. พิบูลสงคราม */** เป็นรัฐมนตรี (รวมนายกรัฐมนตรี) 7 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
  5. หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรี 7 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
  6. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) ** เป็นรัฐมนตรี 6 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 8, 9, 11, 14
  7. หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) */** เป็นรัฐมนตรี 6 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 8, 9, 15
  8. นายควง อภัยวงศ์ */** เป็นรัฐมนตรี (รวมนายกรัฐมนตรี) 5 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 8. 9. 10, 11, 14
  9. พระยาพหลพลพยุหเสนา */** เป็นรัฐมนตรี (รวมนายกรัฐมนตรี) 5 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่ 4, 5, 6, 7, 11
  10. หลวงอดุลเดชจรัส ** (ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตั้งแต่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2481)  เป็นรัฐมนตรี 5 ใน 12 คณะ (คณะที่ 4-15) ได้แก่ คณะที่  8, 9, 10, 12, 13              

ตลอดระยะเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเวลาเกือบ 13 ปี (16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489) ภายใต้รัฐธรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475   เมื่อเทียบจำนวนรัฐมนตรีหรือผู้ใช้อำนาจบริหารที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง คือ 153:39  คิดเป็นอัตราส่วนเท่ากับ 3.9: 1 หากเกณฑ์ความเป็นประชาธิปไตยหมายถึงตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารผ่านการเป็นรัฐมนตรี  ในส่วนของการใช้อำนาจบริหารจะพบว่า ในช่วงระหว่าง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมีส่วนในการใช้อำนาจบริหารเพียง 1 ส่วนเท่านั้น แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีมีส่วนใช้อำนาจบริหารถึง 3.9 ส่วน

หากเกณฑ์ความเป็นประชาธิปไตยหมายถึงตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางกระบวนการรัฐสภา ในส่วนของการใช้อำนาจนิติบัญญัติจะพบว่า ในช่วงระหว่าง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489  เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากัน ดังนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจึงมีอำนาจนิติบัญญัติเพียง 50% หรือเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น

ส่วนความเป็นคณาธิปไตยของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 หากพิจารณาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 96 คน พบว่าในจำนวน 96 คน  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 จำนวน 78 คน ได้รับแต่งตั้ง (หรือแต่งตั้งตัวเองหรือเห็นชอบที่ได้รับแต่งตั้ง) เป็นรัฐมนตรีถึง 47 คน นั่นคือ กว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก 78 คน

และหากนับทั้งหมด 96 คน ผู้ที่ได้เป็นรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 51 คน จะพบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก (78 คน) ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมากที่สุดตลอดระยะเวลา 13  ปี 

นอกจากนี้ ในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรก (แต่งตั้งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476) จำนวน 78 คน เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 46 คน  ต่อมาในการแต่งตั้งเพิ่มหรือไม่ก็สลับกันไปมาก็เป็นบุคคลจากสมาชิกคณะราษฎรเสียส่วนใหญ่    หรือไม่ก็เป็นบุคคลที่เป็นเครือข่ายของรัฐมนตรีที่ทรงอำนาจอิทธิพลทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสายทหารและคนสนิทของหลวงพิบูลสงครามหรือเครือข่ายสายลูกศิษย์นักกฎหมายและเครือข่ายเสรีไทยของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

หากพิจารณาความหมายที่ดั้งเดิมที่สุดของคำว่า คณาธิปไตย ที่มาจาก oligarchy ที่มาจากภาษากรีก oligarkhia คณาธิปไตยหมายถึงการปกครองโดยกลุ่มคน (rule be few)  ที่รูปแบบของโครงสร้างอำนาจกำหนดให้อำนาจอยู่ที่กลุ่มคนจำนวนน้อย จากความหมายดังกล่าว กล่าวได้ว่า ตลอดระยะเวลา 13 ปีภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อำนาจทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นอำนาจบริหารหรืออำนาจนิติบัญญัติกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มคนที่ดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่มีอำนาจลงมติรับรองคณะรัฐมนตรี ดังที่ได้แสดงให้เห็นไปแล้ว

คำถามที่ตามมาคือ เมื่อสิ้นสุด รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ถือเป็นสิ้นสุดการสืบทอดอำนาจหรือไม่  ?             

คำตอบคือ ไม่

หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2489 แทนรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489    แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีที่ให้อำนาจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ลงคะแนนรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่เปลี่ยนจาการเลือกตั้งทางอ้อมมาเป็นการเลือกตั้งโดยตรงในปี พ.ศ. 2480)  และเปลี่ยนจากการมีสมาชิกสภาประเภทที่ 2 มาเป็นสมาชิกพฤฒสภา และตามมาตรา 17 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 กำหนดไว้ว่า             

“รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทน..”

และมาตรา 66 กำหนดให้

“พระมหากษัตริย์ทรงตั้งรัฐมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อยสิบคน อย่างมากสิบแปดคน  ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทนเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ...”                                                                                            จากมาตรา 66 จะเห็นได้ว่า นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการลงคะแนนเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่จะต้องมาจากการลงคะแนนเสียงของสมาชิกพฤฒสภาด้วย

คำถามคือ แล้วสมาชิกพฤฒสภามาจากไหน ?

คำตอบอยู่ที่ มาตรา 90 ในบทเฉพาะกาลแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 ได้กำหนดไว้ว่า “ในวาระเริ่มแรก พฤฒสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาเป็นผู้เลือกตั้งภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้”

ดังนั้น แม้ว่าจะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่เลือกโดยคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนมาเป็นสมาชิกพฤฒสภา   แต่ในช่วงแรกเริ่ม สมาชิกพฤฒสภาก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทางตรงโดยประชาชนอยู่ดี  แต่มาจากการเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดังนั้น กลุ่มการเมืองใด ได้ ส.ส. เป็นจำนวนมากในสภาผู้แทนราษฎร ก็มีแนวโน้มค่อนข้างแน่ชัดว่า จะได้สมาชิกพฤฒสภาเป็นพวกของตน และมีแนวโน้มอย่างยิ่งที่จะได้รับความไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรี       

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จึงยังคงเข้าข่ายให้ ส.ว. (สมาชิกพฤฒสภา)  มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. 

ส่วนรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามได้ตอนต่อไป และจะพบถึงสาเหตุของการทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ด้วย       

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จิรายุ' ตีปาก 'สส.โรม' อย่าพูดให้ประเทศเสียหาย ปมยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจาก พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีมีอดีต สส. ของกัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตในประเทศไทยแล้ว

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ