ค่าครองชีพสูง“กดดัน”ใช้จ่าย

จากทิศทางราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันได้สร้างความกังวลให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในอัตราที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ยังมีอยู่อย่างจำกัด หลังจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสำคัญอย่างราคาพลังงาน และราคาอาหารสดถีบตัวขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะมีการตรึงและควบคุมราคาสินค้าเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระประชาชน แต่ก็หลายส่วนก็อาจจะยังไม่รับรู้มากนัก ซึ่งอาจมีผลต่อแนวโน้มการบริโภคภาคประชาชนที่เป็นอีกกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ทั้งนี้ “วิจัยกรุงศรี” ได้ออกบทวิเคราะห์ โดยระบุว่า “การบริโภคอาจชะลอลงในระยะสั้น” แม้ความเชื่อมั่นในช่วงปลายปีก่อนทยอยปรับขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค.2564

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ 46.2 จาก 44.9 ในเดือน พ.ย.2564 โดยปรับดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ ปัจจัยหนุนจากผู้บริโภคคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง และการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมในช่วงกลางเดือนธันวาคมเพื่อหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลปีใหม่

ความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจจะสะดุดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น และผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 จากสายพันธุ์โอมิครอนที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของไทยกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง “วิจัยกรุงศรี” ประเมินในกรณีฐาน คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะแตะระดับสูงสุดในกลางเดือน ก.พ.นี้แต่ก็น่าจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายจึงอาจชะลอลงเพียงในระยะสั้นเท่านั้น

เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่กว้างขวางขึ้น และการฉีดเข็มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความรุนแรงของการระบาดรอบนี้ รวมทั้งคาดว่าจะไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ และการบริโภคมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งโครงการช้อปดีมีคืน คนละครึ่งเฟส 4 และเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ราว 1.4 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นต่อเนื่อง การใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมหลักเริ่มทยอยกลับสู่ช่วงก่อนเกิดการระบาดแล้ว จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศภายหลังจากทางการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มเติม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้นทางภาคการผลิต การค้า และการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกที่เติบโตดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศช่วยหนุนให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมทยอยปรับดีขึ้น

ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่า ในระยะข้างหน้าสถานการณ์ราคาสินค้ายังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานในช่วงที่ผ่านมา หรือปัญหาเฉพาะตัวของสินค้า เช่น ราคาเนื้อหมู ขณะที่สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนที่ยังมีความไม่แน่นอน อัตราการระบาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยวและกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังฟื้นตัวและกำลังซื้อยังคงไม่กลับมาเต็มที่

ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงมีความเปราะบาง มาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาค่าใช้จ่าย เช่น การตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

และล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็อนุมัติโครงการเพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4, โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ซึ่งประเมินว่าทั้ง 3 โครงการ จะช่วยรักษากำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ จากการเติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปี 2565 จำนวน 7.9 หมื่นล้านบาท ช่วยให้จีดีพีทั้งปี 2565 เพิ่มขึ้น 0.21% ต่อปี.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research