การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ การมีส่วนร่วม และอนาคตของการตลาดอินฟลูเอนเซอร์” มุมมองจากอินฟลูเอนเซอร์ที่จะเผยข้อมูลเชิงลึกที่แบรนด์ควรรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจและความต้องการของอินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบัน รวมถึงวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2568 และอนาคต
อุมาพร วิทเทเกอร์-ทอมป์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้า และหัวหน้าแผนก Influence ของวีโร่ ระบุว่า ในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญเพื่อก้าวล้ำหน้ากระแส และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลสำรวจของเราฉบับนี้ สำรวจทั้งสภาพปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง และการปรับกลยุทธ์ของอินฟลูเอนเซอร์ในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์
เนื่องจากการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ยังคงเติบโตและซับซ้อนยิ่งขึ้น ด้วย 72% ของอินฟลูเอนเซอร์ที่สำรวจลงเห็นว่า ความต้องการเนื้อหาสปอนเซอร์เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า เอกสารไวต์เปเปอร์นี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ โดยไม่ทำลายความไว้วางใจระหว่างอินฟลูเอนเซอร์กับผู้ติดตาม
ในสนามโลกดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การเล่าเรื่องคือสิ่งที่ทำให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์โดดเด่น 78% ของอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมการสำรวจใช้ Instagram ในขณะที่ 82% ใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มหลักหรือรองสำหรับคอนเทนต์ของพวกเขา เมื่อแพลตฟอร์มเหล่านี้เต็มไปด้วยผู้ใช้ที่แข่งขันกันอย่างเข้มข้น การเล่าเรื่องที่สามารถดึงดูดและเชื่อมโยงกับผู้ชมได้คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาโดดเด่น โดย 34% ของอินฟลูเอนเซอร์เชื่อว่าการเล่าเรื่องคือส่วนสำคัญที่สุดของงานนี้
ความเป็นตัวของตัวเองคือสกุลเงินหลักของอินฟลูเอนเซอร์ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (58%) ของอินฟลูเอนเซอร์จากการสำรวจของวีโร่ ให้ความสำคัญกับการรักษาสไตล์ส่วนตัวในขณะที่ทำเนื้อหาตรงตามประเด็นสื่อสารหลักที่แบรนด์ต้องการนำเสนอ พวกเขาทุ่มเทเพื่อให้ทุกโพสต์ยังคงสอดคล้องกับตัวตนของพวกเขา โดย 37% จะเลือกปฏิเสธข้อเสนอในการร่วมมือเมื่อพบว่าอุดมการณ์และค่านิยมไม่ตรงกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ 38% ยังคงพร้อมที่จะเสนอมุมมองใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของแบรนด์ การเปิดใจและการสนทนาที่ดีสามารถช่วยให้แคมเปญแต่ละรายการได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ และรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้
นอกจากนี้ อินฟลูเอนเซอร์ต้องการอิสรภาพทางความคิด ควรปล่อยให้พวกเขาได้ทำตามใจ การขาดอิสรภาพทางความคิดคือความท้าทายหลักที่ 29% ของอินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญ โดยตัวเลขนี้สูงถึง 37% ในประเทศไทย อิสรภาพในการแสดงออกไม่ใช่แค่สิทธิในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ซึ่งสำหรับแบรนด์ นี่ถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ในการร่วมงานกับแบรนด์ ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนคือสิ่งสำคัญที่สุด แม้ว่าการได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นจะเป็นสิ่งที่อินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่ปรารถนาก็ตาม โดยเฉพาะในสิงคโปร์ (31%) และอินโดนีเซีย (30%) แต่หลายคนยังให้ความสำคัญกับโอกาสในการร่วมงานระยะยาวกับแบรนด์ ซึ่งในประเทศไทย (32%) เวียดนาม (28%) และฟิลิปปินส์ (26%) ตัวเลขนี้สูงขึ้น และสะท้อนถึงความต้องการของอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับแบรนด์
ทั้งนี้ อินฟลูเอนเซอร์มักคอยจับตามองคอมมูนิตี้ ความเป็นตัวของตัวเอง การขายของออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล และ AI ในปี 2568 การสร้างคอมมูนิตี้ที่มีแพสชันผ่านกิจกรรมที่จัดโดยอินฟลูเอนเซอร์ (28%) และการร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์คนอื่นๆ (23%) จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ในปีต่อๆ ไป รวมถึงการเน้นความเป็นตัวของตัวเอง (28%) หลายคนยังจับตามองการเพิ่มขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ (36%) และการขายของออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล (33%) ในภูมิภาคนี้ รวมไปถึงการจับตามองว่ามันจะมีผลกระทบต่อการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร แบรนด์ในวันนี้มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางของแนวโน้มเหล่านี้ได้ในอนาคต
อย่างไรก็ดี ทุกความร่วมมือระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์เริ่มต้นด้วยการหาคู่ที่เหมาะสม การหาคู่ที่เหมาะสมระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์คือขั้นตอนแรกในการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและเป็นประโยชน์ร่วมกัน และเมื่อการแข่งขันเพิ่มขึ้น การเริ่มต้นแคมเปญการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ให้ถูกต้องจึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ
ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!
“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2