ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

 

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489  คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สี่นี้ ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  (https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Constitution2490.html) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร

ก่อนหน้าที่กรมขุนชัยนาทฯจะได้รับมติแต่งตั้งโดยรัฐสภาให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกับพระยามานวราชเสวี หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเสวยราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489   ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2481 กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีกบฏโดยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม 

ในตอนท้ายของบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งประเด็นไว้ว่า “ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th , 1939 เป็นฉบับเดียวกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939  ที่อาจารย์กอบเกื้อใช้อ้างอิง อาจารย์กอบเกื้อน่าจะต้องตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นว่า ท่านเขียนข้อความที่ว่า ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’  นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ? แต่ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 เป็นคนละฉบับกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939  ที่ท่านอาจารย์กอบเกื้อใช้ แต่ผู้ค้นเอกสารที่หอจดหมายเหตุอังกฤษยืนยันว่า เอกสารของเซอร์โจซาย ครอสบี้ที่รายงานกลับไปกระทรวงต่างประเทศลงวันที่  7 February 1939  มีเพียงฉบับเดียวคือ No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939  ผู้เขียนคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์กอบเกื้อช่วยชี้แนะโดยการเปิดเผยสำเนาเอกสารอ้างอิงที่ท่านอาจารย์ใช้ในการเขียนข้อความที่ว่า  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’  ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ”                                       

------------

ล่าสุด ผู้เขียนยังไม่ได้รับการตอบใดๆจากท่านอาจารย์กอบเกื้อ ดังนั้น นิสิตนักศึกษาและนักวิชาการควรจะชะลอการอ้างอิงข้อความที่ยังเป็นประเด็นนี้ไว้ก่อน ส่วนที่เคยอ้างอิงไปแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันค้นหาว่า ตกลงแล้ว มีเอกสาร FO ใดที่กล่าวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด (การก่อกบฏ/ผู้เขียน)”

ในตอนนี้ จะขอนำข้อความที่น่าสนใจจากรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ (No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939) มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาต่อจากตอนที่แล้ว

-----------------   

“No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939

8.สำหรับผู้รักสยามคนใดก็ตาม สถานการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นในขณะนี้ก็น่าเศร้าเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องโทษผู้ที่ก่อให้เกิดความพยายามลอบสังหารหลวงพิบูลฯ เพราะก่อนหน้านี้ ทุกอย่างดูเหมือนจะไปได้ดี ด้วยผู้สนับสนุนระบอบใหม่กำลังแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะผูกมิตรกับพรรคพวกของระบอบเก่าเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศ และความร่วมมือกันและไม่ต่อต้านกันกำลังจะเป็นคำขวัญ และนักโทษการเมืองส่วนใหญ่ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเชื่อมโยงกับการกบฏบวรเดชก็ได้รับการปล่อยตัวแล้ว แต่ตอนนี้เวลากับเดินถอยหลังกลับ การเป็นปฏิปักษ์แต่เดิมได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง และนักโทษทางการเมืองในปี พ.ศ. 2476 ยังเหลืออยู่ที่ยังทุกข์อยู่และยังไม่ได้รับการปล่อยตัวอาจต้องรอไปไอย่างไม่มีกำหนด เราคงได้แต่หวังว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะไม่ส่งผลเสียต่อตัวเรา และความไม่พอใจต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯและพระราชวงศ์---ซึ่งหลายพระองค์ได้รับการศึกษาจากอังกฤษ---- จะไม่รื้อฟื้นความระแวงเดิมที่พวกที่นิยมระบอบรัฐธรรมนูญเคยมีกับพวกเรา ที่ว่าเราอยู่ข้างสมบูรณาญาสิทธิราชและระบอบเก่า ซึ่งในที่สุด เราได้สามารถพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หวังว่ารัฐบาลจะยังคงมีความตั้งใจที่จะให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไปศึกษาจนสำเร็จที่อังกฤษ

แต่มีข้อเสียบางประการ ที่รัฐบาลอาจตกลงใจที่จะส่งพระองค์ไปศึกษาที่อื่นเพื่อป้องกันไม่ให้พระองค์ได้รับอิทธิพลจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งประทับอยู่ไม่ไกลจากลอนดอน สิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่นี้ ข้าพเจ้าประทับใจกับชาวอังกฤษในสยามว่า ของพวกเขารู้หน้าที่ว่าจะต้องมีทัศนคติที่เป็นกลางอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการเมืองภายในสยาม และงดเว้นจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  เพราะในปี พ.ศ.2476  ชุมชนชาวต่างชาติในกรุงเทพฯ ถูกกล่าวหาว่ามีความเห็นอกเห็นใจอย่างเปิดเผยต่อผู้ต่อต้านการปฏิวัติ  (กบฏบวรเดช/ผู้เขียน)  ข้าพเจ้ากังวลว่าอาณานิคมของอังกฤษจะไม่ตกอยู่ภายใต้ความสงสัยเช่นที่เกิดขึ้นในขณะนี้

9. ข้าพเจ้าขอกล่าวอีกครั้งหนึ่งถึงความที่ข้าพเจ้าเคยรายงานไปยัง ฯพณฯ ทางโทรเลขแล้ว   ประเทศนี้สงบเรียบร้อยดีและรัฐบาลดูจะสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้รับทราบมาว่า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงโทมนัสอย่างยิ่งต่อการที่กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับกุมตัว อันส่งผลให้สมาชิกพระองค์อื่นๆในพระราชวงศ์ยากที่จะไม่อกสั่นขวัญแขวน และสถานะของยุวกษัตริย์และพระราชชนนี้ยิ่งจะต้องน่าวิตกกังวล เพราะกรมขุนชัยนาทฯทรงเป็นพระปิตุลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดที่สุด

10.  ข้าพเจ้ากำลังส่งสำเนาจดหมายนี้ไปยัง: ผู้สำเร็จราชการฯแห่งอินเดีย,  พม่า,  ช่องแคบ (the Straits Settlements),  ฮ่องกง, รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดประจำสถานีที่จีน ​​นายทหารผู้บังคับบัญชากองทหาร กองบัญชาการมลายา สิงคโปร์ ผู้บังคับบัญชากองทัพอากาศ ตะวันออกไกล สิงคโปร์ นายทหารผู้บังคับบัญชาพม่า เสนาธิการทหารบก อินเดีย และผู้ช่วยทูตทหารเรือ ทหารบก และทหารอากาศ กรุงเทพมหานคร” 

(จบรายงานของเซอร์โจซาย ครอสบี้ No. 76 BRITISH LEGATION  (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

รทสช.ขยับทันควัน! หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา ‘พีระพัง‘

จากกรณี ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่

เกิดขึ้นจริงๆ ‘วรงค์’ โชว์ป้ายเมื่อสามปีที่แล้ว ‘โจรปล้นชาติจะกลับมา’

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์รูปภาพและข้อความในเฟซบุ๊กว่า #ป้ายที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีที่แล้ว

’พุทธะอิสระ‘ วางแล้ว! ไม่ร่วมขบวนทักท้วง ‘ทักษิณ-แพทองธาร’

นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ "พุทธะอิสระ" ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้