ดันสิ่งต้องห้ามสู่พืชเศรษฐกิจ

ในปี 2564 ที่ผ่านมานั้นมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นผลเสียหรือผลกระทบให้กับสังคมไทย อย่างเช่น การแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่! รวมถึงยังเป็นปีที่เกิดการสูญเสียของชีวิตคนไทยจากโควิดมากมายจนทำให้กำลังใจของหลายฝ่ายนั้นเริ่มอ่อนแรงลง แต่กลับกันก็ยังเป็นปีที่มีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ที่พอจะช่วยผลักดันให้เกิดผลดีต่อสังคมได้

ทั้งการฉีดวัคซีนที่มีมากขึ้น มาตรการต่างๆ ที่ออกมากระตุ้น ทำให้การเติบโตของภาพรวมเศรษฐกิจไม่ติดลบ การส่งเสริมในด้านที่เคยเป็นข้อห้าม หนึ่งในนั้นคือเรื่องของพืชสมุนไพรต่างๆ ที่ได้ผ่อนปรนให้กลับมาเป็นสิ่งถูกกฎหมายและส่งเสริมให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันเศรษฐกิจอีกช่องทางหนึ่ง นั่นก็คือ กัญชา และกัญชง

แม้ว่าพืชสองชนิดนี้จะมีความคล้ายกัน แต่ทางด้านคุณลักษณะพิเศษจะแตกต่างกัน จึงสามารถทำไปพัฒนา แปรรูปได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA: Thai Industrial Hemp Trade Association) ได้ให้ข้อมูลว่า ในปี 2564 เป็นปีแรกที่ทางสมาคมได้เปิดตัวและขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการ ซึ่งคณะที่ปรึกษา อุปนายก คณะกรรมการแต่ละฝ่ายของสมาคม สมาชิก รวมถึงหน่วยงานภาคีได้ร่วมกันทำงานอย่างหนักเพื่อผลักดันพืชกัญชงสู่อุตสาหกรรม และเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

โดยในปี 2565 เองก็ได้มีการเร่งกำหนดแผนงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งล่าสุดมีการประชุมใหญ่สามัญเพื่อกางแผนดำเนินงานในปี 65 โดยจะรับฟังความเห็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกัญชงและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดแนวทางและโครงสร้างราคากลางในการซื้อ-ขายกัญชงภายในไตรมาสแรกของปี 65 และเตรียมพร้อมการเป็นเจ้าภาพการจัดงานระดับนานาชาติ Thailand International Hemp Forum & Expo 2022 อีกด้วย

ด้าน พรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) กล่าวไว้ว่า หนึ่งในภารกิจเป้าหมายของทางสมาคมในปี 2565 คือ การกำหนดแนวทางและโครงสร้างราคากลางในการซื้อ-ขายกัญชง โดยคณะกรรมการสมาคมได้ร่วมหารือและมีมติว่าจะมีการเปิดรับฟังความเห็น (Public Hearing) ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ปลูก ผู้รับซื้อ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ครั้ง

และออกประกาศแนวทางโครงสร้างราคากลางภายในไตรมาสแรกของปี 2565 และดำเนินงานต่อเนื่องเรื่องราคาสารสกัดทุกรูปแบบในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความสมดุลในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมกัญชงให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกณฑ์ในการตั้งราคากลางผลผลิตกัญชง ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.ปริมาณสารสำคัญในช่อดอก 2.รูปแบบการปลูกสัมพันธ์กับต้นทุนการผลิต และเกรดการผลิต และ 3.การปนเปื้อนของวัตถุดิบ เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก และเชื้อรา โดยเบื้องต้นสมาคมมีการจัดรวบรวมข้อมูลโครงสร้างราคาเฉลี่ยเป็นดังนี้ ราคาช่อดอกแห้งจากการปลูกระบบปิด (Indoor) ที่ตรงตามเงื่อนไขมาตรฐานการรับซื้อจะเริ่มต้นที่ 24,000-32,000 บาท/กิโลกรัม ในระดับสาร CBD 8-9.9% ไปจนถึงราคา 45,000-90,000 บาท/กิโลกรัม ในระดับสาร CBD 14% ขึ้นไป

และราคาช่อดอกแห้งจากการปลูกระบบกึ่งปิด (Green House) ที่ตรงตามเงื่อนไขมาตรฐานการรับซื้อจะเริ่มต้นที่ 5,000-12,000 บาท/กิโลกรัม ในระดับสาร CBD 5-7.9% ไปจนถึงราคา 15,000-40,000 บาท/กิโลกรัม ในระดับสาร CBD 10% ขึ้นไป เป็นต้น

ซึ่งมาตรฐานการตรวจวัดคุณภาพของวัตถุดิบ สารสำคัญ สารปนเปื้อน ฯลฯ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือที่ใช้หลักการโครมาโตกราฟีแบบของเหลวสมรรถนะสูง หรือสูงกว่า และระบบการตรวจแล็บที่ได้รับมาตรฐาน ISO17025 เพื่อความแม่นยำ และเป็นกลางสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยกำหนดการเปิดเวทีรับฟังความเห็นเพื่อกำหนดแนวทางและโครงสร้างราคากลางในการซื้อ-ขายกัญชง จะเริ่มต้นครั้งที่ 1 ในเดือน ม.ค. ครั้งที่ 2 ในเดือน ก.พ. และครั้งที่ 3 ในเดือน เม.ย.65 โดยสมาคมจะออกประกาศสู่สาธารณะอีกครั้ง

แน่นอนว่า การดำเนินงานทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะผลักดันให้อุตสาหกรรมกัญชงก้าวไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ทั้งยังเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมกัญชงของไทย รวมถึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพันธมิตรในอุตสาหกรรมกัญชงร่วมกันอีกด้วย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research