ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เองก็ยืนยันตลอดเวลาว่า โครงการนี้เดินหน้าไปได้ตามกฎหมายที่รองรับอยู่ และมั่นใจว่าจะเป็นไปตามแผนงาน ทั้งแผนการลงทุนและแผนการก่อสร้างต่างๆ แต่ที่ผ่านมาก็มีหนึ่งในโครงการสำคัญที่ดำเนินงานโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่พยายามที่จะยกระดับผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่อีอีซี และทำให้พื้นที่แห่งนั้นเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนอย่างเต็มกำลัง
โดยล่าสุดได้ออกมาแถลงผลความสำเร็จกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นโครงการที่ สสว.เพิ่งเริ่มทำมาในช่วงเดือน ก.ย.2567 ที่ผ่านมานี้ แต่ไม่น่าเชื่อว่าความมีศักยภาพของ SME ไทยจะสามารถต่อยอดให้เกิดมูลค่ามากกว่า 126 ล้านบาท โดยกิจกรรมดังกล่าวจะเข้าไปส่งเสริม เพิ่มขีดความสามารถ และยกระดับนวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่อีอีซี ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และพื้นที่ต่อเนื่องในจังหวัดจันทบุรี โดยมีเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้ พร้อมช่วยเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งเน้นคือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วไม่เกิน 3 ปี มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ข้างต้นที่มีการดำเนินกิจการ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมที่ต่อยอดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่สร้าง Value creation 2.อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยี/แปรรูปอาหาร และ 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการส่งเสริมผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ จึงเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เติบโตแข็งแรงและมีอัตราการอยู่รอดของธุรกิจมากขึ้น
ที่ผ่านมา สสว.ได้พัฒนาผู้ประกอบการในกิจกรรมดังกล่าว โดยมีการเปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้ประกอบการ หรือ SME รายใหม่ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เข้ารับการพัฒนายกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ การเพิ่มผลิตภาพ เช่น Internet of Things หรือ IoT, ระบบ Automation การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับจัดการการดำเนินงานในองค์กร การวางแผนและติดตาม การผลิต การซ่อมบำรุง วัตถุดิบ คลังสินค้า การขาย การขนส่ง เป็นต้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ของที่เหลือจากวัสดุเหลือใช้ และการสร้างเรื่องราวและการนำเสนอ (Storytelling) เพื่อยกระดับอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว Blue zone การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาหารสมุนไพร แพทย์แผนไทย สปา เป็นต้น
โดยในปี 67ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 150 ราย ประกอบด้วยผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 27 ราย ชลบุรี 48 ราย ระยอง 42 ราย และจันทบุรี 33 ราย และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 126 ล้านบาท รวมทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ ทั้งในรูปแบบการขยายตลาด ลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 28 ล้านบาท สามารถเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมต่อยอดการลงทุนในธุรกิจ ซึ่งมีแผนการลงทุนรวมทั้งสิ้น 64 ล้านบาท
ที่สำคัญได้ส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกต่างประเทศให้ผู้ประกอบการ จำนวน 24 ราย ระหว่างวันที่ 13-18 พ.ย.2567 ณ ไต้หวัน โดยมีกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว 4 ราย พบและเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการไต้หวันกว่า 10 บริษัท ณ โรงแรม Grand Halai ผู้ประกอบการอีก 20 ราย เข้าร่วมออกบูธแสดงสินค้าในงาน Taiwan Int’l Food Industry 2024 ณ ศูนย์แสดงสินค้าหนานกัง
ซึ่งจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถสร้างยอดขายจากการเจรจาธุรกิจ และสร้างมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 33 ล้านบาท
ด้านนางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รักษาการผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า กิจกรรมสุดท้ายภายใต้โครงการเป็นการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกในประเทศ ในงาน “SME SOFT POWER Marketplace” ณ ลาน Avenue A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 10-12 ธ.ค.2567 โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายรวมได้กว่า 1 ล้านบาท ขณะที่ปี 2568 คาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนบวกกับเงินกองทุน สสว.รวมกว่า 760 ล้านบาท และจะแบ่งมาดำเนินงานกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะผลักดันให้เกิดมูลค่าเพิ่มกว่า 500 ล้านบาท
และนี่คงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มาการันตีว่าในพื้นที่อีอีซีไม่ได้มีดีแค่ในเชิงพื้นที่ แต่ผู้ประกอบการอย่าง SME ก็มีดีพอตัว และคงเป็นผลงานปิดปีใหม่ที่ สสว.เป็นปลื้มได้แน่นอน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ