เศรษฐศาสตร์เศษสตางค์

ตอนนี้หมูมีราคาแพงขึ้น เป็นไปตามหลักการตลาดเรื่อง demand/supply เมื่อ supply หมูมีน้อย และ demand มีมาก ทำให้หมูราคาแพง เรื่องนี้ก็น่าจะพอเข้าใจได้ สินค้าที่มีหมูเป็นส่วนประกอบขึ้นราคาประชาชนก็ยอมรับได้

แต่สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมูเลย ทำไมต้องขึ้นราคาด้วย ซาลาเปาไส้หมูสับ หมูแดงขึ้นราคาก็เข้าใจได้ ขนมจีบหมูขึ้นราคาก็มีเหตุผล แต่ซาลาเปาไส้หวาน หมั่นโถที่ไม่มีไส้ ทำไมต้องขึ้นด้วย หมูขึ้นแล้ว เพราะ supply น้อย เนื้อวัว ไก่ ไข่ อาหารทะเล ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอ ก็ไม่ควรจะขึ้นราคา สินค้าอุปโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน ก็อย่าฉวยโอกาสขึ้นราคา

เห็นๆ กันอยู่ว่าเวลานี้ประชาชนเดือดร้อนเพราะผลกระทบจาก COVID มากพอแล้ว ผู้ประกอบการอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอเลย เราเป็นประเทศการค้าเสรี ครั้นจะให้รัฐบาลไปบังคับกำหนดราคาสินค้าทุกประเภทก็คงไม่ได้ การจะขึ้นราคาหรือไม่เป็นน้ำใจของผู้ประกอบการ ถ้าหากเห็นใจประชาชนผู้บริโภคก็อย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าแบบไม่มีเหตุผลรองรับ เพราะหากทำเช่นนั้นก็เท่ากับซ้ำเติมเพื่อนร่วมชาติ

ในเวลานี้ เราอาจจะเห็นว่ามีสินค้าหลายอย่างทยอยขึ้นราคาแบบมีเหตุผลสมควรบ้าง ไม่สมควรบ้าง การที่เรามักจะขึ้นราคาไปที่ เลข 5 และเลข 0 ทำให้สินค้าขึ้นในอัตราที่สูงเป็น 25%, 33%, 50% และ 66% เช่น สินค้าราคา 3 บาท ขึ้นเป็น 5 บาท เท่ากับขึ้น 66% สินค้าราคา 20 บาท ขึ้นเป็น 25 บาท เท่ากับขึ้น 25% สินค้าราคา 10 ขึ้นเป็น 15 บาท เท่ากับขึ้น 50% สินค้าราคา 15 บาท ขึ้นเป็น 20 บาท เท่ากับขึ้น 33% ทั้งๆ ที่ราคาวัตถุดิบอาจจะขึ้น 5%, 10% และวัตถุดิบที่ขึ้นราคาก็ไม่ใช่ 100% ของต้นทุน แต่พอขึ้นราคา ผู้ประกอบการมักขึ้นไปที่ราคาที่ลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 20, 25 เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะเราไม่นิยมใช้เงินเหรียญเล็กๆ ที่มีให้เราใช้ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ 1 บาท เหรียญ 50 สตางค์ หรือเหรียญ 25 สตางค์ ถ้าหากเรามีการใช้เงินเหรียญกัน สินค้าที่จำเป็นขึ้นราคาก็จะสามารถขึ้นทีละ 5% หรือ 10% แทนที่จะขึ้นทีละ 25%, 33%, 50% และ 66% อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทำให้เงินเฟ้อสูงมาก

มารณรงค์การใช้เหรียญบาท, เหรียญ 50 สตางค์, 25 สตางค์ และ 10 สตางค์กันดีไหมคะ เพื่อให้สินค้าขึ้นทีละ 5% หรือ 10% ไม่ใช่ 25%, 33%, 50% หรือ 66% สินค้า 15 บาท ขึ้น 5% ก็จะเป็น 15 บาท 75 สตางค์ ถ้าขึ้น 10% ก็จะเป็น 16 บาท 50 สตางค์ ไม่ใช่ขึ้นเป็น 20 บาทอย่างทุกวันนี้ ซึ่งเท่ากับขึ้น 33% สินค้าราคา 3 บาท ถ้าขึ้น 10% ก็จะเป็นราคา 3 บาท 30 สตางค์ ไม่ใช่ขึ้นเป็น 5 บาท ซึ่งเท่ากับขึ้นสูงถึง 66% สินค้าราคา 40 บาท ถ้าขึ้น 5% ก็จะเป็นราคา 42 บาท ถ้าขึ้น 10% ก็เป็นราคาเท่ากับ 44 บาท ไม่ใช่ 50 บาทอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งเท่ากับขึ้น 25% ทุกวันนี้เราไม่ใช้เหรียญ 1 บาท เหรียญ 50 สตางค์ และเหรียญ 25 สตางค์ เหรียญ 10 สตางค์ ทำให้สินค้ามักจะขึ้นราคาทีละ 25%, 33%, 50% และ 66% ซึ่งเป็นเหตุทำให้เงินเฟ้อสูง ผู้บริโภคเดือดร้อน อย่าคิดว่าเรื่องนี้เป็นเศรษฐศาสตร์เศษสตางค์ ที่ดูเป็นเรื่องเล็ก ไม่น่าจะแก้ไขเรื่องสินค้าราคาแพงหรือเงินเฟ้อได้ ประเทศใหญ่ๆ เจริญและพัฒนาแล้ว ใช้เหรียญ 1 เซ็นต์, 5 เซ็นต์, 10 เซ็นต์ และ 25 เซ็นต์ ทำให้สินค้าเขาขึ้นทีละ 5% หรือ 10% เท่านั้น ไม่ใช่ 25%, 33%, 50% หรือ 66% เหมือนบ้านเรา ลองพิจารณากันหน่อยดีไหม ธุรกิจของรัฐ ค่าธรรมเนียมของรัฐ เริ่มต้นนำไปก่อนเลย เงินเฟ้อจะได้ลดลง ขอคิดดังๆ และชวนพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ลองคิดดูว่าพอจะทำกันได้ไหม

เวลานี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาสินค้าขึ้นราคาในภาวะที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด บางคนตกงาน บางคนถูกเลิกจ้าง บางคนธุรกิจถูกปิด ไม่ได้ทำงานมานานแล้ว บางคนถูกลดเงินเดือน ผู้ประกอบการหลายรายมีรายได้ลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้เราน่าจะหาทางช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั้งหลาย ไม่ใช่ซ้ำเติมพวกเขาด้วยการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าอย่างไม่มีเหตุผล อาศัยปรากฏการณ์ที่หมูขึ้นราคา จำได้ว่ามีสุภาษิตจีนบอกว่า “นักธุรกิจไม่มีวันรวยจากลูกค้าที่ยังยากจน” ดังนั้นแทนที่จะซ้ำเติมพวกเขา ช่วยอะไรได้ก็ควรจะช่วย ที่ผ่านมามีธุรกิจรายใหญ่เป็นจำนวนมากใช้เงินเป็นร้อยล้าน พันล้าน ช่วยเหลือประชาชนที่ลำบาก ทั้งแจกหน้ากาก แจกแอลกอฮอล์ แจกยา บริจาคเวชภัณฑ์ต่างๆ และบริจาคอาหาร ประชาชนหลายคนก็มีโครงการช่วยเหลือประชาชน ทั้งด้านอาหาร ด้านเวชภัณฑ์ และตู้ปันสุข

รัฐบาลก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจในการแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง รัฐมนตรีและข้าราชการประจำที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง demand/supply เรื่องการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ราคาสินค้าไม่แพง ต้องรีบแก้ไขปัญหาด้วยหลักการของอริยสัจ 4 สินค้าราคาแพงคือ “ทุกข์” ก็ต้องหา “สมุทัย” ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ให้ได้โดยเร็ว และจะต้องใช้สติปัญญามองหา “นิโรธ” ที่เป็นหนทางในการแก้ทุกข์ให้หมดไป และเมื่อได้แนวทางในการแก้ไขแล้ว ก็ต้องเกิด “มรรค” คือการนำเอาแนวทางที่คิดได้นั้นไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว มุ่งมั่น และจริงจัง ต้องมีทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำหรับระยะสั้นต้องปฏิบัติโดยเร็ว เพราะยุคนี้มีคำกล่าวว่า “speed is everything” หมายความว่า ไม่ว่าจะทำอะไรต้องทำให้เร็ว การที่มีผู้รับผิดชอบบอกว่าจะแก้ไขราคาหมูแพงให้ได้ภายในเวลา 8-12 เดือนนั้น มันนานเกินไป ประชาชนได้ยิน ทั้งตกใจและไม่พอใจการทำงานของทางการ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ ปัญหานี้ต้องแก้ให้เร็ว ก่อนที่ประชาชนจะหมดศรัทธารัฐบาล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาเป็นชุด! 'ดร.เสรี' ฟาดคนโอหัง ความรู้ไม่มี ทักษะไม่มี ไร้ภาวะผู้นำ น่าสมเพชอย่างแท้จริง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า เตือนก็แล้ว ตำหนิก็แล้ว ต่อว่าก็แล้ว เยาะเย้ยก็แล้ว ล้อเลียนก็แ

ข้าอยากได้อะไร...ข้าต้องได้

เราคนไทยมักจะอ้างว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีการบริหารกิจการต่างๆ ภายในประเทศตามหลักการของนิติธรรม แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้ หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐจริงหรือ

เมื่อ 'ธรรมชาติ' กำลังแก้แค้น-เอาคืน!!!

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาของบ้านเรา...ท่านเคยคาดๆ ไว้ว่า ฤดูหนาว ปีนี้น่าจะมาถึงประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม

จ่ายเงินซื้อเก้าอี้!

ไม่รู้ว่าหมายถึง "กรมปทุมวัน" ยุคใด สมัยใคร จ่ายเงินซื้อเก้าอี้ ซื้อตำแหน่ง ในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ตามที่ "ทักษิณ ชินวัตร" สทร.แห่งพรรคเพื่อไทย ประกาศเสียงดังฟังชัดในระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก

ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม