รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สี่นี้ ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย (https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Constitution2490.html) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
ก่อนหน้าที่กรมขุนชัยนาทฯจะได้รับมติแต่งตั้งโดยรัฐสภาให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกับพระยามานวราชเสวี หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเสวยราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489 ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2481 กรมขุนชัยนาทฯทรงถูกจับเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีกบฏโดยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
ในข้อเขียนของ จูดิธ สโตว์ (Judith A. Stowe) เรื่อง Siam becomes Thailand ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2534) กล่าวว่า กรมขุนชัยนาทฯไม่เคยทรงเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย ส่วนข้อเขียนของ กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียน (Kobkua Suwannathat-Pian) ที่สองเล่ม คือ Thailand’s Durable Premier: Phibun through Three Decades 1932-1957 (นายกรัฐมนตรีที่ยาวนานของประเทศไทย: พิบูลในสามทศวรรษ 2475-2500) (พิมพ์ปี พ.ศ. 2538) และ Kings, Country and Constitutions: Thailand’s Political Development 1932-2000 (พระมหากษัตริย์ ประเทศและรัฐธรรมนูญ: พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย 2475-2543) (พิมพ์ปี พ.ศ. 2546) กล่าวว่า มีรายงานว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิดนี้ และอีกข้อความหนึ่งคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นต้น ได้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการนี้อย่างจริงจัง โดยทั้งสองข้อความนี้ กอบเกื้อได้อ้างอิงเอกสารรายงานสถานทูตอังกฤษ รหัส FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939
จากการสืบค้นของผู้เขียน โดยได้ขอสำเนาเอกสาร FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 และสำเนาเอกสารเท่าที่ได้มาคือเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939. โดยผู้ค้นเอกสารที่อังกฤษได้แจ้งว่า เอกสารรายงานสถานทูตจากเซอร์โจซาย ครอสบี้ (Josiah Crosby) ที่ลงวันที่ 7 February 1939 มีเพียงฉบับนี้เท่านั้น เอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939. มีทั้งสิ้น 11 หน้า หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านข้อความทั้งหมดอยู่หลายเที่ยว ไม่พบข้อความใดที่กล่าวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นต้น ได้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการนี้อย่างจริงจัง และไม่พบการกล่าวถึง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เลยด้วย
อีกทั้งยังพบว่า เซอร์โจซาย ครอสบี้ กล่าวว่า
“กรมขุนชัยนาทฯ ทรงเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนเงียบๆ ถ่อมตัว และไม่ยุ่งเรื่องการเมือง และการถูกควบคุมตัวของพระองค์ทำให้สาธารณชนสับสนมาก” ("..He has always had the reputation of being a quiet, unassuming men who had kept aloof from politics and his taking into custody has quite bewildered the public..”)
และ "...ประเด็นสำคัญคือการจับกุมกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งข้าพเจ้ารู้จักเป็นการส่วนตัว และเชื่อว่าพระองค์ไม่น่าจะไม่ลดพระองค์ลงไปมีส่วนในข้อหาฆาตกรรมได้ ข้าพเจ้าค่อนข้างเชื่อว่า พระองค์บริสุทธิ์ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเมืองใดๆ.." (A case in point is the arrest of Prince Rangsit, whom I know personally and whom I believe to be incapable of stooping to participation in an act of would-be murder. I am inclined to believe, too, that he is innocent of participation in politics at all.)
และ
"...ข้าพเจ้าทราบมาว่า สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเสียพระราชหฤทัยอย่างยิ่งกับการจับกุมกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งส่งผลถึงสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์ให้ต้องแตกสลายไปด้วย ยุวกษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล/ผู้เขียน) และพระราชชนนีต้องตกอยู่ในสถานะที่เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะกรมขุนชัยนาทฯเป็นพระปิตุลาที่ทรงโปรดของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” (..I am told, however, that the Queen Grandmother is greatly upset by the arrest of Prince Rangsit, the effect of which upon the other members of the Royal Family cannot fail to have been shattering. The position of the young King and of the Princess Mother must be very distressing, for the Prince was His Majesty's favourite uncle.)
------
ในตอนท้ายของบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งประเด็นไว้ว่า “ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th , 1939 เป็นฉบับเดียวกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่อาจารย์กอบเกื้อใช้อ้างอิง อาจารย์กอบเกื้อน่าจะต้องตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้นว่า ท่านเขียนข้อความที่ว่า ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ? แต่ถ้าเอกสาร No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 เป็นคนละฉบับกับ FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ที่ท่านอาจารย์กอบเกื้อใช้ แต่ผู้ค้นเอกสารที่หอจดหมายเหตุอังกฤษยืนยันว่า เอกสารของเซอร์โจซาย ครอสบี้ที่รายงานกลับไปกระทรวงต่างประเทศลงวันที่ 7 February 1939 มีเพียงฉบับเดียวคือ No. 76 BRITISH LEGATION (10/18/39) BANGKOK CONFIDENTIAL February 7th, 1939 ผู้เขียนคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์กอบเกื้อช่วยชี้แนะโดยการเปิดเผยสำเนาเอกสารอ้างอิงที่ท่านอาจารย์ใช้ในการเขียนข้อความที่ว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด’ ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ”
------------
ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะเผยแพร่บทความตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้ติดต่อท่านอาจารย์กอบเกื้อ และเรียนท่านว่าจะขอส่งประเด็นข้อสังเกตเรื่องการอ้าง FO 371/23586, Sir Josiah Crosby to FO, 7 February 1939 ให้ท่านทาง messenger แต่ท่านไม่ขอรับ และผู้เขียนได้ขออนุญาตท่านว่า “..จะทำงานวิชาการโดยอ้างอิงและวิจารณ์งานของท่าน…” ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้อง เพียงแต่กล่าวว่า งานของท่าน Thailand’s Durable Premier: Phibun through Three Decades 1932-1957 (พิมพ์ปี พ.ศ. 2538) และ Kings, Country and Constitutions: Thailand’s Political Development 1932-2000 (พิมพ์ปี พ.ศ. 2546) เป็นงานที่เก่าแล้ว (a quarter of century old)
หลังเผยแพร่บทความตอนที่แล้วและตอนนี้สู่สาธารณะ ผู้เขียนยังไม่ได้รับการตอบใดๆจากท่าน ดังนั้น นิสิตนักศึกษาและนักวิชาการควรจะชะลอการอ้างอิงข้อความที่ยังเป็นประเด็นนี้ไว้ก่อน ส่วนที่เคยอ้างอิงไปแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันค้นหาว่า ตกลงแล้ว มีเอกสาร FO ใดที่กล่าวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้ทรงตรัสกับเอกอัครราชทูตอังกฤษว่า กรมขุนชัยนาทฯ พระปิตุลาที่รักของรัชกาลที่แปด มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการสมรู้ร่วมคิด (การก่อกบฏ/ผู้เขียน)”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พิราบขาว ตามจิกทักษิณ ยกปราศรัยหาเสียงที่อุดร หลักฐานมัดครอบงำเพื่อไทย
ที่สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 ยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อกกต.กรณีคำร้องยุบ 6 พรรคการเมือง
ดร.ณัฏฐ์ ชี้เลือกนายกอบจ.อุดร เพื่อไทยชนะไม่ขาดจะกระทบสนามใหญ่ เตือน 'ทักษิณ' ปากพาซวย!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ 'ทักษิณ ชินวัตร' ยกทัพไปช่วยหาเสียงนายกอบจ.อุดรธานี แม้เกณฑ์คนไปฟังเยอะ คะแนนสวนทาง หากไม่ชนะขาด กระทบต่อสนามใหญ่ ยกวาทะ 'ถ้าจะเลือกทักษิณ ให้เลือกเบอร์ 2' ระวังทำคนหลงผิดโทษถึงคุก!
'อนุสรณ์' โวลั่น 'อุดรธานี' ยังคงเป็นเมืองหลวงคนเสื้อแดง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.)ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี
'กูรู' ย้อนเกล็ด 'แม้ว-สทร.' หมาเห่าโจรปล้นบ้าน!
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กว่าลุงแม้วประกาศตั้งตำแหน่งตนเอง เป็น สทร.
เสื้อแดงไม่เข็ด 'จตุพร' ชี้เปรี้ยง 'ทักษิณ' โชว์เหลี่ยมต้มอีกแล้ว!
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ว่า การปราศรัยของทักษิณ ชินวัตร ที่อุดร ส่อถึงอาการไม่มั่นใจในผลการพิจารณาคำร้องของศาล รธน. ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ย.นี้
อดีต สว.สมชาย มั่นใจ...จบที่คุก! คดีล้มล้างฯ-ชั้น14 I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน