ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงสำหรับกรณีการเปิดให้บริการรถไฟลาว-จีน เชื่อมต่อระหว่างคุนหมิงกับเวียงจันทน์ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเป็นกังวลว่าไทยจะเสียประโยชน์จากการขนส่งสินค้าจากการเปิดให้บริการรถไฟฯ ของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังรวมถึงฝ่ายค้าน โดยนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ได้มีการตั้งกระทู้ถาม เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาวในครั้งนี้
แน่นอนว่า การดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการชี้แจงโดยหยิบยกข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบันประเทศจีนคือตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทยเป็นลำดับที่ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีนส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว
ทั้งนี้มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 และมีแนวโน้มขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 8.54 แสนล้านบาท
ขณะที่ จากสถิติของกรมศุลกากรระหว่างปี พ.ศ.2555-2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย-จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคายเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน
แน่นอนว่า หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้
ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศ ปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาว ได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น จากบันทึกความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์
ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาวมายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตรที่มีอยู่ของประเทศไทย และ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป
ขณะที่ การเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ได้แบ่งแนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังลาวที่สถานีเวียงจันทน์ ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ มีแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม
คงต้องบอกว่ามาตรการรองรับต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยกระทรวงคมนาคมได้ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องของจังหวัดหนองคาย เร่งทดลองขบวนรถไฟขนส่งสินค้าความยาว 25 แคร่ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากท่าเรือแหลมฉบังมายังสถานีหนองคาย และต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้าที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว ได้โดยตรง รองรับการลงทุนในอนาคต ขณะที่การพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาว-จีน ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา.
กัลยา ยืนยง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research