อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต และทำให้ทรัมป์หวนคืนสู่ทำเนียบขาวเป็นคำรบที่ 2 และได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 47 แน่นอนการกลับมาของทรัมป์ในครั้งนี้ยังคงยึดนโยบายชาตินิยม การทำให้อเมริกากลับมาแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่อีกครั้ง ตามสโลแกน Make Amarica Great Again
ซึ่งสิ่งที่ทำให้ทั่วโลกมีความกังวลก็คือ นโยบายของทรัมป์จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งภายใน โดยการดึงเงินลงทุนกลับเข้าอเมริกา รวมถึงการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าสหรัฐเสียเปรียบ ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย แต่ที่จะเข้มข้นเป็นพิเศษคือ ประเทศจีน ซึ่งสหรัฐเสียดุลการค้าค่อนข้างมาก และตั้งป้อมกีดกันเต็มที่
โดยก่อนหน้านี้ ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า ถ้าได้เป็นประธานาธิบดีจะตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีนเพิ่มขึ้น 60% และสินค้าจากประเทศอื่นๆอีก 10% แน่นอนว่านี่คือสงครามการค้ารอบใหม่ที่สหรัฐเตรียมเปิดฉากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าการขายทั่วโลก และเกิดสิ่งที่เรียกว่า สงครามการค้าเวอร์ชัน 2 หรือ 2.0
ก่อนหน้านี้ SCB EIC ได้วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อเศรษฐกิจโลกและไทย โดยอาศัยสมมติฐานชุดนโยบายของสหรัฐ ตามการวิเคราะห์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในรายงาน World Economic Outlook (WEO) รอบเดือน ต.ค.2567 มาใช้ในการคำนวณผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ทาง IMF (WEO Oct24) กำหนดสมมติฐานนโยบายทรัมป์ 2.0 และศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกผ่าน 5 ช่องทาง คือ
(1) นโยบายขึ้นภาษีนำเข้า : สหรัฐ ยุโรป และจีน เพิ่มภาษีนำเข้าระหว่างกัน 10 pp. และสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น 10 pp. โดยประเทศอื่นจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าตอบโต้กลับอีกด้วย สินค้าที่ได้รับผลกระทบครอบคลุม 25% ของมูลค่าการค้าโลก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 6% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก โดยจะเริ่มส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโลกตั้งแต่กลางปี 2568 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลดลงรวม 0.3 pp. ในช่วงปี 2025-2030
(2) ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก : นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ และการตอบโต้ของประเทศต่างๆ จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนของนโยบายการค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม โดยการลงทุนในสหรัฐและยุโรปจะลดลงราว 4% ขณะที่จีนและประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบราวครึ่งหนึ่งของสหรัฐ สำหรับเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบทางลบตั้งแต่กลางปี 2568 และผลจะทยอยหมดไปในปี 2569
(3) นโยบายลดภาษี : สหรัฐต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล หรือ Tax Cuts and Jobs Act (TCJA) ไปอีก 10 ปีจนถึงปี 2034 หลังมาตรการเดิมจะหมดอายุในช่วงกลางปี 2025 ซึ่งจะทำให้ภาษีเงินได้จากธุรกิจสหรัฐลดลงรวม 4% ของ GDP ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจโลกจะเป็นบวกรวม 0.1 pp. ในช่วงปี 2025-2030 ตามผลบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐเป็นสำคัญ แม้เศรษฐกิจประเทศอื่นจะได้รับผลกระทบทางลบ เพราะสูญเสียความสามารถในการแย่งชิงเม็ดเงินลงทุนโดยเปรียบเทียบกับสหรัฐ
(4) นโยบายกีดกันผู้อพยพ : สหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มกีดกันผู้อพยพมากขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2025 ส่งผลให้กำลังแรงงานสหรัฐและยูโรโซนลดลง 1% และ 0.75% ภายในปี 2030 ตามลำดับ เนื่องจากผู้อพยพเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปในช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจโลกรวม 0.2 pp. ในช่วงปี 2025-2030
(5) ภาวะการเงินโลกตึงตัวขึ้น : ภาวะการเงินโลกมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากผลกระทบทางลบและความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะปรับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อและหนี้ภาครัฐของประเทศต่างๆ ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนประเทศต่างๆ สูงขึ้น
SCB EIC ประเมินว่า ผลกระทบของนโยบายทรัมป์ต่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเป็นลบทั้งในปีหน้าและในระยะปานกลาง เนื่องจากโลกจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันและความผันผวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรง.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว
ซึมยาวถึงกลางปีหน้า
ข้อมูลจากสถาบันยานยนต์จะพบว่า ในปี 2566 ตลาดยานยนต์ในไทยมีมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของ GDP ประเทศ และจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก อันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซียน
ความท้าทายเศรษฐกิจโลก2025
ดูเหมือนว่าในปีหน้า 2568 การค้าโลกและเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายและโอกาส โดย finbiz by ttb ฉายภาพเศรษฐกิจภาพใหญ่ และเจาะความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลต่อการค้าโลกและการค้าของไทยไว้ได้อย่างน่าสนใจ
ศก.รัฐบาลมาดามแพจะรอดไหม?
ผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพล เมื่อ 2 วันก่อนนี้ มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ไปไหวไหม” พบว่ามีคนเชื่อว่ารัฐนาวาของ มาดามแพ จะยืนหยัดจนครบเทอมเพียงแค่ 41% เท่านั้น โดยมองเรื่องจุดชี้เป็นชี้ตาย ปัญหาปากท้อง จะเป็นตัวชี้ขาดว่ารัฐบาลจะอยู่รอดหรือไม่รอด