
หลังจากมีกระแสข่าวว่านักท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะกูดลดลง 30% จากกรณีการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่อ้างสิทธิ์ทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา
เรื่องดังกล่าวนี้ ว่าที่ร้อยตรีกรกฏ โอภาส ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ จากการสำรวจโดยใช้ฐานข้อมูล 20 โรงแรม ต่างๆในพื้นที่ พบว่าอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1% และอยู่ในเกณฑ์ตามปกติ
ขณะที่ นายสวงค์ รำไพ ชาวบ้านเกาะกูด ผู้อาวุโสอายุ 92 ปี ผู้ที่อาวุโสที่สุดบนเกาะกูด เล่าให้ฟังว่า จำนวนนักท่องเที่ยวปริมาณไม่ได้ลดลงมาก อีกทั้ง นักท่องเที่ยวยังมีจำนวนมากแต่แบ่งไปตามอ่าวต่างๆ ของเกาะ พร้อมเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาที่เกาะกูด เพราะเป็นที่สงบ ไม่มีนักเลง ไม่มีขโมย นอนเปิดประตูทิ้งไว้ได้
“ก๋งวัย92 ปี” ยืนยันว่า ตนเองอยู่บนเกาะกูดมาตั้งแต่เกิด จนครบอายุ 92 ปี การอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ไม่มี บรรพบุรุษก็ยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทย
นายสุธี ศิราชนิยม ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 อ.เกาะกูด ยอมรับว่า นักท่องเที่ยวมีปริมาณปกติอยู่แล้ว ไม่ได้มีผลกระทบมากเนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ช่วงนี้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ภาคเหนือเพราะเข้าฤดูหนาว หลังจากนี้เชื่อว่าจะมาเยือนเกาะกูดเช่นเดิม
ขณะที่ “มท. หนู” นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พบปะกับนักท่องเที่ยวเกาะกูด จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 11 พย.ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางมาตรวจราชการ
ซึ่งตนเองได้รับรายงานว่า มีนักท่องเที่ยวและประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับ MOU 44 จึงยกเลิกการเดินทาง เพราะไม่มั่นใจว่าจะสามารถเดินทางมายังเกาะกูดได้หรือไม่ ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง และทุกคนเดินทางมาเที่ยวได้ปกติ
จึงอยากเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังเกาะกูด เพราะเกาะกูดเป็นของประเทศไทยและคนไทยทุกคน ที่นี่คนไทยทุกคนมีสิทธิ์มาเที่ยวมาพักผ่อน เกาะกูดผมพึ่งมาครั้งแรก น้ำใสเห็นตัวปลาทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นลำธารหรือทะเล
“วันนี้ผม และ รัฐบาลมาสร้างความมั่นใจให้เป็นที่ประจักษ์ว่าที่นี่คือแผ่นดินไทย ไม่มีวันสูญเสียไปให้กับใครแม้แต่ตารางนิ้วเดียว “ มท.1ให้ความมั่นใจ
รัฐบาลและชาวบ้านแท้ๆช่วยการันตีขนาดนี้ นักท่องเที่ยวจะพลาดมาเยือนเกาะกูดได้อย่างไร
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โหวตตามลุงป้อม
ผ่านไปแล้วสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 2 วันเต็มๆ เสียงไว้วางใจฝ่ายรัฐบาลท่วมท้น แถมได้งูเห่ามาโปะอีกหลายตัว
“ศรีสะเกษยั่งยืน”
จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นยุทธศาสต์สำคัญทางการเมือง หากพรรคใดช่วงชิงได้ ก็มีโอกาสจะขยายความนิยมครองพื้นที่ในดินแดนอีสานใต้
"กีกี้" เป็นเหตุวุ่นวายทั้งสภา
กลายเป็นประเด็นร้อนฮือฮากลางวงประชุมขึ้นมาทันที เมื่อ”วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดประเด็นร้อนระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 โดยเปรียบ
“ไม่เป็นความจริง”
เริ่มวันแรกของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เชื่อว่าทุกฝ่ายต้องมีความตื่นเต้นกันเป็นปกติ แต่จากที่ดูบรรยากาศในศึกซักฟอกครั้งนี้ หลายคนมองว่าไม่เหมือนกับปีก่อนๆ บรรยากาศดูไม่ค่อยเข้มข้น แต่ก็มีความพยายามสร้างบรรยากาศให้ดูฮึกเหิม
มุ่งมั่นเพื่อบ้านโป่ง
ก่อนถึงวันเปิดศึกโหมโรงเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เริ่มขึ้นวันแรก 24 มีนาคม ที่ทั้งฝั่งพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างเตรียมตัว เตรียมข้อมูลขึ้นจ้อบนเวที และคาดว่าจะดุเด็ดเผ็ดมันไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันในการขับเคลื่อนงานในสภาเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนยังเดินหน้าต่อ
เดี๋ยวโดนปลด
ต้องบอกว่า ลดโทนดุดันกว่าตอนเป็น สส.ไปเยอะ สำหรับ เสี่ยยุ-จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและอดีต สส.กทม. เขตคลองสามวา พรรคเพื่อไทย