“ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด” การเมืองมุ่งแต่เรื่องเกาะกูด สุ่มเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่ หลัง พปชร.กลุ่มบ้านป่าฯ ปลุกกระแสรักชาติ ให้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 เพื่อปกป้องอธิปไตยทางทะเล เพราะ บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร. เพิ่งตื่น และยอมรับว่ามีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย ทั้งที่ตัวเองสมัยปี 2557 นั่งเป็นประธานเจทีซี เจรจาตามกรอบเอ็มโอยู 44 นั่นเอง
ขณะที่ภาครัฐก็ดาหน้าออกมายืนยันว่าเอ็มโอยู 44 ไม่เกี่ยวกับการเสียดินแดน เกาะกูดเป็นของไทย 100% แต่อีกเรื่องนี่น่าจะคือเรื่องผลประโยชน์และขุมทรัพย์ทรัพยากรใต้ทะเลในพื้นที่ทับซ้อน ประเมินมูลค่า 10 ล้านล้านบาท หลังประชาชนไม่ไว้วางใจสายสัมพันธ์ของรัฐบาลแพทองธาร กับรัฐบาลฮุน เซน รวมถึงตระกูลชินวัตรและตระกูลฮุน เซน ที่มีสายสัมพันธ์ในระบอบเครือญาติแต่งงานกัน ขณะที่ นายทักษิณ ชินวัตร กับสมเด็จฮุน เซน ยังมีความสนิทสนม และในอดีตเคยแต่งตั้งนายใหญ่เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจมาแล้ว
จึงเป็นเรื่องยากมากหากรัฐบาลจะดันเรื่องนี้ และเชื่อว่าเมื่อแตะเมื่อไหร่ เรื่องละเอียดอ่อนนี้จะถูกฝ่ายต้านใช้วิชาการเมืองปลุกถึงขั้นล้มรัฐบาลได้
นอกจากนี้ยังมีอาหารจานร้อนของรัฐบาลที่น่าจับตา แว่วมาว่า “พรรคประชาชน” กำลังซุ่มเงียบ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ชาติ รวมถึงหวังสร้างเป็นผลงานดึงแต้มจากชาวบ้าน ในวันที่ศรัทธาการเมืองของพรรคเพื่อไทยกำลังดิ่งเหว คลางแคลงไปด้วยข้อครหา
อย่างเช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 1.49 แสนล้านบาท ที่ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน จับตาอย่างใกล้ชิด และเคยตั้งกระทู้ถามสดในสภามาแล้วว่า การแก้สัญญาจะเอื้อเอกชนหรือไม่ ขณะที่ผู้รับผิดชอบยังไม่นำเข้า ครม. เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลกลัวติดคุก หลังสื่อและสังคมเริ่มจับตาอย่างแรง
สส.พรรคส้ม ตั้งคำถามไว้ 5 ประเด็นชวนสงสัยว่า 1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เป็น "จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ รฟท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท" โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน ตั้งข้อสังเกต= เร่งจ่ายคืนให้นายทุนไวขึ้นหรือไม่
2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่าๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท.ต้องรับภาระ ตั้งข้อสังเกต= นายทุนค้างชำระตั้งแต่ 24 ต.ค. แต่รัฐให้ยอมผ่อน
3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป ตั้งข้อสังเกต= ดูเหมือนดี แต่อาจไม่เกิดขึ้น และเปิดช่องให้โกงง่าย
4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท.สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้ ตั้งข้อสังเกต= แก้ปัญหาที่ตัวเองก่อจากการเขียนสัญญาเปิดช่อง
5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น ตั้งข้อสังเกต= ตีเช็คเปล่า แม้เป็น PPP Net Cost ที่นายทุนต้องรับความเสี่ยง
นี่คือข้อสังเกตว่า งานนี้สบช่องเอื้อให้ทุนใหญ่ของบางพรรครัฐบาลหรือไม่ เพราะหากเอกชนไม่ได้ประโยชน์จะยอมแก้สัญญาหรือไม่เพราะผิดไปจากทีโออาร์เดิมก่อนการประมูล.
คางคำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
การประชุม ครม.เมื่อวันอังคาร นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมแทน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
บันทึกหน้า 4
... เปิดบันทึกวันนี้ ขอเริ่มต้นด้วย # 11.11 ร่วมด้วยช่วยกันป้องกันอย่าให้การเมืองเข้าครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่ายครับ ของอดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ วิรไท สันติประภพ หนึ่งในจำนวน 4 อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ลุกขึ้นมาถือธงนำหน้า "ต้าน" เสี่ยโต้ง กิตติรัตน์ ณ ระนอง เข้าไปนั่งเก้าอี้ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
บันทึกหน้า 4
"พ่อนายกฯ" ขยับแล้ว! หลังเงียบหายไปพักใหญ่ น่าจะรู้ตัวดีว่าเวลาโผล่หน้าหรือพูดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งบดบังเงาลูกอิ๊งค์ซะมิด หลบสั่งการอยู่เบื้องหลังดีกว่าจ้อหน้าฉาก แต่สนามที่มั่นเพื่อไทย
บันทึกหน้า 4
ในที่สุด “โดนัลด์ ทรัมป์” ก็คัมแบ็กกลับมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 จนได้ โดย จะเป็นผู้นำมะกันที่มีอายุมากที่สุดในวันสาบานตน วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งการที่ “ทรัมป์” กวาดชัยชนะเหนือ “กมลา แฮร์ริส” คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตครานี้
บันทึกหน้า 4
ความคิด เมื่อวันอังคาร ก่อนการประชุม ครม. ที่มี อุ๊งอิ๊งค์-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำ นายเจษฎ์ โทณะวณิก
บันทึกหน้า 4
“ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด” จับตาว่าปมแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติจะเป็นอีกชนวนที่ทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอมหรือไม่ หลังมีความเคลื่อนไหวจากอดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ 227 นักวิชาการ และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม