ปัญหาโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวนนั้นทำให้ทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญ จึงเป็นที่มาของความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ หรือ UNFCCC ครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส (ความตกลงปารีส) ที่มีสมาชิกมากกว่า 189 ประเทศทั่วโลกร่วมกันขับเคลื่อน
โดยที่ไทยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี ค.ศ.2030 หรือปี พ.ศ.2573 ใน 3 สาขาหลักคือ สาขาพลังงานและการขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย
ซึ่งการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงบทบาทการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบของประเทศไทยและประชาชนในประเทศในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
ขณะเดียวกันการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสะอาด จะส่งผลประโยชน์ร่วม (co-benefit) ทั้งในแง่ของคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่จะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในส่วนของภาครัฐก็สนองรับกับนโยบายดังกล่าว ซึ่ง อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ. ระบุว่า คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้เห็นชอบโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ให้เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 4 ชนิด ภายในปี 2565 เพื่อใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร, แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำพลาสติกกลับมารีไซเคิล ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว, บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว, ขวดพลาสติก (ทุกชนิด), ฝาขวด, แก้วพลาสติก, ถาด/กล่องอาหาร และช้อน/ส้อม/มีด กลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวว่า ในปี 2565 เป้าสำคัญคือการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัดต้องลงอย่างน้อย 30% จำนวนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบางและแก้พลาสติกใช้ครั้งเดียวลดลง 100% และไม่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารในหน่วยงาน ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนั้นทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไฟฟ้า พลังงาน น้ำ และลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์จะยิ่งเกิดผลดี เกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรและยิ่งลดภาระในการนำขยะกำจัด
ส่วนภาคเอกชนก็ไม่น้อยหน้า ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน อย่างเช่น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่มุ่งดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดหาวัตถุดิบทางเลือกเพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากรจากน้ำมันดิบ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบเดิมที่ใช้แล้วทิ้งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้สามารถนำพลาสติกใช้แล้ววนกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตได้อย่างไม่รู้จบ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จนส่งผลให้โรงงานโพลีเอทิลีนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโรงงานโพลีเอทิลีนชนิดยืดหยุ่นพิเศษ ในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จังหวัดระยอง ของกลุ่มบริษัท ดาว ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความยั่งยืนและการลดคาร์บอนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล “ISCC PLUS” จาก International Sustainability and Carbon Certification (ISCC)
เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่ CPF หรือ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ประกาศยกเลิกใช้ถ่านหินในปี 2565 สำหรับกิจการในประเทศไทย ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี เดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งใช้เชื้อเพลิงสะอาด ทั้งจากพลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ ในกระบวนการผลิต พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างฐานการผลิตอาหารมั่นคงและการบริโภคอย่างยั่งยืน
การตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย คือสิ่งสำคัญที่สุดต้องเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปให้ได้ ดังนั้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research