บูรณาการแก้ของแพง

ช่วงนี้มองไปทางไหนก็เจอแต่ของแพง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และราคาวัตถุดิบต่างๆ ก็ขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลทางจิตวิทยาจากราคาเนื้อหมูที่แพงจนสร้างประวัติศาสตร์ ยังไม่นับราคาพลังงาน ทั้งก๊าซหุงต้ม หรือ ราคาน้ำมันที่ก็ขยับตัวในขาขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

สิ่งเหล่านี้ล้วนกดดันทีมงานเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะต้องคิดและวางนโยบายในการแก้ปัญหา ทั้งในรายสินค้าและในส่วนของโครงสร้างมหภาค

ซึ่งต้องยอมรับว่า เสถียรภาพของรัฐบาลก็สั่นคลอนไม่ใช่น้อยจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่มาหลายระลอก ยังมาเจอซ้ำเติมกับปัจจัยราคาอาหารที่ปรับแพงขึ้นไปอีก ซึ่งทั้งหมดก็จะนำไปสู่การกระทบภาวะเศรษฐกิจในภาพใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพอันน่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดการ ซึ่งภาระหน้าที่นี้เป็นของกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในที่จะต้องทำงานอย่างหนัก ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ก็เตรียมจะเสนอของบกลางในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 ม.ค.2565 วงเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท มาจัดทำโครงการพาณิชย์ลดราคา! ลดค่าครองชีพประชาชน เพื่อเพิ่มทางเลือก สร้างความสมดุลด้านราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในตลาดและการบริโภคภาคครัวเรือนในสถานการณ์นี้ ซึ่งจะเป็นโครงการระยะ 90 วัน หรือ 3 เดือน

ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังก็เตรียมช่วยเพิ่มกำลังซื้อ ผ่านการอุดหนุนงบประมาณแบบร่วมจ่าย อย่างโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 ที่จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันวาเลนไทน์ที่จะถึงนี้ แล้วคาดว่าจะเริ่มใช้เงินได้ ช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งก็จะช่วยลดภาระการใช้จ่ายได้

แต่อย่างไรก็ดี มันเป็นโครงการที่แก้ไขได้เพียงระยะสั้น สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือ การสร้างภาพรวมของเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโต แข็งแกร่ง ซึ่งนี่จะช่วยให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ โดยเฉพาะการสร้างเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน หรือการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาค่าครองชีพที่ยั่งยืนกว่า

แต่อย่างไรก็ดียังมีสิ่งที่รัฐบาลจะต้องคิดให้รอบคอบ นั่นก็คือ เรื่องอัตราเงินเฟ้อ เพราะต้องยอมรับว่าจากราคาสินค้าที่แพงขึ้นพร้อมๆ กันหลายรายการ ย่อมส่งผลกระทบไปยังเรื่องเงินเฟ้อด้วย โดยการที่เงินเฟ้อมากไปก็จะไม่ส่งผลดี ซึ่งตอนนี้ในหลายประเทศก็กำลังเจอภาวะเงินเฟ้อเล่นงานอย่างหนัก ทั้งในสหรัฐอเมริกาหรือในอินเดีย

ขณะที่ในส่วนของไทย กระทรวงพาณิชย์มีการคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2565 เดิมคาดไว้ว่าจะอยู่ในช่วง 0.7-2.4% ซึ่งก็เป็นอัตราที่ยังไม่สูง แต่การได้เห็นระดับราคาสินค้าขยับสูงอย่างต่อเนื่องก็อาจจะต้องเข้าไปจัดการในท้ายที่สุด

ซึ่งปัญหานี้เหมือนทางสองแพร่ง เพราะการจัดการเงินเฟ้อจะต้องใช้นโยบายการเงินอย่างการขึ้นดอกเบี้ยมาเป็นตัวช่วย แต่ว่าสิ่งที่น่าห่วงคือ สภาพเศรษฐกิจไทยยังมีความอ่อนแอ และยังจะต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำในการดูแลเศรษฐกิจ ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อก็จะกลายเป็นการสกัดเศรษฐกิจไปในตัวด้วย โดยประเด็นนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเข้าไปดูแล แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝีมือรัฐบาลจะจัดการปัญหาราคาสินค้าได้ดีแค่ไหนด้วย

ดังนั้นถึงย้ำว่า เป็นงานหนักของรัฐบาลที่จะต้องร่วมช่วยกันแก้ปัญหา จะต้องหาทางออกในเรื่องนี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา เพราะเป็นเรื่องปกติที่ของยิ่งแพงยิ่งทำให้คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้ความต้องการในการฟื้นเศรษฐกิจทำได้ยากยิ่งขึ้น

 ดังนั้น ต้องวัดฝีมือของรัฐบาลที่จะบูรณาการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับอัตราเงินเฟ้อ และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research