ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐช่วย

 แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z  จากผลการสำรวจของ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าหากต้องเลือกระหว่างการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการซื้อมากถึง 82% มีเพียง 18% เท่านั้นที่สนใจเช่า

นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วง 1 ปีข้างหน้าผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z วางแผนการเงินไปกับการใช้จ่ายภายในครอบครัวมากถึง 56% รองลงมาคือเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน 54% เพื่อรับมือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต และเก็บเงินไว้เพื่อเคลียร์หนี้ต่าง ๆ ให้หมด 27% โดยมีเพียง 21% เท่านั้นที่วางแผนออมเงินไว้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 

สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่า สถานการณ์สังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับวัยแรงงานที่ลดลงในไทย ส่งผลให้ "แซนด์วิช เจเนอเรชัน (Sandwich Generation)" หรือคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัญหาทางการเงิน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางกลายเป็นความท้าทายให้คนรุ่นใหม่สร้างเนื้อสร้างตัวได้ยากกว่าสมัยก่อน การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลายาวนานและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้กลายมาเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่ได้เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ และกระทบต่อผู้ที่วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จาก 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (33%)  จะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ รองลงมาคือวางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกกว่าแทน และไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 22% เพื่อเป็นการลดการสร้างภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ออกไปก่อน

นอกจากนี้ สภาพคล่องทางการเงินยังเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การมีบ้านในฝันไม่ใช่เรื่องง่าย มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%)  เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง รองลงมาคือมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 41% และมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย 30% จะเห็นได้ว่าอุปสรรคสำคัญ 3 อันดับแรกล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภค ที่มีผลโดยตรงต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารทั้งสิ้น ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เผยว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เป็นกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท

ทั้งนี้ หลายฝ่ายยังคงคาดหวังปัจจัยบวกจากมาตรการจากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดอสังหาฯ ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดในเวลานี้ 3 ใน 5 (60%) ต้องการให้มีมาตรการช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น  รองลงมาคือมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อเดิมที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51%

จะเห็นได้ว่า 2 อันดับแรกให้ความสำคัญกับมาตรการที่มาช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเป็นหลัก เนื่องจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของผู้กู้ซื้อบ้านได้โดยตรง และอันดับ 3 มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก 40% ซึ่งจะช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีบ้านเป็นของตนเองสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่อยากให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญขับเคลื่อนให้ภาคอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับมาคึกคักอีกครั้ง

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บาทแข็งลามกระทบเศรษฐกิจ

‘แบงก์ชาติ’ ออกมายอมรับเองตรงๆ ว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำของทุกสกุลเงินภูมิภาค และช่วงที่ผ่านมามีการผันผวนอย่างมาก จากที่อ่อนค่าที่ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขยับมาอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเวลาอันรวดเร็ว

'ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน'ยังสดใส!!

“ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต เพราะเกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพและการรักษาชีวิตผู้คน อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง ซึ่งนอกจากจะสะท้อนจากตัวเลขรายได้ของธุรกิจที่มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว

บูรณาการทำงานให้ทวีคูณ

ไปกันต่อกับมาตรการเดินหน้าประเทศไทย ที่นอกจากกำลังเป็นที่จับตามองแล้ว ความร่วมมือแบบบูรณาการก็ต้องตามมา อาจจะเพราะคำว่า "รวมกันเป็นหนึ่ง" ไม่น่าจะเป็นคำที่ดูโฆษณาเกินควร

ขับขี่ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

ปัจจุบันหลายพื้นที่ทั่วไทย เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ ของกรุงเทพมหานครก็เช่นกัน ที่มักจะเกิดฝนตกทำให้น้ำท่วมขังรอการระบายในหลายพื้นที่ ดังนั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน

เอาจริงปฏิรูปอุตสาหกรรม

หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ รมว.อุตสาหกรรมคนใหม่ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ได้มอบนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ให้กับข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมระบุว่า ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใส่ใจ คือ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน

น้ำท่วมเศรษฐกิจพัง

น้ำท่วมในจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะที่แม่สาย จังหวัดเชียงราย ถือเป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงมาก ซึ่ง เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ระบุว่า ข้อมูลปริมาณน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำป่าจากฝนตกในพื้นที่