วิกฤตปรับ ‘เพดานหนี้’ ของมะกันมันเป็นเช่นไร?

สิ่งที่เรียกว่า “วิกฤตเพดานหนี้” ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ นั้นยังต้องลุ้นกันต่อ

แม้ว่าพรรคเดโมแครตของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กับพรรครีพับลิกันฝ่ายค้านจะบรรลุ “การประนีประนอม” ยอมเลื่อน “เส้นตาย” จากตุลาคมนี้ไปเป็นต้นธันวาคม แต่การต่อรองทางการเมืองระหว่างสองพรรคใหญ่ยังไม่จบ

เดิมคนทั่วโลกกำลังรอคอย “วิกฤตเพดานหนี้” ของสหรัฐฯ ที่กำหนดเส้นตายไว้ว่าจะต้องออกหัวออกก้อยวันที่ 18 ตุลาคมนี้

จะถึงขั้นที่ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงานรัฐบางส่วนหรือไม่

เพราะทั้งสองพรรคทะเลาะกันว่าการยกเพดานเงินกู้ หรือ debt ceiling นั้นเป็นความรับผิดชอบของใคร

ฝั่งเดโมแครตยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ทั้งสองพรรคต้องร่วมกันหาทางออก ไม่ควรให้ประเทศเข้าสู่วิกฤตหนี้เพียงเพราะฝ่ายค้านจะเล่นการเมือง

เพราะทั้งสองพรรคขณะที่เป็นรัฐบาลก็กู้เงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณกันทั้งนั้นแหละ

สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีนั้น พรรครีพับลิกันเคยลงมติด้วยเสียงข้างมากในสภาให้ระงับการใช้เพดานหนี้ชั่วคราว เพื่อรัฐบาลจะได้กู้เงินเพิ่มมาบริหารประเทศได้

รีพับลิกันอ้างว่าพรรคเดโมแครตก็กุมอำนาจทั้งด้านบริหารและนิติบัญญัติในวอชิงตันอยู่แล้ว

มีปัญหาก็แก้เองซิ, อะไรทำนองนั้น

ทำให้เกิดคำถามพื้นฐานว่า คำว่า debt limit หรือเพดานหนี้ของสหรัฐฯ มันคืออะไร มีมากมายเท่าไหร่ กฎหมายเขียนไว้อย่างไร

เพดานหนี้ก็คือตัวเลขหนี้ที่รัฐบาลกลางได้รับอนุญาตให้ก่อได้ด้วยการกู้มาใช้สำหรับการบริหารประเทศ

งบประมาณของสหรัฐฯ นั้นขาดดุลมายาวนาน ต้องกู้เงินสำหรับมหาศาลเพื่อจ่ายหนี้และเงินเดือนของพนักงานส่วนกลาง

เงินกู้นั้นต้องใช้สำหรับโครงการสวัสดิการสังคมทั้งหลาย รวมถึงดอกเบี้ยและเงินเดือนกองทัพ

ทุกครั้งที่มีการถกแถลงเรื่องเพดานหนี้ นักการเมืองก็มักจะเรียกร้องให้รัฐบาลกลางลดค่าใช้จ่ายแทนที่จะกู้เพิ่ม

แต่การยกเพดานสร้างหนี้โดยตัวมันเองไม่ได้เปิดทางให้รัฐบาลกลางใช้จ่ายเพิ่มจากรายการเดิมในงบประมาณ เพียงให้ใช้เงินนั้นเพื่อจ่ายหนี้ที่มีอยู่เท่านั้น

เส้นตายของการต้องตัดสินว่าจะยกเพดานหนี้ของสหรัฐฯ คือเมื่อไหร่?

ว่าตามทฤษฎี เส้นตายนั้นถึงกำหนดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วหลังจากที่รัฐสภาได้ผ่านมติให้ต่ออายุเพดานหนี้ไปอีกสองปีเมื่อ 2019

แต่ที่ยังไม่เกิดวิกฤตก็เพราะรัฐมนตรีคลัง Janet Yellen ได้ใช้อำนาจ “มาตรการพิเศษชั่วคราว” เพื่อขยายเส้นตายออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณี “ผิดนัดชำระหนี้” ของรัฐบาลกลาง

เดิมข้อมูลทางการของสหรัฐฯ บอกว่ากระทรวงการคลังจะไม่มีเงินสดที่จะใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างวันที่ 15 ตุลาคมถึง 4 พฤศจิกายนนี้

แต่การคำนวณเส้นตายจริงๆ เป็นเรื่องซับซ้อนพอสมควร เพราะช่วงนี้มีการใช้งบพิเศษสำหรับเยียวยาเรื่องโควิด-19

และยังมีความไม่แน่นอนเรื่องยอดรายได้จากการเก็บภาษีที่จะได้มาในภาวะโควิด

ตัวเลขรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลกลางจึงยังอยู่ในช่วงของการรวบรวมข้อมูล

สหรัฐฯ มีหนี้เท่าไหร่?

มโหฬารเหลือเชื่อ

ผลผลิตมวลรวม หรือ GDP ของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 20.93 ล้านล้านเหรียญฯ

แต่ยอดหนี้ของรัฐบาลกลางที่กู้มาจากแหล่งต่างๆ อยู่ที่ 28.43 ล้านล้านเหรียญฯ

และเพดานหนี้ที่จะกู้ได้สำหรับรัฐบาลกลางอยู่ที่ 28.4 ล้านล้านเหรียญฯ

นั่นแปลว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มีหนี้เท่ากับ 135% ของจีดีพี

และจะกู้เกินกว่าหนี้ปัจจุบันไม่ได้แล้ว เพราะจะทะลุเพดานที่ตั้งไว้

หากจะกู้เพิ่มเพื่อไม่ให้การบริหารประเทศของทำเนียบขาวหยุดชะงัก ก็ต้องให้รัฐสภาลงมติยกเพดานสร้างหนี้เพิ่มขึ้น

รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ระบุไว้ว่าสภาคองเกรสมีอำนาจในการอนุมัติให้รัฐบาลกลางกู้เงิน

เพดานหนี้ถูกกำหนดครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 เพื่อว่ากระทรวงการคลังไม่ต้องขออนุญาตสภาทุกครั้งที่ออกพันธบัตรเพื่อกู้เงินประชาชนมาใช้

ปี 1939 เป็นครั้งแรกที่สภากำหนดเพดานหนี้อย่างเป็นทางการ

ทำไมการปรับเพดานหนี้ในสหรัฐฯ ตอนนี้จึงกลายเป็นเรื่องร้อนแรงมากขนาดนี้?

หลายปีที่ผ่านมา การยกเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เกือบจะเป็นเรื่องปกติเพราะทั้งสองพรรคใหญ่ก็หมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ ต่างฝ่ายต่างเข้าใจปัญหาของงบประมาณขาดดุล และต่างฝ่ายต่างก็ต้องสร้างหนี้เพิ่มตลอดเวลา

แต่ในช่วงหลังนี้ประเด็นเพดานหนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง

ผู้เชี่ยวชาญบางคนอ้างบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 14  ที่บางฝ่ายตีความว่าประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะปรับเพดานหนี้ได้โดยไม่ต้องผ่านสภา

หากสภามีประเด็นโต้แย้งก็อาจจะไปตัดสินกันที่ศาล

แต่เรื่องนี้ยังไม่เคยไปถึงขั้นนั้น ทุกครั้งก็จะมีการต่อรองและโต้เถียงระหว่างทำเนียบขาวกับสมาชิกคองเกรสฝ่ายตรงกันข้าม

ครั้งนี้รัฐมนตรีคลังยืนยันว่าสภาคองเกรสควรลงมติให้ปรับเพดานหนี้หรือไม่ ก็กำหนดให้ละเว้นการใช้เพดานหนี้ชั่วคราวเพื่อการบริหารประเทศจะได้เดินหน้าต่อไป

เธออ้างว่าในเมื่อคองเกรสเป็นผู้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายและนโยบายการเก็บภาษีรายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะมีเพดานสำหรับเงินกู้ที่จะเอามาใช้จ่ายตามงบประมาณที่รัฐสภาเป็นผู้อนุมัติเอง

เป็นหัวข้อร้อนๆ ที่ยังรอให้มีการเล่นเกมการเมืองที่วอชิงตันให้ทั้งโลกใจหายใจคว่ำได้ตลอดเวลา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ