บิ๊กดาต้า..ข้อมูลพัฒนาธุรกิจ

โลกในอนาคตที่ทุกคนจำเป็นต้องพัฒนาให้สามารถก้าวทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้นั้น หนึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ข้อมูล โดยเฉพาะการทำธุรกิจในยุคนี้หรือในอนาคต เพราะเมื่อมีข้อมูลมากเท่าไหร่ก็จะสนับสนุนความได้เปรียบทางการแข่งขันได้มากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลของลูกค้าที่จำแนวความต้องการ หรือความไม่ต้องการไว้อย่างชัดเจน แต่การรวบรวมข้อมูลนั้นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ รวมถึงกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่พอที่จะนำมาวิเคราะห์และต่อยอดออกมาเป็นแนวทางได้

ด้วยเหตุนี้ทำให้ปัจจุบันการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเป็นสิ่งที่หลายธุรกิจเริ่มให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเมื่อมีข้อมูลที่ถูกต้องก็จะสามารถทำธุรกิจในเชิงลึกได้อย่างดีอีกด้วย อาทิ ในปัจจุบันที่ผู้บริโภคเล่นโซเชียลมีเดียจากช่องทางต่างๆ 

แล้วเกิดความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พร้อมกับไปกดค้นหาข้อมูลเหล่านั้น จะทำให้ระบบที่จดจำฐานข้อมูลรู้ได้เลยว่าผู้บริโภคกำลังมองหาอะไร และมีความต้องการแบบไหน ทำให้ผู้ให้บริการสามารถเสนอสินค้าหรือบริการได้ตรงจุด และถูกกลุ่มบุคคล เหมือนกับที่เราเห็นการยิงโฆษณาของสินค้าต่างๆ ในเฟซบุ๊กนั่นเอง

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ทำธุรกิจ เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้ผนึกความร่วมมือกับคณะพาณิชย์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บจก.ครีเดน เอเชีย ผู้เชี่ยวชาญด้าน ‘บิ๊กดาต้า’ ในการพัฒนาฐานข้อมูลผู้ประกอบการและสมาชิก ส.อ.ท. รวมทั้งพัฒนาระบบบริการด้านข้อมูล หรือ Data service อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ และเร่งเครื่องภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 

ซึ่ง ส.อ.ท.ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา BIG DATA และมีการบรรจุเป็นแผนงานในช่วงปีที่ผ่านมา โดยได้จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม หรือ Industry Data Space (iDS) เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาอยู่ในที่เดียวมากกว่า 117 แหล่งข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ Data Visualization ในรูปแบบของแดชบอร์ดอีก 28 แห่ง ให้สมาชิกสามารถเข้ามาเลือกนำไปใช้ประโยชน์

โดย รุธิร์ พนมยงค์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในปี 2563-2564 ได้ร่วมมือกับบริษัท ครีเดน เอเชีย จำกัด ในการจัดทำดัชนีชี้วัดวงจรเงินสดของธุรกิจประเทศไทย “CCC-Cash Conversion Cycle” เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามวงจรการเงินของธุรกิจบริษัทที่มีอยู่ในประเทศไทย และในปี 2565 นี้จะมีการขยายความร่วมมือกับ ส.อ.ท.เพื่อพัฒนาและต่อยอดการจัดทำดัชนีชี้วัดวงจรเงินสดของธุรกิจประเทศไทย “CCC-Cash Conversion Cycle” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

ทั้งนี้ การที่มีบิ๊กดาต้าของภาคธุรกิจนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน อาทิ สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้ โดยเข้ามาช่วยประกอบการวางแผนและการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของการลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความมุ่งมั่นที่จะนำข้อมูลในระบบบิ๊กดาต้านี้มาใช้พัฒนาดัชนีชี้วัดความสามารถด้านอื่นๆ อีก อาทิ ตัวชี้วัดด้านการเงิน และตัวชี้วัดด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นต้น ที่สามารถสะท้อนและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจไทยต่อไปในอนาคต 

ด้าน วิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต การศึกษาการจัดทำดัชนีชี้วัดวงจรเงินสดของธุรกิจประเทศไทยจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการต่อยอดการพัฒนา และยกระดับการนำข้อมูลบิ๊กดาต้ามาใช้ในการวิเคราะห์และชี้วัดในการติดตามสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศไทย

เห็นได้ชัดว่า ความสำคัญของเรื่องฐานข้อมูลนี้นอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้แล้ว ยังสามารถสนับสนุนการทำธุรกิจ รวมถึงเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ในหลายมิติอย่างมาก.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research