เผือกร้อนย้ายท่าเรือคลองเตย

หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการย้ายท่าเรือกรุงเทพ หรือท่าเรือคลองเตย ออกจากคลองเตยโดยเร็ว รวมถึงให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือคลองเตยของ กทท.ทั้งหมดกว่า 2,353 ไร่ จะสามารถนำพื้นที่มาปรับปรุงพัฒนาใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นอย่างไร

โดยต้องทบทวนและศึกษาการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้มีความเหมาะสม และเป็นไปตามความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งการศึกษาจะต้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบด้านและครบทุกมิติอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อยกระดับการให้บริการ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ต้องเกิดประโยชน์สูงสุด และต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ลดปัญหาความแออัดของชุมชน, แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด, แก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร ซึ่งรวมถึงการย้ายคลังและโรงเก็บน้ำมันที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย

ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งในการพัฒนานั้นจะต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร และยังครอบคลุมถึงการย้ายคลังและโรงเก็บน้ำมันที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งเบื้องต้นยังไม่รู้ว่าจะต้องย้ายท่าเรือออกไปทั้งหมดหรือบางส่วน และระยะเวลาในการย้ายจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ขณะที่สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-30 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนจำนวน 2,500 คน ในเรื่องการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) พบว่า ประชาชนกว่า 70.3% ทราบถึงโครงการการย้ายท่าเรือคลองเตย และมีเพียง 29.7% ที่ไม่ทราบเรื่อง โดยการสำรวจระบุว่า มีประชาชนส่วนใหญ่ 70.7% เห็นด้วยต่อการย้ายท่าเรือกรุงเทพ ขณะที่ไม่เห็นด้วย 16.2% และไม่แสดงความคิดเห็น 13.1%

และจากการสำรวจเมื่อถามคิดเห็นถึงการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) จะทำให้เกิดประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เดิมอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ประชาชน 40.2% ระบุว่า จะสามารถผสมผสานการใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ขณะที่ใช้ในเรื่องอื่นๆ 18.4%, ใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ด้อยโอกาส 16.7%, ใช้เป็นสวนสาธารณะ 11.3%, ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 10.2% และใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3.2%

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงช่องทางในการทราบโครงการการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) พบว่า ส่วนใหญ่ 34.9% รับทราบจากช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากการรับทราบแผนการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) จากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ 24% ขณะที่ 14.2% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากแผ่นพับ โปสเตอร์ เอกสารประชาสัมพันธ์ ส่วน 12.4% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี นอกจากนี้ 9.3% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และ 5.2% รับทราบข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่จากทางราชการ

จากโพลดังกล่าวนี้ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทย มองว่า จากผลสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (นอร์ทกรุงเทพโพล) ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่เดิม ว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 70.7% เห็นด้วยกับการย้ายท่าเรือกรุงเทพ โดย 40.2% มองว่าจะทำให้เกิดประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่เดิม โดยการใช้พื้นที่ผสมผสานในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จากรถขนส่งที่วิ่งเข้า-ออกในบริเวณดังกล่าว รวมถึงลดปัญหาความแออัดของชุมชนด้วยนั้น

อย่างไรก็ตาม การจะย้ายหรือจะทำอะไรต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลดล็อก“เมืองรอง”หนุนศก.โต

“ภาคการท่องเที่ยว” ยังถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการออกหลายมาตรการเพื่อเป็นการฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่ซบเซาตั้งแต่ช่วงโควิด-19

"ปิดโรงงานกระหน่ำ"สัญญาณบอกศก.?!?!

ปัจจุบันเราอาจจะได้เห็นข่าวคราวเรื่องการปลดคนงาน และ “การปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรม” ออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลหลากหลายสาเหตุ โดยจากข้อมูลของ “กรมโรงงานอุตสาหกรรม” พบว่า ในช่วง 6 เดือนของปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.)

บิ๊กอีเวนต์กระตุ้นท่องเที่ยว

ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ

ต้องเคร่งครัดและแก้ไขจริงจัง

สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา รถไฟฟ้า “สายสีเหลือง-สายสีชมพู” ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการและสาธารณชน

จับตา “AI” เปลี่ยนตลาดแรงงานทั่วโลก

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า AI เข้ามามีบทบาท และมีประโยชน์ในภาคธุรกิจหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาดที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจในหลากหลายมิติ ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคธุรกิจในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บี้เร่งสปีดแหลมฉบังเฟส 3

เมื่อพูดถึงโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต