ต้องยอมรับว่า อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ที่ทำรายได้แก่ภาคเกษตรกรปีละ 1 แสนล้านบาท แต่ต้องยอมรับว่ากระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อยนั้นส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ โดยเฉพาะ PM2.5 ที่เกิดจากเกษตรกรเผาอ้อยก่อนที่จะมีการตัด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่บรรลุผล
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้รัฐบาลเริ่มมีมาตรการสนับสนุนอ้อยสด เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองในภาคเกษตรตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณอ้อยเผาที่มีการรับซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถลดอ้อยเผาให้เป็นศูนย์ได้ โดยปริมาณอ้อยเผาเฉลี่ยยังคงอยู่ที่ราว 30% ซึ่งจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (GHG) เฉลี่ยปีละ 2.4 ล้านตันต่อปี หรือ 4% ของ GHG ในภาคเกษตรของประเทศไทย
สาเหตุหลักที่เกษตรกรยังไม่สามารถตัดอ้อยสดได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่การเพาะปลูกน้อยกว่า 20 ไร่ ซึ่งการตัดอ้อยด้วยรถต้องทำในพื้นที่มากกว่า 20 ไร่ ต้นทุนแรงงานตัดอ้อยสดสูง และใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวมากกว่า นอกจากนี้ระยะเวลาในการรับซื้อของโรงงานน้ำตาลมีจำกัด ดังนั้นการแก้ปัญหาการเผาอ้อยและลด GHG ด้วยคาร์บอนเครดิต จึงเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง แต่คาร์บอนเครดิตที่ได้จากการหยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรยังไม่มีมาตรฐานคาร์บอนเครดิตรองรับ จะต้องมีการออกมาตรฐานมารับรองคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้เสนอ 3 แนวทางลดการเผาอ้อยด้วยคาร์บอนเครดิต นอกเหนือจากแนวทางที่ภาครัฐพยายามสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง
1.เพิ่มแรงจูงใจการตัดอ้อยสดด้วยคาร์บอนเครดิต กำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตจากการหยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยเบื้องต้นประเมินว่า ราคาคาร์บอนเครดิตอาจจะต้องไม่น้อยกว่า 126 บาทต่อ tCO2-e เพื่อให้การตัดอ้อยสดจากการรวมกลุ่มกันรับรองคาร์บอนเครดิตมากกว่า 1,500 ไร่ มีกำไรเทียบเท่าการตัดอ้อยเผาที่ 2,878 บาทต่อไร่ หรือรายได้สุทธิจากคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ 519 บาทต่อไร่ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรับรองคาร์บอนเครดิต (100 บาทต่อไร่ แต่อาจผันแปรตามเงื่อนไขแต่ละราย) ซึ่งจะสามารถลด GHG ได้ 4.9 tCO2 ต่อไร่ หรือใช้เงินทุนราว 915 ล้านบาทต่อปี
2.เพิ่มความเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิตในประเทศกับมาตรฐานในต่างประเทศ ปัจจุบันมีโครงการลด GHG ในประเทศกว่า 51% ที่ขึ้นทะเบียนกับมาตรฐานต่างประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยสามารถพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศได้ จะเพิ่มความต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศที่มีความต้องการลด GHG อีกเป็นจำนวนมาก
และ 3.ส่งเสริมให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกอ้อยและหันมาปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว เกษตรกรสามารถปลูกไม้โตเร็ว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่า เช่น ยูคาลิปตัส มะฮอกกานี สนประดิพัทธ์ ไผ่ เป็นต้น ซึ่งนอกจากสามารถตัดขายเพื่อเป็นรายได้แล้ว ยังสามารถนำมาขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตได้ รวมถึงคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกป่าจะมีราคาสูง เฉลี่ย 290 บาทต่อ tCO2-e
นอกจากการส่งเสริมด้วยคาร์บอนเครดิต หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องดำเนินมาตรการควบคู่ด้วย คือการปรับปรุงเครื่องจักรเกี่ยวอ้อยสดให้เหมาะสมกับพื้นที่ขนาดเล็ก, จัดทำระบบคาดการณ์และจัดลำดับการเก็บเกี่ยวอ้อยเพื่อให้ทันกับช่วงระยะเวลารับซื้อของโรงงาน, สนับสนุนค่ารับรองคาร์บอนเครดิต และ สนับสนุนค่าใช้จ่ายของเอกชนจากการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการเผาอ้อยให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร โรงงานน้ำตาล ภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และภาคเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างยั่งยืน
และที่สำคัญควรที่จะทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่พอ PM2.5 ซาลง ก็นิ่งเฉย พอมีปัญหาทีก็วิ่งหน้าตั้งออกมาตรการนั้น มาตรการนี้มาแก้ไขปัญหาแบบขอไปที เหมือนที่ผ่านๆ มา มีปัญหาทีก็ร้องแรกแหกกระเชอกันที ปัญหาก็จะคาราคาซังกันอย่างนี้ต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม
จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0
อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว