ยกระดับปฏิบัติการโลจิสติกส์

โลกของอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าไปไกลอย่างมากทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ หรือการคมนาคมขนส่งสินค้าให้สามารถเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นส่วนในการผสานความสัมพันธ์ พัฒนาโครงข่ายกลุ่มสินค้าและบริการ รวมไปถึงขยายพื้นที่ตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น เสริมความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมถึงเพิ่มยอดขายอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้เอง โลจิสติกส์จึงเหมือนเป็นหัวใจสำคัญที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงทำให้หลายหน่วยงานเข้ามาให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์มากขึ้น

โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) ที่มีจุดมุ่งหมายในการผลักดันอุตสาหกรรมหรือธุรกิจดังกล่าว ให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับการบริการและห่วงโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล

โดยเหตุนี้เองจึงได้มีการเปิดเวทีเสวนา “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการยกระดับมาตรฐาน ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต โดย นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน การเดินไปข้างหน้าจำเป็นต้องการการขับเคลื่อนอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งควรมุ่งเน้นการขับเคลื่อนจากภายในสู่ภายนอกอย่างสมดุล

โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ให้สามารถกระจายฐานการบริการและการลงทุนที่เชื่อมโยงในอาเซียนอย่างมีเสถียรภาพ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันบนฐานการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีทักษะสูง

รวมถึงสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์ให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการไทยให้เชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าระดับภูมิภาคและระดับโลก ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ดีพร้อมเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีดีพร้อม กล่าวว่า การส่งเสริมด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ 4 ด้าน คือ 1.การยกระดับระบบปฏิบัติการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม (Logistics Consult) ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ด้วยการเข้าไปวินิจฉัยศักยภาพด้านโลจิสติกส์ และให้คำปรึกษาแนะนำ ณ สถานประกอบการ 2.การสร้างนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมืออาชีพผ่านการฝึกอบรมและส่งเสริมให้บุคลากรด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนให้มีความรู้ตามหลักสูตรมาตรฐานสากล

3.การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาการมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย พร้อมการส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยในโซ่อุปทาน และการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ และ 4.การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยในการวางแผนทรัพยากรองค์กรการจัดการคลังสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์

ทั้งนี้ในปี 2567 ดีพร้อมได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ใน 5 ภูมิภาค จำนวน 310 กิจการ ให้มีความสามารถในการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการยกระดับมาตรฐาน และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ อาทิ ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,800 ล้านบาท และการคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 350 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2,100 ล้านบาท

แน่นอนว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นการสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านโลจิสติกส์ จัดการกิจกรรมทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก