ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก แม้ว่าจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมา แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าภูมิภาคจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 1.6 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า
พฤติกรรมผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคใช้เวลาดูเนื้อหาสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลถึง 70% และใช้สองหน้าจอในเวลาเดียวกันมากกว่า 59% ที่ดูโฆษณาบนสมาร์ทโฟนขณะดูโทรทัศน์ไปด้วย ส่วนในกลุ่มแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลด้วยกันเองนั้น โซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z และมิลเลนเนียลต่างใช้แพลตฟอร์มโซเชียลเพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์กลุ่ม CPG และสินค้าเพื่อบริโภคต่างๆ เป็นหลัก แบรนด์จึงจะต้องหาช่องทางที่เหมาะสมในการเข้าถึงผู้บริโภค และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณสำหรับการตลาด เพื่อให้ธุรกิจและแบรนด์สามารถดึงดูดผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผลสำรวจจาก Meta ร่วมกับ Kantar ได้ศึกษา 10 แคมเปญของแบรนด์ในกลุ่ม CPG ที่ศึกษาระหว่างปี 2565-2566 และพิจารณาการซื้อสินค้าของนักช็อปและพฤติกรรมในช่องทางสื่อ เพื่อวัดประสิทธิภาพของช่องทางต่างๆ ในการขับเคลื่อนแคมเปญการตลาดเหล่านี้จากผลการศึกษาพบว่า แพลตฟอร์ม Meta เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อนยอดขายทั้งทางช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อีกทั้งยังส่งผลให้แบรนด์ได้รับผลตอบแทนจากการโฆษณา หรือที่เรียกว่า ROAS ได้สูงสุดกว่า 1.8 เท่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ นอกจากนี้แคมเปญที่โฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta นั้นยังช่วยแบรนด์และธุรกิจค้นหาผู้ซื้อกลุ่มใหม่ๆ ด้วยต้นทุนทางการตลาดที่ต่ำที่สุด
มาดูกันว่าจากผลการศึกษาและวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบด้านความมีประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ มีอะไรกันบ้าง อย่างแรกคือ 1.ผลตอบแทนจากค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Meta ที่สูงกว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ และสื่อโทรทัศน์ โดยผลการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจาก Meta และ Kantar พบว่า แคมเปญที่ดำเนินการบนแพลตฟอร์มของ Meta มีมูลค่า ROAS สูงสุดถึง 1.8 เท่า คิดเป็น 16% ของยอดขายสื่อที่เพิ่มขึ้นด้วยส่วนแบ่งการใช้จ่ายเพียง 10% ซึ่งมากกว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ และสื่อโทรทัศน์ ทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม Meta ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
2.ระดับ Conversion สูงสุดบนแพลตฟอร์มของ Meta งานวิจัยนี้ได้วัดสัดส่วนกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมกับแคมเปญบนแพลตฟอร์มของ Meta รวมถึงสัดส่วนการเข้าถึงสื่อและได้มีการซื้อสินค้า แสดงให้เห็นว่าแคมเปญบนแพลตฟอร์มของ Meta มี Conversion สูงสุดที่ 22% ตามมาด้วยการชมทางโทรทัศน์ 20% และการเข้าถึงสื่อดิจิทัลอื่นๆ 13% กล่าวได้ว่า 1 ใน 5 ของผู้ซื้อได้ตัดสินใจซื้อสินค้าจริงๆ เมื่อเห็นแคมเปญโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta 3.การเข้าถึง (Reach) สูงขึ้นบนแพลตฟอร์มของ Meta แคมเปญบนแพลตฟอร์มของ Meta มียอดการเข้าถึงหรือ Reach มากถึง 59% โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกับ Reach สูงสุดทางโทรทัศน์ และมากกว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 43%
อย่างไรก็ดีข้อสุดท้าย 4. Meta เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด โฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta ช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับค่าใช้จ่ายทางการตลาด จากการศึกษาพบว่า การทำแคมเปญบนแพลตฟอร์มของ Meta สามารถเพิ่มผู้ซื้อใหม่จำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ โดยมีต้นทุนต่ำสุดที่ 3.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ลูกค้าใหม่ ทั้งนี้ Meta ยังเป็นผู้นำในด้านการเพิ่มยอดขายด้วยสื่อดิจิทัลในกลุ่มนักช็อปคนรุ่นใหม่เช่น Gen Z และมิลเลนเนียล ซึ่งคิดเป็น 44% ของยอดขายทางดิจิทัล.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ
ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!
“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก