หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ โดยในเฟสแรกจะโฟกัสไปที่กลุ่มของผู้ที่มีอาชีพอิสระ แรงงานนอกระบบและผู้ประกันตน มาตรา 40 เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะไม่มีทางเลือกในการออมเงินเหมือนกับกลุ่มพนักงานเงินเดือน พนักงานประจำ

โดยหลักเกณฑ์โครงการหวยเกษียณ ประกอบไปด้วย 1.ผู้ออมสามารถซื้อสลากแบบขูดดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน กอช.ใบละ 50 บาท ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน 2.สามารถซื้อได้ทุกวันตลอด 24 ชม. โดยจะมีการออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น.

3.รางวัลที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล และรางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล ผู้ถูกรางวัลจะสามารถถอนเงินรางวัลได้ทันที หากรางวัลออกไม่ครบ ทบไปงวดต่อไป 4.ไม่ว่าถูกรางวัล หรือไม่ถูกรางวัล เงินที่ซื้อสลากทุกบาท จะถูกเก็บไว้ในบัญชีเงินออมของแต่ละบุคคล ผ่าน กอช. และจะสามารถถอนคืนได้ตอนอายุ 60 ปี เพื่อการออมทรัพย์รองรับการเกษียณ และ 5.เงินในบัญชีนั้นยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตลอดระยะเวลาก่อนเกษียณ ผ่าน กอช.

ทั้งนี้ ทาง กอช.วางเป้าหมายของโครงการมีจำนวนสมาชิกเข้าร่วมโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3 ปี และรูปแบบการดำเนินการคือ ออกสลากเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านใบต่องวด (ต่อสัปดาห์) หรือ 260 ล้านใบต่อปี โดยกำหนดออกรางวัลทุกวันศุกร์ (รวม 52 งวดต่อปี) ในราคาขายใบละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 250 ล้านบาทต่องวด หรือ 13,000 ล้านบาทต่อปี

กำหนดรูปแบบสลากเป็นสลากดิจิทัล (สลากขูดดิจิทัล) โดยผู้ซื้อลงทะเบียนการซื้อและซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ในลักษณะแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ จำกัดการซื้อสลากต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือคนละไม่เกิน 60 ใบต่องวด

สำหรับเหตุที่รัฐบาลต้องเร่งผลักดันโครงการนี้ออกมาก่อนโครงการอื่น ก็ต้องยอมรับว่า ไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ คล้ายๆ กับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สิ่งที่ไทยเราแตกต่างกว่าก็คือ ไทยเราจะเจอปัญหา แก่ก่อนรวย ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศจะไม่มีเงินพอในการดำรงชีวิต

โดยจากผลวิจัยของสถาบันวิจัยทีดีอาร์ไอ ระบุว่า คนไทย 70% มีรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่กว่า 37% มีการออมไม่ถึง 10% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้นถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป หากไม่มีการกระตุ้นให้เกิดการออมเงินเลย เรื่องการดูแลประชาชนผู้สูงอายุจะกลายเป็นภาระมหาศาลของรัฐบาล ที่จะต้องกันเงินมาใช้ในเรื่องนี้ จนไม่เหลืองบในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่รัฐบาลกระตุ้นการออม โดยจูงใจผ่านการลุ้นรางวัลไปด้วย น่าจะถูกจริตคนไทยมากกว่าการส่งเสริมการออมประเภทอื่น แถมใช้งบสนับสนุนเพียงหลัก 700-800 ล้านบาทต่อปี นับว่าคุ้มค่ากว่าการที่จะต้องไปเสียงบประมาณช่วยเหลือในอนาคตที่ใช้เงินมากกว่านี้มาก

สอดคล้องกับผลสำรวจ SCB EIC Consumer survey 2023 ระบุว่า ปัญหาแก่ก่อนรวยของสังคมไทยยังน่าห่วง โดยพบว่ากลุ่มวัยทำงานใกล้เกษียณ (51-60 ปี) ส่วนใหญ่ยังมีสินทรัพย์น้อย โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายหลังเกษียณ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสะสมสินทรัพย์ของกลุ่มนี้คือ ปัญหาภาระหนี้ โดย 56% ของครัวเรือนที่มีหนี้พบว่ามีสินทรัพย์รวมไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนสูง

อย่างไรก็ดี มองว่าโครงการนี้ไม่ใช่การมอมเมา หรือเป็นการพนัน แต่เป็นการจูงใจให้ คนไทยหันมาเก็บออมเพื่ออนาคตของตัวเองมากขึ้น จึงถือว่าเป็นอีกโครงการดีๆ ที่จะทำให้ประชาชนมีเครื่องมือในการออมแบบใหม่ และในอนาคต รัฐบาลก็มีการขยายกลุ่มของคนที่เข้าร่วมโครงการมากขึ้น น่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมการออมในประเทศได้.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร

ถึงเวลาสกัดสินค้าจีนด้วยภาษี

ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน กำลังกลายเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับรัฐบาลและหน่วยงานราชการของแต่ละประเทศ ที่จะต้องหามาตรการในการดูแลผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ จนทำให้หลายธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปในที่สุด

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์